อำเภอศ็อดดามิยะตุลมิฏลาอ์
อำเภอศ็อดดามิยะตุลมิฏลาอ์ (อาหรับ: قضاء صدامية المطلاع) เป็นอำเภอในเขตผู้ว่าการบัสราในระหว่างการบุกครองคูเวตของอิรัก ประกาศจัดตั้งเขตเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1990[1][2] โดยชื่อของอำเภอนี้ได้ถุกตั้งขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเกียรติแก่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน แห่งอิรัก [2] ขณะที่พื้นที่อื่นๆ ของคูเวตถูกผนวกเป็นเขตผู้ว่าการที่ 19 ของอิรัก ส่วนทางตอนเหนือของคูเวตถูกผนวกเป็นอำเภอศ็อดดามิยะตุลมิฏลาอ์ โดยเป็นส่วนหนึ่งของเขตผู้ว่าการบัสรา[1]
อำเภอศ็อดดามิยะตุลมิฏลาอ์ قضاء صدامية المطلاع (อาหรับ) | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อำเภอของอิรักโดยพฤตินัย | |||||||||
1990 – 1991 | |||||||||
การปกครอง | |||||||||
• ประเภท | การปกครองทางทหาร | ||||||||
ยุคทางประวัติศาสตร์ | สงครามอ่าว | ||||||||
• สาธารณรัฐคูเวตถูกผนวกโดยอิรัก | 28 สิงหาคม 1990 | ||||||||
• การปลดปล่อยคูเวต | 26 กุมภาพันธ์ 1991 | ||||||||
|
อำเภอนี้มีพื้นที่ประมาณ 7,000 ตารางกิโลเมตร (2,700 ตารางไมล์)[3] ประกอบด้วยเกาะวาร์บาห์ เกาะบูบิยัน พื้นที่รอบๆ อับดาลี แหล่งน้ำมันเราธาเทน แหล่งน้ำมันซาบริยา แหล่งน้ำมันรัทกา และแหล่งน้ำมันรูไมลา[4] นอกเหนือจากแหล่งน้ำมันแล้ว อำเภอนี้ยังเป็นแหล่งน้ำใต้ดินส่วนใหญ่ของคูเวตอีกด้วย[4] โดยสื่อของอิรักประกาศว่าเมืองใหม่ซึ่งมีชื่อว่าจะถูกสร้างขึ้นในอำเภอนี้[5]
ในขณะนั้น มีการคาดเดาว่าอำเภอศ็อดดามิยะตุลมิฏลาอ์ในเขตผู้ว่าการบาสราห์ควรจะเป็นดินแดนเขตผู้ว่าการคูเวตหรือไม่ บ่งชี้ว่าอิรักอาจพร้อมที่จะล่าถอยจากส่วนที่เหลือของคูเวตแต่ยังคงรักษาพื้นที่ทางตอนเหนือไว้[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 Schofield, Richard N. (1991). Kuwait and Iraq: Historical Claims and Territorial Disputes : a Report Compiled for the Middle East Programme of the Royal Institute of International Affairs. The Institute. p. 79. ISBN 978-0-905031-35-4.
- ↑ 2.0 2.1 Sciolino, Elaine (30 May 1991). The outlaw state: Saddam Hussein's quest for power and the Gulf crisis. Wiley. p. 224. ISBN 978-0-471-54299-5.
- ↑ Abidi, Aqil Hyder Hasan; Singh, Kunwar Rajendra (1991). The Gulf crisis. Jawaharlal Nehru University. School of International Studies: Lancers Books. p. 215. ISBN 978-81-7095-023-3.
- ↑ 4.0 4.1 Allcock, John B. (1992). Border and territorial disputes. Longman Current Affairs. p. 390. ISBN 978-0-582-20931-2.
- ↑ News Review on West Asia. Vol. 21. The Institute. 1990. p. 383.
- ↑ Frankel, Glenn (31 August 1990). "Imperialist Legacy Lines in the Sand". The Washington Post. ISSN 0190-8286. สืบค้นเมื่อ 9 September 2017.