สาธารณรัฐคูเวต
สาธารณรัฐคูเวต เป็นสาธารณรัฐที่มีอายุสั้น ซึ่งก่อตั้งขึ้นหลังจากการบุกครองคูเวตโดยอิรักในช่วงแรกของสงครามอ่าว ในระหว่างการบุกครอง สภาบัญชาการการปฏิวัติอิรักระบุว่าได้ส่งทหารเข้าไปในคูเวตเพื่อช่วยเหลือการรัฐประหารภายในที่ริเริ่มโดย "กลุ่มนักปฏิวัติคูเวต"[1] รัฐบาลเฉพาะกาลได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1990 โดยรัฐบาลอิรักภายใต้การนำของนายทหารที่เป็นชาวคูเวต 9 นาย นำโดยอะลาอ์ ฮุซัยน์ อะลี ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ผู้บัญชาการทหารสูงสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย[2]
สาธารณรัฐคูเวต جمهورية الكويت Jumūrīyat al-Kuwait | |||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
1990 | |||||||||||
สถานะ | รัฐหุ่นเชิดของอิรัก | ||||||||||
เมืองหลวง | คูเวตซิตี | ||||||||||
ภาษาทั่วไป | อาหรับ | ||||||||||
การปกครอง | รัฐเดี่ยว รัฐบาลเฉพาะกาล สาธารณรัฐภายใต้พรรคบะอษ์ | ||||||||||
นายกรัฐมนตรี | |||||||||||
• 1990 | อะลาอ์ ฮุซัยน์ อะลี | ||||||||||
ยุคประวัติศาสตร์ | สงครามอ่าว | ||||||||||
• สถาปนา | 4 สิงหาคม 1990 | ||||||||||
• เปลี่ยนผ่านเป็นเขตผู้ว่าการ | 28 สิงหาคม 1990 | ||||||||||
|
ระบอบการปกครองใหม่ของคูเวตได้โค่นล้มระบอบการปกครองของเอมีร์ ญาบิร อัลอะห์มัด อัลญาบิร อัศเศาะบาห์ (ซึ่งทรงลี้ภัยจากคูเวตและสถาปนารัฐบาลพลัดถิ่นในซาอุดีอาระเบีย[3]) และได้กล่าวหาระบอบเอมีร์ว่าดำเนินนโยบายต่อต้านประชานิยม ต่อต้านประชาธิปไตย สนับสนุนจักรวรรดินิยม และไซออนิสต์[4] [5]
โดยหนังสือพิมพ์ของรัฐบาลมีชื่อว่า อัล-นิดา[6] ตั้งชื่อตาม "วันแห่งการเรียกร้อง" ที่ประกาศเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 เพื่อ "รำลึก" การ "ตอบสนอง" ของอิรักต่อการเรียกร้องของชาวคูเวตที่ถูกกล่าวหาว่าให้ขอความช่วยเหลือจากอิรักในการโค่นล้มระบอบพระมหากษัตริย์
อ้างอิง
แก้- ↑ Clive H. Schofield & Richard N. Schofield (Ed.). The Middle East and North Africa. New York: Routledge. 1994. p. 147.
- ↑ Newsweek Vol. 116. 1990. p. 20.
- ↑ Michael S. Casey. The History of Kuwait. Westport, CT: Greenwood Press. 2007. p. 93.
- ↑ Daily Report: Soviet Union. Issues 147-153. 1990. p. 124.
- ↑ Jerry Mark Long. Saddam's War of Words: Politics, Religion, and the Iraqi Invasion of Kuwait. Austin, TX: University of Texas Press. 2004. p. 27.
- ↑ Human Rights Watch World Report 1992: Events of 1991. New York: Human Rights Watch. 1991. p. 652.