อาหารเยเมน เป็นอาหารที่มีความแตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากอาหารที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายในตะวันออกกลาง อาหารเยเมนในภูมิภาคที่ที่ต่างกันยังมีความแตกต่างกันเล็กน้อยอาหารเยเมนได้รับอิทธิพลจากอาหารตุรกีสมัยจักรวรรดิออตโตมันมากเนื่องจากการถูกยึดครองโดยจักรวรรดิออตโตมัน [1]

ฟาตุต ขนมปังทอดของชาวเยเมน ใส่ไข่

ส่วนประกอบหลัก

แก้

เนื้อสัตว์ส่วนใหญ่เป็นไก่และเนื้อแกะ พบมากกว่าเนื้อวัวซึ่งมีราคาแพง ปลานิยมกินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ชายฝั่งทะเล เนยแข็ง เนยและผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ จะพบน้อยในอาหารเยเมน นิยมใช้บัตเตอร์มิลค์ มากกว่าถ้าสามารถใช้ได้ ไขมันใช้กันมากที่สุดคือน้ำมันพืชในการประกอบอาหารทั่วไปและ semn (سمن) (เนยชนิดหนึ่ง) เป็นไขมันที่ใช้ในขนมอบ

ซัลตะฮ์

แก้

ซัลตะฮ์ (saltah; سلتة) ถือเป็นอาหารประจำชาติ แม้ว่าแต่ละภูมิภาคจะมีความแตกต่างกันบ้าง มีพื้นฐานมาจากสตูว์เนื้อสีน้ำตาลของตุรกีที่เรียกว่ามารัก (maraq; مرق)ฟองจากเมล็ดฟีนูกรีก, และซาฮาวิก (sahawiq; سحاوق) (ส่วนผสมของพริก มะเขือเทศ กระเทียมและสมุนไพรที่เป็นส่วนผสมของซอสซัลซา) ข้าว มันฝรั่ง ไข่กวนและผัก กินกับขนมปังแบนที่ใส่ไส้ไว้ตรงกลาง[2]

ขนมปังเยเมน

แก้
 
ขนมปังแบนที่ทำเองแบบง่าย ๆ

ขนมปังเยเมนมีหลายชนิดเช่น tawa, Tameez, Laxoox, Malooga, Kader, Fateer, Kudam, Rashoosh, Oshar, Khamira ขนมปังแบนโดยปกติจะอบที่บ้านใน เตาที่เรียกว่าทันดูร์ (تبون) Malooga, ค็อบซ์ และ khamira เป็นขนมปังทำเองที่นิยมโดยทั่วไป ส่วนขนมปังที่ซื้อรับประทานได้แก่พิตา (Pita) และขนมปังม้วนแบบฝรั่งเศส (roti)

เครื่องดื่ม

แก้
 
ชาดำ

แม้ว่ากาแฟและชามีการบริโภคทั่วประเทศเยเมน, กาแฟเป็นเครื่องดื่มที่นิยมมากกว่าในขณะที่ชาดำเป็นเครื่องดื่มของทางเลือกในเอเดนและ Hadhramaut มีการบริโภคชาพร้อมกับอาหารเช้า หลังจากรับประทานอาหารกลางวัน (บางครั้งกับขนมหวานและขนมอบ) และพร้อมกับอาหารมื้อค่ำ เครื่องปรุงรสที่นิยมมีกระวาน กานพลู และสะระแหน่ [3]

อ้างอิง

แก้
  1. Al-Shami, Ola (2009-05-11). "History of some Yemeni dishes". Yemen Times. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-04-05. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  2. "Saltah, Very Special Yemeni Dish". Yemen Times. 2000-08-28. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-16. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
  3. "Different Types of Yemeni Tea". Yemen Times. 1999-02-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-03-31. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.