อาหารขยะ
อาหารที่ผ่านการปรุงแต่งและแปรรูป
อาหารขยะ (อังกฤษ: junk food) เป็นคำใช้กับอาหารที่มีแคลอรีจากน้ำตาลหรือไขมันสูง โดยมีโปรตีน วิตามินหรือเกลือแร่ต่ำ การใช้คำนี้ส่อว่า อาหารนั้น ๆ มี "คุณค่าทางโภชนาการ" ต่ำและมีไขมัน น้ำตาล เกลือและแคลอรีมากเกิน[1][2][3]
แม้ถูกตีตราว่าเป็น "ขยะ" แต่อาหารเหล่านี้ปกติไม่มีผลต่อสุขภาพในทันที และโดยรวมแล้วปลอดภัยเมื่อรวมกับอาหารที่มีสมดุลดี[4] ทว่า ความกังวลเกี่ยวกับผลเสียต่อสุขภาพอันเกิดจาการบริโภคอาหารที่เน้น "อาหารขยะ" อย่างหนักส่งผลให้มีการรณรงค์สร้างความตระหนักทางสาธารณสุข และการจำกัดการโฆษณาและการขายอาหารขยะในหลายประเทศ[5][6][7]
อ้างอิง
แก้- ↑ "junk food". Merriam-Webster Dictionary. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ "junk food". Macmillan Dictionary. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ O'Neill, Brendon (November 30, 2006). "Is this what you call junk food?". BBC News. สืบค้นเมื่อ June 29, 2010.
- ↑ Magee, Elaine (2007). "Junk-Food Facts". WebMD. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ "Food Marketing to Kids". Public Health Law Center (William Mitchell College of Law). 2010. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-10-28. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ "Protecting children from the harmful effects of food and drink marketing". World Health Organization. September 2014. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.
- ↑ "Food Marketing in Other Countries" (PDF). Center for Science in the Public Interest. 2007. สืบค้นเมื่อ 13 March 2015.