อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์ตีมีชออารา

อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์ (โรมาเนีย: Catedrala Ortodoxă) หรือ อาสนวิหารมหานคร (โรมาเนีย: Catedrala Mitropolitană) เป็นโบสถ์นิกายออร์ทอดอกซ์โรมาเนียในตีมีชออารา เป็นอาสนวิหารแห่งอาร์คิบิชอปริซแห่งตีมีชออารา (Archbishopric of Timișoara) และมหาสังฆมณฑลบานาต อาสนวิหารนี้อุทิศแด่ตรีอัครสงฆ์ ซึ่งประกอบด้วยเบซิลมหาราช, เกรเกอรีนักเทววิทยา และ ยอห์น ครีซอสตอม

อาสนวิหารออร์ทอดอกซ์
Catedrala Ortodoxă
ไฟล์:Parcul Catedralei Timișoara (2023) IMG2.jpg
ศาสนา
ศาสนาออร์ทอดอกซ์โรมาเนีย
สถานะองค์กรมหาสังฆมณฑลบานาต
ผู้อุปถัมภ์ตรีอัครสงฆ์
ปีที่อุทิศ1946
สถานะเปิดบริการ
Eugen Goanță[1]
ที่ตั้ง
ที่ตั้งKing Ferdinand I Boulevard ตีมีชออารา
พิกัดภูมิศาสตร์45°45′2″N 21°13′27″E / 45.75056°N 21.22417°E / 45.75056; 21.22417
สถาปัตยกรรม
สถาปนิกอิโยน ทรายันเนสกู [ro]
รูปแบบมอลดอวาใหม่
ผู้รับเหมาตีเบรีว เอเมเรีย (Tiberiu Eremia)
ลงเสาเข็ม1936
เสร็จสมบูรณ์1940
ค่าก่อสร้าง30 ล้าน เล[2]
ลักษณะจำเพาะ
ความจุ5,000
ความยาว63 m
ความกว้าง32 m
ความสูงสูงสุด90.5 m
โดม11

อาสนวิหารสร้างบนพื้นที่ขนาด 1,542 ม2 ประกอบด้วย 11 หอคอย โดยความสูงของหอกลางอยู่ที่ 90.5 เมตร ถือเป็นโบสถ์ที่สูงที่สุดเป็นอันดับสองของประเทศโรเมเนีย รองจากอาสนวิหารการพลีกายของประชาชนในบูคาเรสต์[3] อาสนวิหารได้รับการบันทึกเป็นอนุสรณ์สำคัญทางประวัติศาสตร์ของชาติ[4]

ประวัติศาสตร์ แก้

ประวัติศาสตร์ของอาสนวิหารใกล้เคียงอย่างมากกับปี 1919 โดยในวันที่ 28 กรกฎาคม บานาตได้รวมเข้ากับโรเมเนีย โดยรัฐบาลใหม่ของโรเมเนียนี้มีมาตรการที่จะสนับสนุนการนับถือลัทธิออร์ทดอกซ์ ซึ่งก่อนหน้าถูกละเลยโดยรัฐของออสโตรฮังการี ซึ่งอุปถัมภ์นิกายคาทอลิก ในการนี้ได้จัดตั้งบิชอพริซแห่งตีมีชอออารา (Bishopric of Timișoara) ขึ้นมา และต่อมาได้เติบโตขึ้นเป็นอาร์คบิชอพริซ (archbishopric) ในปี 1939 และต่อมาในปี 1947 ได้ก่อตั้งมหามณฑลบานาตขึ้น[5]

ชุมชนออร์ทอดอกซ์ในตีมีชออาราและบานาตของโรเมเนียได้มีความต้องการสร้างโบสถ์ใหญ่ขึ้น ด้วยการริเริ่มของพาริชแห่งซีเตต (ศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของตีมีชออารา) ได้มีการจัดตั้งการรวบรวมทุนและมีการส่งอุทธรณ์ไปยังเขตนักบวชต่าง ๆ เพื่อรับเงินบริจาค ในปี 1936 ปัจจัยต่าง ๆ สำหรับการเริ่มก่อสร้างได้มีพร้อม และเงินทุนได้รวบรวมเป็นที่เรียบร้อย ถึงแม้ว่าจะเป็นเงินบริมาณที่สูงมาด ศาลาว่าการเมืองได้บริจาคที่ดินตรงจุดที่ถนนสายสำคัญตัดกันในเมืองเพื่อสร้างโบสถ์ โครงการจึงส่งต่อในปี 1934 ให้แก่สถาปนิก Ion Trajanescu [ro][6] ภายใต้ข้อกำหนดที่ต้องการให้โบสถ์สามารถรองรับ 5,000 คน อิฐที่ใช้ก่อสร้างโบสถ์นั้นศาลาว่าการเป็นผู้มอบให้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย และบริษัทเหล็ก Reșița Steel Works ยังมอบส่วนลด 30% ให้กับการซื้อเหล็ก 330 ตัน[2]

การก่อสร้างเริ่มต้นจริงในวันที่ 16 มีนาคม 1936 และในวันที่ 20 ธันวาคมปีเดียวกัน ได้มีการจัดมิสซา (solemn service) เพื่อประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ เสกโดยบิชอป Andrei Magieru แห่งอาราด[7] การก่อสร้างควบคุมโดยบริษัทของ Tiberiu Eremia จากบูคาเรสต์[2] ระฆังและกางเขนโบสถ์ได้รับการเสกในวันที่ 23 สิงหาคม 1938 การรับ (reception) งานก่อสร้างมีขึ้นในวันที่ 9 กรกฎาคม 1940 และสภาสงฆ์อนุมัติในวันที่ 24 กรกฎาคม[2] พิธีเปิดอาสนวิหารมีขึ้นในวันทร่ 6 ตุลาคม 1946 โดยมีพยานในพิธีได้แก่กษัตริย์มิคาเอลที่หนึ่ง, นายกรัฐมนตรี Petru Groza, สังฆราช Nicodim Munteanu, บิชอปแห่งตีมีชออารา Vasile Lăzărescu [ro], เทโตรโปลิตันแห่งทรานซิลเวเนีย (Metropolitan of Transylvania) Nicolae Bălan และผู้แทนของคริสต์ชนลัทธิอื่น นำโดยบิชอปโรมันคาทอลิก Augustin Pacha และบิชอปกรีกคาทอลิก Ioan Bălan ในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองหลังโรเมเนียหันไปรบกับเยอรมนี เครื่องบินระเบิดของเยอรมนีทิ้งระเบิดในตีมีชออารา (30–31 ตุลาคม 1944) มีระเบิดรวมหกลูกที่ลงใส่โบสถ์ ระเบิดเพียงหนึ่งลูก เป็นอันตรายใหญ่แต่ขนาดไม่มาก[8] งานจิตรกรรมทั้งนอกและในโบสถ์เสร็จสิ้นในปี 1956 ล่าช้าเนื่องจากสงครามโลกครั้งที่สอง

สถาปัตยกรรม แก้

ไฟล์:Timișoara - Catedrala Mitropolitană Ortodoxă (44188359214).jpg
โดมแพนโตเครเตอร์

อาสนวิหารสร้างขึ้นด้วยสถาปัตยกรรมมอลโดวาใหม่ ประกอบองค์ประกอบของสถาปัตยกรรมโรเมเนียออร์ทอดอกซ์, เรนเนสซองส์ตอนปลาย, ออตโตมัน และ บีแซนทีน เช่น นีชใต้อีฟ, วอล์ทรูปดาว และงานแผ่นกลมแล็กเกอร์หลากสี องค์ประกอบบางประการพบได้ในอารามกอเซีย และอาราม Prislop ซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของงานจากศตวรรษที่ 14 โบสถ์ยังเป็น "จุดรวมสายตา" ("head of perspective") ของจัตุรัสชัยชนะที่ตั้งอยู่ด้านหน้า[8]

อาสนวิหารมีความยาว 63 เมตรและกว้าง 32 เมตร[9] ความยิ่งใหญ่ของอาสนวิหารมาจากขนาดของโดมกลาง โดมแพนโตเครเตอร์ สูง 52 เมตรภายใน และ 83 เมตรด้านนอก ล้อมรอบด้วยกางเขนสูง 7 เมตร ยึดโยงด้วยโซ่ประดับและทองรัด 10 เส้น[9] ณ จุดหนึ่ง อาสนวิหารเป็นสิ่งปลูกสร้างที่สูงที่สุดเป็นอันดับสามของประเทศ รอบจาก Casa Scânteii (104 m) และ People's House (84 m) ทั้งคู่อยู่ในบูคาเรสต์ เนื่องด้วยพื้นดินที่สร้างมีความยวบ โบสถ์จึงวร้างบนพื้นคอนกรีตที่มีเสาเข็มคอนกรีตเสริมเหล็กจำนวน 1,186 เสา ปักลึก 20 เมตร[10] ขนาดพื้นที่ของโบสถ์อยู่ที่ 1,542 ม2 ปริมาตรอาคารอยู่ที่ 50,000 ม3 ระฆังของโบสถ์ทั้งเจ็ดใบหล่อที่โรงหล่อของ Anton Novotny มีน้ำหนักรวม 7,000 กก ทำมาจากโลหะผสมที่นำเข้ามาจากเกาะสุมาตราและบอร์เนียวของประเทศอินโดนีเซีย การสร้างสุนทรียภาพ (harmonization) ภายในเป็นผลงานของนักประพันธ์ Sabin Drăgoi[8] งานจิตรกรรมประดับทั้งนอกและในอาคารเป็นผลงานของคณะศิลปิน นำโดย Anastase Demian [ro] ส่วนไอคอนโนสเตสิสแกะสลักและประดับเคลือบด้วยทอง 22 กะรัด โดยปรมาจารย์ Ștefan Gajo[9] ผู้สร้างโคมระย้าสามโคม เชิงเทียนสองเชิง และ "สุสานท่าน" (Lord's Tomb)

อ้างอิง แก้

  1. "Prezentare". Mitropolia Banatului.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 Both, Ștefan (5 March 2015). "20 de lucruri inedite despre Catedrala Mitropolitană din Timișoara". Adevărul.
  3. Silaghi, Vali (25 April 2013). "Cum s-a construit unul dintre simbolurile Timișoarei, Catedrala Mitropolitană". Adevărul.
  4. "Lista monumentelor istorice" (PDF). Institutul Național al Patrimoniului. 2015. p. 2482. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-21. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.
  5. Suciu, I.D. (1977). Monografia Mitropoliei Banatului. Timișoara: Editura Mitropoliei Banatului. p. 236. OCLC 5410558.
  6. Ionescu, Grigore (1982). Arhitectura pe teritoriul României de-a lungul veacurilor. Bucharest: Editura Academiei Republicii Socialiste România. p. 580.
  7. Ilieșiu, Nicolae; Ilieșu, Petru (2003). Timișoara: monografie istorică (2nd ed.). Timișoara: Planetarium. p. 153. ISBN 9789739732727. OCLC 64400612.
  8. 8.0 8.1 8.2 "Catedrala Mitropolitană". Timisoara-Info.ro. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-06-16. สืบค้นเมื่อ 2022-09-09.
  9. 9.0 9.1 9.2 "Să cunoaștem Timișoara". 2011. pp. 25–29.
  10. "Catedrala Mitropolitană, Timișoara". Welcome to Romania.