อาลฟา กงเด
อาลฟา กงเด (ฝรั่งเศส: Alpha Condé, เกิด 4 มีนาคม พ.ศ. 2481) เป็นนักการเมืองชาวกินีที่เป็นประธานาธิบดีกินีตั้งแต่เดือนธันวาคม พ.ศ. 2553 ถึงกันยายน พ.ศ. 2564 เขาใช้เวลาหลายสิบปีในการต่อต้านการสืบทอดระบอบการปกครองในกินี โดยล้มเหลวในการต่อสู้กับประธานาธิบดีล็องซานา กงเต (Lansana Conté ) ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2536 และ 2541 โดยเขาเป็นผู้นำของ Rassemblement du Peuple Guinéen (RPG) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ต่อมาเขาประสบความสำเร็จในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี พ.ศ. 2553 โดยได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในการลงคะแนนรอบที่สอง เมื่อเข้ารับตำแหน่งในเดือนธันวาคม เขากลายเป็นประธานาธิบดีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งอย่างเสรีในประวัติศาสตร์ของประเทศ กงเดได้รับเลือกอีกสมัยในปี พ.ศ. 2558 ด้วยคะแนนเสียงประมาณ 58%[2] และอีกครั้งในปี พ.ศ. 2563 ด้วยคะแนนเสียง 59.5% มีการกล่าวหาว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2563[3]
อาลฟา กงเด | |
---|---|
ประธานาธิบดีกินีคนที่ 4 | |
ดำรงตำแหน่ง 21 ธันวาคม พ.ศ. 2553 – 5 กันยายน พ.ศ. 2564 | |
นายกรัฐมนตรี | Jean-Marie Doré Mohamed Said Fofana Mamady Youla Ibrahima Kassory Fofana |
ก่อนหน้า | Sékouba Konaté (รักษาการ) |
ถัดไป | Mamady Doumbouya |
ประธานสหภาพแอฟริกา[1] | |
ดำรงตำแหน่ง 30 มกราคม พ.ศ. 2560 – 28 มกราคม พ.ศ. 2561 | |
ก่อนหน้า | อีดริส เดบี |
ถัดไป | พอล คากาเม |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | Boké, กินีฝรั่งเศส, แอฟริกาตะวันตกของฝรั่งเศส (กินีปัจจุบัน) | 4 มีนาคม ค.ศ. 1938
คู่สมรส | Djene Kaba Condé |
ในการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2553 กงเดกล่าวว่าเขาจะเสริมความแข็งแกร่งให้กินีในฐานะประเทศประชาธิปไตยและต่อสู้กับการทุจริต[4] แต่กงเดและลูกชายของเขามีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องอื้อฉาวคอร์รัปชันในเวลาต่อมา ซึ่งส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเหมืองแร่[5][6] และต้องสงสัยว่าโกงการเลือกตั้ง[7]
เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2560 ประธานาธิบดีกงเด ดำรงตำแหน่งต่อจากประธานาธิบดีอีดริส เดบี ของประเทศชาด ในตำแหน่งประธานของสหภาพแอฟริกา[8] และประธานาธิบดีพอล คากาเม ของประเทศรวันดา รับตำแหน่งต่อจากเขาเมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561[9]
เมื่อวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2564 ในรัฐประหารในประเทศกินี พ.ศ. 2564 อาลฟา กงเด ถูกจับกุมและปลดจากตำแหน่งโดยกองทัพกินี[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Guinea President Alpha Conde elected AU chair succeeding Deby". The Star Kenya. สืบค้นเมื่อ 3 February 2017.
- ↑ "SYNTHESE DES RESULTATS PROVISOIRES Election Présidentielle du 11 Octobre 2015" (PDF) (ภาษาฝรั่งเศส). Commission Electorale Nationale Indépendante. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 23 October 2015. สืบค้นเมื่อ 20 October 2015.
- ↑ "Guinea elections: Alpha Condé wins third term amid violent protests". BBC News. 24 October 2020. สืบค้นเมื่อ 30 March 2021.
- ↑ Smith, David (24 September 2012). "Guinea's president promises to turn country into stable democracy". The Guardian (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). ISSN 0261-3077. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
- ↑ "TRACE Compendium - RIO TINTO GROUP". www.traceinternational.org. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
- ↑ "TRACE Compendium - SABLE MINING AFRICA LIMITED". www.traceinternational.org. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
- ↑ "Guinea's president re-elected in contested vote, provisional results show - France 24". France 24 (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 17 October 2015. สืบค้นเมื่อ 11 June 2017.
- ↑ William Mwangi (30 January 2017). "Guinea President Alpha Conde elected AU chair succeeding Deby". The Star, Kenya. สืบค้นเมื่อ 22 November 2017.
- ↑ AfricaNews. "Kagame takes over AU leadership, commits to visa-free regime | Africanews". Africanews (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 8 November 2018.
- ↑ "Elite Guinea army unit says it has toppled president". Reuters. 6 September 2021. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 5 September 2021. สืบค้นเมื่อ 5 September 2021.
อ่านเพิ่มเติม
แก้- Bothorel, Jean; Condé, Alpha (2010). Un Africain engagé : ce que je veux pour la Guinée. Paris: Jean Picollet. ISBN 9782864772446. OCLC 650206262.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- วิกิข่าว มีข่าวที่เกี่ยวข้อง: Alpha Condé