อัชเมร์
อัชเมร์ (อักษรเทวนาครี: अजमेर, อักษรโรมัน: Ajmer ออกเสียง: [ədʒmeːr] ( ฟัง)) เป็นหนึ่งในนครสำคัญและเก่าแก่ที่สุดของรัฐราชสถาน และศูนย์กลางการปกครองของอำเภออัชเมร์ อัชเมร์ตั้งอยู่ตรงกลางของรัฐในทางภูมิศาสตร์ จึงทำให้บางทีอาจเรียกว่าเป็น "ใจกลางของรัฐราชสถาน" นครนี้สถาปนาขึ้นในชื่อ "อชยเมรุ" (Ajayameru; "เนินเขาอันมิพ่ายแพ้") โดยผู้นำจหามนะ ซึ่งอาจจะเป็นอชยราชที่ 1 หรือ อชยราชที่ 2 และคงสถานะเป็นราชธานีเรื่อยมาถึงศตวรรษที่ 12[3][4]
อัชเมร์ | |
---|---|
นคร | |
รูปปั้นของปฤถวีราช เจาหัน, วิทยาลัยเมโย | |
พิกัด: 26°27′00″N 74°38′24″E / 26.4499°N 74.6399°E | |
ประเทศ | อินเดีย |
รัฐ | ราชสถาน |
อำเภอ | อัชเมร์ |
ผู้ก่อตั้ง | อชยราชที่ 1 หรือ อชยราชที่ 2 |
ตั้งชื่อจาก | อชยราชที่ 1 หรือ อชยราชที่ 2 |
การปกครอง | |
• ประเภท | สภาเทศบาล |
• องค์กร | สภาเทศบาลอัชเมร์ |
• นายกเทศบาล | พรัช ลตา หทา (Braj Lata Hada)[1] |
พื้นที่[2] | |
• นคร | 55 ตร.กม. (21 ตร.ไมล์) |
ความสูง | 480 เมตร (1,570 ฟุต) |
ประชากร (2011) | |
• นคร | 542,321 คน |
• ความหนาแน่น | 9,900 คน/ตร.กม. (26,000 คน/ตร.ไมล์) |
• เขตเมือง | 551,101 คน |
เขตเวลา | UTC+5:30 (IST) |
PIN | 305001 ถึง 305023 |
รหัสโทรศัพท์ | 0145, +91145 |
ทะเบียนพาหนะ | RJ-01 |
เว็บไซต์ | www |
อัชเมร์ถูกล้อมรอบด้วยเทือกเขาอรวัลลี และได้รับสถานะเทศบาลตั้งแต่ปี 1869 ในปี 2018 นครอัชเมร์ได้รับการคัดเลือกโดยรัฐบาลอินเดียให้เป็นนครหฤทัย[5] และเป็นส่วนหนึ่งของโครงการสมาร์ตซิตีของรัฐบาลกลางในปี 2015[6]
ประวัติศาสตร์
แก้นักประวัติศาสตร์ ทศรถ ชาร์มา ชี้ให้เห็นว่าหลักฐานการกล่าวถึงนครที่เก่าแก่ที่สุดปรากฏอยู่ใน ปัฏฏวลี ซึ่งเขียนขึ้นในปี 1113 (1170 ว.ส.) ที่นครธารา ข้อเท็จจริงนี้ทำให้สรุปได้ว่านครอัชเมร์มีอยู่มาแล้วก่อนปี 1113[7] ปรศัสตี (จารึกสรรเสริญ) โดยกษัตริย์วิครหราชที่ 4 ซึ่งพบที่วิทยาลัยสันสกฤตอาธยทินกาโฌนปรา ระบุว่ากษัตริย์อชยเทวะ (ซึ่งคือ อชยราชที่สอง) ได้ย้ายที่พำนักของตนมายังอัชเมร์[3] ส่วนในเอกสารยุคหลังจากนั้น ประพันธโกษ ระบุว่าเป็นกษัตริย์ยุคศตวรรษที่ 8 นามว่าอชยราชที่ 1 เป็นผู้สร้างป้อมอชยเมรุขึ้น ป้อมดังกล่าวต่อมาเป็นที่รู้จักในชื่อป้อมตาราครห์[4] นักประวัติศาสตร์ อาร์ บี สิงห์ (R. B. Singh) เสนอว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นจริง เนื่องจากมีจารึกอายุศตวรรษที่ 8 ค้นพบในอัชเมร์[8] นอกจากนี้เขายังตั้งทฤษฎีซึ่ง อชยราชที่สอง เป็นผู้ขยับขยายเขตเมือง สร้างวัง และเป็นผู้ย้ายราชธานีของจหามนะจากศกัมภรี มายังอัชเมร์[9]
อัชเมร์ถูกควบรวมในปี 1193 เข้ากับฆูรีด ก่อนจะคืนแก่เจ้าครองนครชาวราชปุตหลังยอมจำนนเครื่องบรรณาการให้[10] และในปี 1556 อัชเมร์ถูกยึดครองโดยจักรวรรดิโมกุล นำโดยจักรพรรดิอักบัร[10] และตั้งเป็นราชธานีของแคว้นอัชเมรซูบะฮ์ ในยุคโมกุล ชาวมุสลิมจำนวนมากเดินทางมาแสวงบุญที่ดัรกะฮ์ ของ โมยนุดดีน ชีชตี ทำให้เมืองนี้เป็นที่ชมชอบของโมกุล รวมถึงยังถูกใช้เป็นฐานทัพต่อสู้กับพวกราชปุต ขุนนางและจักรพรรดิของโมกุลบริจาคเงินจำนวนมากให้กับนครอัชเมร์ ซึ่งรวมถึงการสร้างวังอักบัร และศาลาจำนวนมากริมอนสาคร[11][12][13] และมีการสร้างถาวรวัตถุขึ้นมากมายในบริเวณของ ดัรกะฮ์[14] ทั้งจาฮานารา เบกุม และ ดารา ชีโกฮ์ บุตรของชะฮ์จาฮาน ล้วนเกิดที่อัชเมร์ ในปี 1614 และ 1615 ตามลำดับ[15][16]
โมกุลเริ่มเสื่อมอำนาจในอัชเมร์ลงในศตวรรษที่ 18[17] ในปี 1752 สสินทิยาเข้ายึดครองอัชเมร์[18] ก่อนที่ในปี 1818 จะถูกยึดครองโดยอังกฤษอย่างเป็นทางการ[10] และมีการตั้งเทศบาลอัชเมร์ขึ้นในปี 1866[19] ในยุคอาณานิคม อัชเมร์เป็นเมืองหลวงของแคว้นอัชเมร์-เมรวาระ รวมถึงมีการสร้างเรือนจำกลางกับโรงพยาบาลกลางขนาดใหญ่ขี้น นับตั้งแต่ทศวรรษ 1900s ได้มีการตั้งโลสถ์คริสต์โดยคริสตจักรสก็อตแลนด์, คริสตจักรอังกฤษ, โรมันคาทอลิก และเมธอดิสต์อเมริกัน ที่นี่[20] รวมถึงมีการตั้งโรงพิมพ์ขึ้น 12 แห่ง ซึ่งตีพิมพ์หนังสือพิมพ์รายสัปดาห์อยู่แปดหัว[21]
อ้างอิง
แก้- ↑ "Braj Lata Hada of BJP was elected mayor of the Ajmer Muncipa". Times of India (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 8 February 2021. สืบค้นเมื่อ 2021-02-10.
- ↑ "AMC".
- ↑ 3.0 3.1 Har Bilas Sarda 1911, pp. 68–74.
- ↑ 4.0 4.1 R. B. Singh 1964, p. 87.
- ↑ "Hriday Cities | Heritage City Development and Augmentation Yojana (HRIDAY)". www.hridayindia.in (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 28 September 2018. สืบค้นเมื่อ 2018-09-28.
- ↑ "Introduction". Hriday official website. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 August 2015. สืบค้นเมื่อ 30 April 2015.
- ↑ Dasharatha Sharma 1959, p. 40.
- ↑ R. B. Singh 1964, p. 88.
- ↑ R. B. Singh 1964, pp. 131–132.
- ↑ 10.0 10.1 10.2 "Ajmer". Encyclopaedia Britannica. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 6 September 2015. สืบค้นเมื่อ 21 October 2020.
- ↑ Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. pp. 77–80. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
- ↑ Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. pp. 118–122. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
- ↑ Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. pp. 170 & 174–178. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
- ↑ Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. p. 220. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
- ↑ Government of India, MoC. "IndianCulture". indianculture.gov.in. MoC, IIT Bombay, IGNOU. สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
- ↑ Singhal, Shruti (บ.ก.). "thebetterindia". thebetterindia.com. thebetterindia. สืบค้นเมื่อ 21 October 2021.
- ↑ Asher, Catherine B. (1992-09-24). Architecture of Mughal India. Cambridge University Press. p. 310. doi:10.1017/chol9780521267281. ISBN 978-0-521-26728-1.
- ↑ Currie, Peter Mark (2009-10-01), "Ajmer", Encyclopaedia of Islam, THREE (ภาษาอังกฤษ), Brill, doi:10.1163/1573-3912_ei3_com_23249, สืบค้นเมื่อ 2021-12-14
- ↑ Rima Hooja (2006). A History of Rajasthan. Rupa. p. 1166. ISBN 9788129108906.
- ↑ "#World Tourism Day 2018:सूफियत की महक और तीर्थनगरी पुष्कर की सनातन संस्कृति". www.patrika.com (ภาษาฮินดี). สืบค้นเมื่อ 2018-09-28.
- ↑ THE IMPERIAL GAZETTEER OF INDIA, 1908. OUP. pp. Extract.
บรรณานุกรม
แก้- Dasharatha Sharma (1959). Early Chauhān Dynasties. S. Chand / Motilal Banarsidass. ISBN 9780842606189.
- Har Bilas Sarda (1911). "Adhai-Din-ka-Jhonpra" (PDF). Ajmer: Historical and Descriptive. Scottish Mission.[ลิงก์เสีย]
- R. B. Singh (1964). History of the Chāhamānas. N. Kishore. OCLC 11038728.
- W.D. Begg: The Holy Biography of Hazrat Khwaja Muinuddin Chishti (Millat Book Centre, Delhi, 1999).
- Ajmer The Imperial Gazetteer of India, 1909, v. 5, p. 137-146.