อักษรมันดาอิก
ชุดตัวอักษรมันดาอิก เป็นระบบการเขียนโดยหลักใช้เขียนภาษามันดาอิก คากว่าพัฒนาขึ้นในช่วงระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 2 ถึง 7 จากรูปเขียนของแอราเมอิก (เช่นเดียวกันกับซีรีแอก) หรือจากอักษรพาร์เทียนจารึก[1][2] เป็นเรื่องยากที่จะระบุที่มาของอักษรอย่างชัดเจน[3] อักษรนี้พัฒนาโดยผู้นับถือความเชื่อมันดาอีในเมโสโปเตเมียตอนล่าง เพื่อเขียนภาษามันดาอิกด้วยจุดประสงค์ทางศาสนา[1] ภาษามันดาอิกคลาสสิกกับภาษามันดาอิกใหม่ยังคงมีผู้ใช้งานเพียงจำกัด[1] อักษรนี้มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างน้อยมากตลอดหลายศตวรรษ[3][1]
อักษรมันดาอิก | |
---|---|
ชนิด | Alphabet
|
ช่วงยุค | คริสต์ศตวรรษที่ 2 — ปัจจุบัน |
ทิศทาง | ขวาไปซ้าย |
ภาษาพูด | มันดาอิกคลาสสิก มันดาอิกใหม่ |
อักษรที่เกี่ยวข้อง | |
ระบบแม่ | |
ISO 15924 | |
ISO 15924 | Mand (140), Mandaic, Mandaean |
ยูนิโคด | |
ยูนิโคดแฝง | Mandaic |
ช่วงยูนิโคด | U+0840–U+085F |
ชื่ออักษรในภาษามันดาอิกคือ Abagada หรือ Abaga ตามอักษรแรกของชุดตัวอักษร โดยรู้จักกันในฐานะ a, ba, ga, ฯลฯ แทนที่จะเป็นชื่ออักษรเซมิติกแบบดั้งเดิม (aleph, beth, gimel) [4]
อักษรนี้เป็นตัวเขียนที่เขียนจากขวาไปซ้ายตามแนวนอน แต่ใช่ว่าอักษรทั้งหมดในคำศัพท์จะเชื่อมกัน มีการใช้ช่องว่างในการแบ่งคำ
ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Majid Fandi al-Mubaraki ชาวมันดาอีที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลีย นำเข้าข้อความภาษามันดาอิกไปแปลงเป็นดิจิทัลด้วยการใช้การเรียงพิมพ์อักษรมันดาอิก[5]
อักษร
แก้ชุดตัวอักษรมันดาอิกมีอักษรทั้งหมด 22 ตัว (เรียงตามลำดับเดียวกันกับชุดตัวอักษรแอราเมอิก) กับทวิอักษร adu อักษรทุกตัวมักปิดด้วยการสะกดอักษรแรก a ซ้ำ ทำให้มีการนับเชิงสัญลักษณ์เป็น 24 ตัว:[6][7]
# | ชื่อ[3] | อักษร | รูปเชื่อม | ปริวรรต | สัทอักษรสากล[3] | จุดรหัส ยูนิโคด | ||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ขวา | กลาง | ซ้าย | ซีรีแอก | ละติน[3] | ฮีบรู[6] | |||||
1, 24 | a | ࡀ | ـࡀ | ܐ | a | א | /a/ | U+0840 HALQA | ||
2 | ba | ࡁ | ـࡁ | ـࡁـ | ࡁـ | ܒ | b | ב | /b/ | U+0841 AB |
3 | ga | ࡂ | ـࡂ | ـࡂـ | ࡂـ | ܓ | g | ג | /ɡ/ | U+0842 AG |
4 | da | ࡃ | ـࡃ | ـࡃـ | ࡃـ | ܕ | d | ד | /d/ | U+0843 AD |
5 | ha | ࡄ | ـࡄ | ـࡄـ | ࡄـ | ܗ | h | ה | /h/ | U+0844 AH |
6 | wa | ࡅ | ـࡅ | ـࡅـ | ࡅـ | ܘ | u | ו | /u, w/ | U+0845 USHENNA |
7 | za | ࡆ | ـࡆ | ܙ | z | ז | /z/ | U+0846 AZ | ||
8 | eh | ࡇ | ـࡇ | ܚ | -ẖ | ח | /χ/ | U+0847 IT | ||
9 | ṭa | ࡈ | ـࡈ | ـࡈـ | ࡈـ | ܛ | ṭ | ט | /tˠ/ | U+0848 ATT |
10 | ya | ࡉ | ـࡉ | ܝ | i | י | /i, j/ | U+0849 AKSA | ||
11 | ka | ࡊ | ـࡊ | ـࡊـ | ࡊـ | ܟ | k | כ | /k/ | U+084A AK |
12 | la | ࡋ | ـࡋ | ـࡋـ | ࡋـ | ܠ | l | ל | /l/ | U+084B AL |
13 | ma | ࡌ | ـࡌ | ـࡌـ | ࡌـ | ܡ | m | מ | /m/ | U+084C AM |
14 | na | ࡍ | ـࡍ | ـࡍـ | ࡍـ | ܢ | n | נ | /n/ | U+084D AN |
15 | sa | ࡎ | ـࡎ | ـࡎـ | ࡎـ | ܣ | s | ס | /s/ | U+084E AS |
16 | e | ࡏ | ـࡏ | ـࡏـ | ࡏـ | ܥ | ʿ | ע | /e/ | U+084F IN |
17 | pa | ࡐ | ـࡐ | ـࡐـ | ࡐـ | ܦ | p | פ | /p/ | U+0850 AP |
18 | ṣa | ࡑ | ـࡑ | ـࡑـ | ࡑـ | ܨ | ṣ | צ | /sˠ/ | U+0851 ASZ |
19 | qa | ࡒ | ـࡒ | ـࡒـ | ࡒـ | ܩ | q | ק | /q/ | U+0852 AQ |
20 | ra | ࡓ | ـࡓ | ـࡓـ | ࡓـ | ܪ | r | ר | /r/ | U+0853 AR |
21 | ša | ࡔ | ـࡔ | ܫ | š | ש | /ʃ/ | U+0854 ASH | ||
22 | ta | ࡕ | ـࡕ | ـࡕـ | ࡕـ | ܬ | t | ת | /t/ | U+0855 AT |
23 | ḏ | ࡖ | ـࡖ | ܯ | ḏ- | דﬞ | /ð/ | U+0856 DUSHENNA |
สระ
แก้สระส่วนใหญ่เขียนในรูปเต็ม ซึ่งต่างจากชุดตัวอักษรเซมิติกอื่น ๆ ส่วนใหญ่ อักษรแรก a (เทียบเท่า alaph) ใช้แทนขอบเขตของสระลิ้นลดต่ำ อักษรตัวที่ 6 wa ใช้เป็นสระปิด หลัง (u กับ o) และอักษรตัวที่ 10 ya ใช้เป็นสระปิด หน้า (i กับ e) อักษรสองตัวท้ายที่กล่าวไปสามารถเป็นพยัญชนะ w/v กับ y ได้
สัญลักษณ์ที่คล้ายกับรูปขีดเส้นใต้ (U+085A ◌࡚ mandaic vocalization mark) ใช้แยกคุณภาพเสียงสระ (vowel quality) ของสระมันดาอิกสามอัน โดยใช้ในสื่อการสอนแต่อาจละไว้ในข้อความทั่วไป[9] สัญลักษณ์นี้ใช้เฉพาะกับสระ a, wa และ ya ดังตัวอย่างกับอักษร ba:
- ࡁࡀ /bā/ กลายเป็น ࡁࡀ࡚ /ba/
- ࡁࡅ /bu/ กลายเป็น ࡁࡅ࡚ /bo/
- ࡁࡉ /bi/ กลายเป็น ࡁࡉ࡚ /be/
สัญลักษณ์ซ้ำ
แก้จุดใต้พยัญชนะ (U+085B ◌࡛ mandaic gemination mark) สามารถใช้ระบุรูปซ้ำที่ผู้เขียนภาษาแม่เรียกว่ารูปสะกด "หนัก"[9] ตัวอย่างคำศัพท์ ได้แก่ ࡀࡊ࡛ࡀ (ekka) 'นี่คือ', ࡔࡉࡍ࡛ࡀ (šenna) 'ฟัน', ࡋࡉࡁ࡛ࡀ (lebba) 'หัวใจ' และ ࡓࡁ࡛ࡀ (rabba) 'เยี่ยม'[9]
รูปอักขระแฝด
แก้อักษรตัวที่ 23 เป็นรูปอักขระแฝด adu (da + ya)[1][6] (เทียบกับ ตาอ์มัรบูเฏาะฮ์ในภาษาอาหรับ, อักษรคอปติก "ti" และแอมเพอร์แซนด์ในภาษาอังกฤษ)
นอกจากเชื่อมอักษรในแบบทั่วไปแล้ว อักษรมันดาอิกบางตัวสามารถผสมให้เป็นรูปอักขระแฝดหลายแบบ:[3][9]
- ࡊࡃ /kd/, ࡗ /kḏ/, ࡊࡉ /ki/, ࡊࡋ /kl/, ࡊࡓ /kr/, ࡊࡕ /kt/, และ ࡊࡅ /ku/
- ࡍࡃ /nd/, ࡍࡉ /ni/, ࡍࡌ /nm/, ࡍࡒ /nq/, ࡍࡕ /nt/, และ ࡍࡅ /nu/
- ࡐࡋ /pl/, ࡐࡓ /pr/, และ ࡐࡅ /pu/
- ࡑࡋ /sˤl/, ࡑࡓ /sˤr/, และ ࡑࡅ /sˤu/
- ࡅࡕ /ut/
ทั้ง adu (U+0856 ࡖ mandaic letter dushenna) กับรูปอักขระแฝดเก่า kḏ (U+0857 ࡗ mandaic letter kad) ถือเป็นอักษรเดียวกันในยูนิโคด
อักษรที่คล้ายกัน
แก้เนื่องจากอักษรมันดาอิกบางตัวมีรูปร่างคล้ายกัน ทำให้บางครั้งสร้างความสับสนทั้งอาลักษณ์มันดาอิกในอดีตกับนักวิชาการสมัยใหม่ โดยเฉพาะในเอกสารตัวเขียนที่เป็นรูปเขียนมือ โดยตัวอย่างมีดังนี้[10]
- ࡃ /d/, ࡓ /r/, ࡏ /e/, ࡒ /q/
- ࡅ /u/, ࡉ /i/
- ࡌ /m/, ࡕ /t/
- ࡊ /k/, ࡍ /n/, ࡐ /p/
- ࡐࡀ /pa/, ࡀࡍࡀ /ana/, ࡔ /ʃ/
- ࡑ /sˤ/, ࡄࡍ /hn/
ส่วนขยาย
แก้ยูนิโค้ด
แก้อักษรมันดาอิก Unicode.org chart (PDF) | ||||||||||||||||
0 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | A | B | C | D | E | F | |
U+084x | ࡀ | ࡁ | ࡂ | ࡃ | ࡄ | ࡅ | ࡆ | ࡇ | ࡈ | ࡉ | ࡊ | ࡋ | ࡌ | ࡍ | ࡎ | ࡏ |
U+085x | ࡐ | ࡑ | ࡒ | ࡓ | ࡔ | ࡕ | ࡖ | ࡗ | ࡘ | ࡙ | ࡚ | ࡛ | ࡞ |
อ้างอิง
แก้- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 "Chapter 9: Middle East-I, Modern and Liturgical Scripts". The Unicode Standard, Version 10.0 (PDF). Mountain View, CA: Unicode, Inc. June 2017. ISBN 978-1-936213-16-0.
- ↑ Häberl, Charles G. (February 2006). "Iranian Scripts for Aramaic Languages: The Origin of the Mandaic Script". Bulletin of the American Schools of Oriental Research (341): 53–62. doi:10.7282/T37D2SGZ.
- ↑ 3.0 3.1 3.2 3.3 3.4 3.5 Daniels, Peter T.; Bright, William, บ.ก. (1996). The World's Writing Systems. Oxford University Press, Inc. pp. 511–513. ISBN 978-0195079937.
- ↑ Macúch, Rudolf (1965). Handbook of Classical and Modern Mandaic. Berlin: De Gruyter. pp. 7–26.
- ↑ Mandaean Network.
- ↑ 6.0 6.1 6.2 Drower, Ethel Stefana; Macúch, Rudolf (1963). A Mandaic Dictionary. London: Clarendon Press. pp. 1, 491.
- ↑ Drower, Ethel Stefana (1937). The Mandaeans of Iraq and Iran: Their Cults, Customs, Magic, Legends, and Folklore. Oxford: Clarendon Press. pp. 240–243.
- ↑ ตารางนี้จะแสดงได้ถูกต้องด้วยการใช้ Firefox และฟอนต์ Noto Sans Mandaic
- ↑ 9.0 9.1 9.2 9.3 Everson, Michael; Richmond, Bob (2008-08-04). "L2/08-270R: Proposal for encoding the Mandaic script in the BMP of the UCS" (PDF).
- ↑ Häberl, Charles (2022). The Book of Kings and the Explanations of This World: A Universal History from the Late Sasanian Empire. Liverpool: Liverpool University Press. pp. 33–34. ISBN 978-1-80085-627-1.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Mandaic.org: Mandaic and Neo-Mandaic Texts and Resources เก็บถาวร 2018-11-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
- Noto Sans Mandaic from Google Fonts
- Mandaic Regular Font from the Mandaean Network
- Mandaic phonetic keyboard from SIL Keyman
- Mandaic keyboard