อะลาดิน (ภาพยนตร์ พ.ศ. 2535)

อะลาดิน (อังกฤษ: Aladdin) เป็นภาพยนตร์แอนิเมชันตลกขับขันอเมริกันที่ออกฉายใน ค.ศ. 2535 ผลิตโดย วอลท์ดิสนีย์ฟีเจอร์แอนิเมชั่น ภาพยนตร์เขียนบทและกำกับโดย จอห์น มัสเคอร์ และรอน คลีเมนต์ส และแสดงนำโดย สกอตต์ ไวน์เกอร์, โรบิน วิลเลียมส์, ลินดา ลาร์กิน, โจนาธาน ฟรีแมน, แฟรงค์ เวลเกอร์, กิลเบิร์ต ก็อตต์ฟรีด และดักลาส ซีล

อะลาดิน
กำกับ
บทภาพยนตร์
เนื้อเรื่อง
สร้างจากอะลาดิน จาก อาหรับราตรี[a]
อำนวยการสร้าง
  • จอห์น มัสเคอร์
  • รอน คลีเมนต์ส
นักแสดงนำ
ตัดต่อเอช. ลี ปีเตอร์สัน
ดนตรีประกอบอลัน เมนเคน
บริษัทผู้สร้าง
ผู้จัดจำหน่ายบัวนาวิสต้าพิคเจอร์ส
วันฉาย11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1992 (1992-11-11)
ความยาว90 นาที
ประเทศ สหรัฐ
ภาษาอังกฤษ
ทุนสร้าง28 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]
ทำเงิน504.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ[4]

เนื้อเรื่อง แก้

พ่อค้าเร่นายหนึ่งเล่าความว่า ในนครอัคราบาห์แห่งอาหรับ มีจอมโจรหนุ่มจิตใจงามนาม อะลาดิน เร่ร่อนอยู่กับสหายลิงคาปูชินชื่อ อาบู ได้ใกล้ชิดกับเจ้าหญิงจัสมิน ธิดาของสุลต่าน ที่ทรงหลบหนีออกจากวัง เพราะทรงเบื่อกับชีวิตที่ถูกประคบประหงม

ขณะเดียวกัน มหาเสนาบดีจาฟาร์ มีแผนการที่จะโค่นล้มสุลต่าน เพื่อยึดครองอัคราบาห์ จาฟาร์แสวงหา 'ตะเกียงวิเศษ' ที่ถูกกักเก็บไว้ในถ้ำแห่งสิ่งมหัศจรรย์ อันมีเพียงผู้มีคุณสมบัติ 'เพชรในตม' เท่านั้นที่มีสิทธิ์เข้าไปได้ ซึ่งหนึ่งในนั้นคืออะลาดิน จาฟาร์จึงจับตัวอะลาดินไว้ แล้วปลอมตัวเป็นนักโทษชราและโน้มน้าวให้ไปนำตะเกียงวิเศษมา โดยหลอกว่าจะปล่อยให้เป็นอิสระ อะลาดินเข้ามาในถ้ำแห่งวิ่งมหัศจรรย์โดยมีอาบูติดตามมาด้วย ทั้งสองได้ผูกมิตรกับพรมวิเศษ และได้รับตะเกียงวิเศษ อะลาดินมอบตะเกียงให้กับจาฟาร์ก่อนจะถูกทิ้งไว้ในถ้ำ หาทางออกไม่ได้ โชคดีที่อาบูฉกฉวยตะเกียงกลับมาให้

อะลาดินที่ติดอยู่ในถ้ำ ไม่รู้จะทำเช่นไร เผลออัญเชิญจีนี ญินที่สิงอยู่ในตะเกียงวิเศษ ผ่านการขัดถูตะเกียง จีนีเสนอตัวว่า ตนมีอำนาจนัปการ สามารถทำให้พรที่ผู้ครอบครองตะเกียงขอสัมฤทธิ์ได้สามประการ อะลาดินได้ยินเช่นนั้นจึงร้องขอให้จีนีช่วยเขาออกจากถ้ำโดยไม่ขอพร จากนั้น เขาจึงขอพรประการแรกในการปลอมตัวเป็นเจ้าชายสูงศักดิ์ เพื่อผูกมัดพระทัยเจ้าหญิงจัสมิน และสัญญากับจีนีว่า จะใช้พรประการสุดท้ายปลดปล่อยจีนีจากการถูกจองจำในตะเกียง

อะลาดินเดินทางเข้าสู่อัคราบาห์ ในฐานะ "เจ้าชายอาลีแห่งอาบับวา" อย่างยิ่งใหญ่ และได้ถวายตนเข้าเฝ้าเจ้าหญิงจัสมิน จนทั้งสองสามารถสื่อใจถึงกันได้ เมื่ออะลาดินพาจัสมินประทับบนพรมวิเศษออกท่องโลกภายนอก ที่จัสมินทรงปรารถนาที่จะเห็นมาโดยตลอด ทว่า จาฟาร์ที่ทราบเรื่องดังกล่าวรู้สึกโกรธอะลาดิน จึงสั่งให้ทหารนำตัวอะลาดินไปถ่วงน้ำ หวังจะลอบขโมยตะเกียง แต่ตะเกียงนั้นติดไปกับตัวอะลาดิน อะลาดินจึงถูตะเกียงก่อนจะหมดสติ จีนีจึงช่วยชีวิตเขาขึ้นจากน้ำได้ด้วยพรประการที่สอง อะลาดินจึงกลับมาเปิดโปงแผนร้ายของจาฟาร์ หลังจากที่สุลต่านทรงเสนออะลาดินเป็นทายาทอัคราบาห์ เขากลัวว่าจะเสียจัสมินไป หากความจริงทั้งหมดถูกเปิดเผย อะลาดินจึงขอให้จีนีอยู่ด้วย และปฏิเสธที่จะปล่อยเป็นอิสระ จีนีจึงรู้สึกผิดหวังในการกระทำและคำพูดของอะลาดิน

ฝ่ายจาฟาร์สั่งให้อิอาโก นกแก้วมาคอว์ของเขา ไปขโมยตะเกียงวิเศษมาจากอะลาดิน จึงกลายเป็นนายคนใหม่ของจีนี เขาขอพรสองประการแรกในการยึดอำนาจสุลต่านและกลายเป็นจอมเวทย์เจ้าอิทธิฤทธิ์ที่สุดในโลก แล้วจึงข่มขู่ให้สุลต่านและเจ้าหญิงจัสมินก้มพระเศียรต่อหน้าตน แต่อะลาดินเข้ามาขัดขวาง จาฟาร์จึงเนรเทศเขาไปยังขั้วโลก เพื่อให้ตายอย่างทรมาน จากนั้นจาฟาร์ก็บังคับเจ้าหญิงจัสมินจะทรงตกลงเข้าพิธีอภิเษกกับตน ขณะนั้น อะลาดินสามารถกลับมาอัคราบาห์ได้ จัสมินทรงเห็นเช่นนั้นจึงเบนความสนใจของจาฟาร์ จนอะลาดินสบโอกาสเข้ามาแย่งตะเกียง

จากนั้น จาฟาร์แปลงกายเป็นงูเห่ามหึมาเข้าต่อกรกับอะลาดิน อะลาดินวางแผนเอาชนะจาฟาร์ จึงใช้อุบายเหน็บแนมเขาว่ายังเป็นรองจีนี ในแง่ของพลังุอำนาจทั้งปวง เพราะฉะนั้น จาฟาร์จึงขอพรประการสุดท้ายจากจีนี ในการเป็น 'ญินที่ทรงพลังที่หนึ่ง' จีนีจึงเสกให้จาฟาร์เป็นญินที่มีฤทธิ์เหนือกว่าตน จาฟาร์ประกาศตนเป็นผู้ทรงพลังที่สุดในจักรวาล แต่เพราะไม่มีเจ้านาย จึงถูกจองจำไว้ในตะเกียง โดยลากอิอาโกเข้าไปด้วย จีนีโยนตะเกียงที่กักเก็บจาฟาร์ไปสู่ถ้ำแห่งสิ่งมหัศจรรย์ ต่อมา อะลาดินได้ขอพรประการสุดท้ายปลดปล่อยจีนีจากการถูกกักขังตามคำสัญญา

สุลต่านทรงอนุญาตให้เจ้าหญิงจัสมินอภิเษกสมรสกับอะลาดิน โดยทรงเปลี่ยนกฎมณฑลเฑียรบาลใหม่ว่า เจ้าหญิงจะไม่จำเป็นต้องอภิเษกกับเจ้าชายเสมอไป

ตัวละครและเสียงพากย์ แก้

ประเทศไทย นักแสดง[5] แก้

การตอบรับ แก้

รอตเทนโทเมโทส์รายงานว่าร้อยละ 95 ของผู้วิจารณ์ 75 คนได้ให้ความเห็นในเชิงบวก ขณะที่คะแนนเฉลี่ยของภาพยนตร์อยู่ที่ 8.20 เต็ม 10 คะแนน[6] เมทาคริติกรายงานว่าภาพยนตร์มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 86 เต็ม 100 คะแนน ซึ่งประเมินโดยผู้วิจารณ์ 25 คน[7]

เชิงอรรถ แก้

  1. Aladdin and the Magic Lamp was authored by Hanna Diyab,[1][2] and was added to the One Thousand and One Nights by Antoine Galland, appearing in his French translation Les mille et une nuits.[3]

อ้างอิง แก้

  1. Arafat A. Razzaque, 'Who “wrote” Aladdin? The Forgotten Syrian Storyteller' เก็บถาวร พฤษภาคม 25, 2019 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, Ajam Media Collective (14 September 2017).
  2. Horta, Paulo Lemos (2018). Aladdin: A New Translation. Liveright Publishing. pp. 8–10. ISBN 9781631495175. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ September 25, 2019. สืบค้นเมื่อ 23 May 2019.
  3. Nun, Katalin; Stewart, Dr Jon (2014). Volume 16, Tome I: Kierkegaard's Literary Figures and Motifs: Agamemnon to Guadalquivir. Ashgate Publishing, Ltd. p. 31.
  4. 4.0 4.1 "Aladdin box office info". Box Office Mojo. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ February 15, 2009. สืบค้นเมื่อ March 17, 2009.
  5. "อะลาดิน (1993)". The Dubbing Database (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-04-01.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "Aladdin", รอตเทนโทเมโทส์ (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2022-04-01
  7. "Aladdin", เมทาคริติก (ภาษาอังกฤษ), สืบค้นเมื่อ 2022-04-01

แหล่งข้อมูลอื่น แก้