อวี๋ ซาน

นักแสดงหญิงชาวจีน

อวี๋ ซาน (俞珊, ค.ศ. 1908-ค. ศ. 1968) เป็นนักแสดงชาวจีนและเป็นหนึ่งในนักแสดงละครที่เก่าแก่ที่สุดในจีน[1]

อวี๋ ซานในนิตยสาร China Pictorial จากปี 1952

ชีวิตส่วนตัว

แก้

อวี๋ ซาน เกิดในปี ค.ศ. 1908 ที่เมืองชานยินมณฑลเจ้อเจียง (ปัจจุบันคือเช่าซิง มณฑลเจ้อเจียง) ในครอบครัว อวี๋ ที่มีชื่อเสียงในชานยิน บิดาของเธอ อวี๋ ต้าชุน เป็นข้าราชการในสาธารณรัฐจีน ปู่ของเธอ อวี๋ หมิงเจิ้น เป็นนักวิชาการฮั่นหลินในสมัยปลายราชวงศ์ชิง ซึ่งดำรงตำแหน่งผู้ควบคุมสถาบันการเดินเรือเจียงหนาน ลูกพี่ลูกน้องรุ่นที่หนึ่งของพ่อเธอ (ลูกพี่ลูกน้องรุ่นที่หนึ่งของ ต้า ชุน) อวี๋ ต้าเหว่ย เป็นนักการเมืองในสาธารณรัฐจีน[2]

เธอเริ่มการศึกษาที่โรงเรียนมัธยมหญิงหนานไค่ในเทียนจิน[3] นอกจากนี้เธอยังศึกษาอยู่ที่วิทยาลัยดนตรีเซี่ยงไฮ้ และได้รับเชิญจากเถียน ฮั่น นักเขียนบทละครชาวจีน ให้เข้าร่วมSouth China Societyในปี ค.ศ. 1929 ซึ่งเธอได้มีชื่อเสียงโด่งดังจากการเล่นบทนำในละคร สะโลเม ของออสการ์ ไวลด์[3] ในปีถัดมา เธอแสดงนำในผลงานดัดแปลงของเถียน ฮั่นจากเรื่อง การ์เมน ของ ฌอร์ฌ บีแซ[4] การแสดงของเธอในละคร สะโลเม ได้รับการตีพิมพ์อย่างกว้างขวางในนิตยสารชั้นนำรวมทั้งในนิตยสาร Southland Monthly[5] ความมีเสน่ห์ทางกายที่สำคัญของเธอถูกบรรยายโดยนิตยสารว่าเป็น"ความงดงามที่ไม่มีเทียบ"

[6]เธอยังเป็นที่จดจำถึงความสัมพันธ์ของเธอกับบุคคลสำคัญทางวัฒนธรรมในประเทศจีน เช่นเถียน ฮั่น,จ้าว ไท่โหมว,สวี จิโม่,เหวิน อี้ตู้, และเหลียง ซือชิว[7]

ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1933 เธอแต่งงานกับนักการศึกษาจ้าว ไท่โหมวซึ่งเป็นหนึ่งในผู้สนับสนุนขบวนการละครแห่งชาติและเป็นสมาชิกของคณะกรรมการเตรียมการของมหาวิทยาลัยชิงเต่า อย่างไรก็ตามทั้งสองหย่ากันในเวลาต่อมา[2][8]

ในปี ค.ศ. 1948 อวี๋ ซานแปรพักตร์ไปยังพื้นที่ควบคุมของคอมมิวนิสต์ทางตอนเหนือของจีน หลังจากการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีนเธอทำงานให้กับคณะงิ้วปักกิ่งเจียงซูและสถาบันโอเปร่าศึกษาของจีน[4][8]

น้องสาวของเธอ อวี๋ จิน เป็นแพทย์[7]จากความนิยมของเธอ หวาง จิง (ค.ศ. 1912–ค.ศ. 1958) หนึ่งในพี่ชายของเธอได้ทำงานให้กับองค์การการเมืองบางส่วนในวงการละครในเซี่ยงไฮ้[9]อวี๋เสียชีวิตในปี ค.ศ. 1968 ระหว่างการปฏิวัติทางวัฒนธรรม

อ้างอิง

แก้
  1. Faligot, Roger (2019). Chinese Spies: From Chairman Mao to Xi Jinping. Oxford: Oxford University Press. p. 126. ISBN 978-1-787-38096-7. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  2. 2.0 2.1 王鸣建 (2009). "俞珊与新月才子的情感纠葛". 文史天地 (第8期).
  3. 3.0 3.1 Lee, Lily Xiao Hong (8 July 2016). Biographical Dictionary of Chinese Women: v. 2: Twentieth Century. Oxon: Routledge. p. 653. ISBN 978-1-315-49924-6. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  4. 4.0 4.1 "话剧名家——俞珊(1908—1968)". 中国文化网. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2009-04-08.
  5. Luo, Liang (15 July 2014). The Avant-Garde and the Popular in Modern China: Tian Han and the Intersection of Performance and Politics. Ann Arbor, Michigan: University of Michigan Press. p. 98. ISBN 978-0-472-05217-2. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  6. Pan, Lynn (1 November 2015). When True Love Came to China. Hong Kong: Hong Kong University Press. p. 148. ISBN 978-9-888-20880-7. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  7. 7.0 7.1 Chen, Ya-chen (11 July 2014). New Modern Chinese Women and Gender Politics: The Centennial of the End of the Qing Dynasty. Oxon: Routledge. p. 90. ISBN 978-1-135-02006-4. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.
  8. 8.0 8.1 Lee 2016, p. 654.
  9. Song, Yuwu (10 January 2014). Biographical Dictionary of the People's Republic of China. Jefferson, North Carolina: McFarland. p. 139. ISBN 978-1-476-60298-1. สืบค้นเมื่อ 16 May 2022.