อมราวตีสถูป
อมราวดีสถูป หรือ อมราวตีสถูป (อักษรโรมัน: Amarāvati Stupa) เป็นซากสถูปในศาสนาพุทธตั้งอยูที่หมู่บ้านอมราวตี รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในระหว่าง 300 ปีก่อนคริสต์กาลถึงราวปี ค.ศ. 250 จากนั้นมีการขยับขยายและสร้างใหม่ขึ้นทับในราวปี ค.ศ. 50[1] ปัจจุบัน อมราวตีสถูปและพิพิธภัณฑ์โบราณคดี อมราวตีสถูป อยู่ภายใต้การดูแลของกรมสำรวจโบราณคดีอินเดีย[2]
อมราวตีสถูกป | |
---|---|
ซากของสถูปเมื่อปี 2012 | |
ที่ตั้ง | หมูบ้านอมราวตี รัฐอานธรประเทศ ประเทศอินเดีย |
พิกัด | 16°34′31″N 80°21′29″E / 16.5753°N 80.3580°E |
ความสูง | ของเดิมประมาณไว้ที่ 73 เมตร |
สร้างเมื่อ | 300 ปีก่อนคริสต์กาล |
ประติมากรรมสำคัญที่หลงเหลือจากสถูปในปัจจุบันกระจายอยู่ตามพิพิธภัณฑ์ในอินเดียและต่างประเทศ จำนวนมากเสียหายพอสมควร ประติมากรรมส่วนใหญ่เป็นชิ้นงานนูนต่ำและไม่พบพระพุทธรูปขนาดมหึมา กระนั้นไม่ทราบแน่ชัดว่าในอดีตเคยมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่หรือไม่ ประติมากรรมส่วนใหญ่ปัจจุบันอยู่ที่พิพิธภัณฑ์รัฐบาลเมืองเจนไน, พิพิธภัณฑ์โบราณคดีอมราวตีสถูป และ "หินอ่อนอมราวตี" ในพิพิธภัณฑ์บริติชที่ลอนดอน ส่วนที่เหลือกระจัดกระจายกันไป[3]
นักประวัติศาสตร์ศิลป์ถือว่าอมราวตีสถูปเป็นหนึ่งในสามรูปแบบศิลปกรรมอินเดียในยุคโบราณ อีกสองรูปแบบคือมถุรา และคันธาระ (กรีก-พุทธ)[4] เนื่องจากการค้าขายทางทะเลและการเผยแผ่ศาสนา รูปแบบศิลปะอมราวตีดังที่ปรากฏที่อมราวตีสถูปนี้ ยังปรากฏในอีกหลายแหล่งโบราณคดีในอินเดียตะวันออก ไปจนถึงอินเดียใต้ ศรีลังกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้[5]
อมราวตีสถูป โดยเฉพาะในรูปแบบเดิมก่อนเสียหาย ได้รับการยกย่องให้เป็น "อนุสรณ์ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอเชียแถบที่นับถือพุทธ"[6] และ "เพชรยอดมงกุฎของศิลปะอินเดียยุคแรก"[7] ชื่อ "อมราวตี" นี้เป็นชื่อที่ค่อนข้างใหม่ และมีที่มาจาก อมเรศวรลิงคสวามินเทวาลัย (Amareśvara Liṅgasvāmin temple) ซึ่งสร้างขึ้นในศตวรรษที่ 18 อันตั้งอยู่ใกล้กันและกลายมาเป็นชื่อของหมู่บ้านและสถูปนี้[8] นิคมโบราณที่ปัจจุบันไม่ไกลนักจากหมู่บ้านอมราวตี คือธารณีโกฏ ซึ่งในอดีตมีความสำคัญยิ่ง เป็นไปได้ว่าอาจเป็นราชธานีในสมัยนั้น หลักฐานแปลนและแผนที่เก่าแก่ที่สุดที่บ่งบอกถึงอมราวตีสถูปปรากฏในแผนที่ของคอลิน แม๊กคินซี เขียนขึ้นในปี 1816 ระบุชื่อสถูปนี้ว่า ทีปลทิมมะ (deepaladimma) "เขาแห่งแสง"[9] ในเอกสารโบราณไม่ได้เรียกที่นี่ว่าเป็นสถูป แต่เรียกว่าเป็น "มหาเจดีย์" (mahācetiya)[10]
อ้างอิง
แก้- ↑ Shimada, 74
- ↑ "Archaeological Museum, Amaravati - Archaeological Survey of India".
- ↑ "PDF List from the BASAS Project" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-08-30. สืบค้นเมื่อ 2023-11-20.
- ↑ Pal, Pratapaditya (1986). Indian Sculpture: Circa 500 B.C.-A.D. 700 (ภาษาอังกฤษ). Los Angeles County Museum of Art. p. 154. ISBN 978-0-520-05991-7.
- ↑ Rowland, 210
- ↑ Harle, 35
- ↑ Harle, 34
- ↑ South Indian transliteration differs from Hunterian transliteration, thus Amarāvatī can appear as Amarāvathī, Ratana as Rathana, etc.
- ↑ For link to maps and plans at the British Library: The Amaravati Album
- ↑ Pia Brancaccio, The Buddhist Caves at Aurangabad: Transformations in Art and Religion (Leiden: Brill, 2011), p. 47.
บรรณานุกรม
แก้- Becker, Catherine, Shifting Stones, Shaping the Past: Sculpture from the Buddhist Stūpas of Andhra Pradesh, 2015, Oxford University Press, ISBN 9780199359400
- "BM": Amaravati: The Art of an Early Buddhist Monument in Context, Edited by Akira Shimada and Michael Willis, British Museum, 2016, PDF
- Craven, Roy C., Indian Art: A Concise History, 1987, Thames & Hudson (Praeger in USA), ISBN 0500201463
- Fisher, Robert E., Buddhist art and architecture, 1993, Thames & Hudson, ISBN 0500202656
- Harle, J.C., The Art and Architecture of the Indian Subcontinent, 2nd edn. 1994, Yale University Press Pelican History of Art, ISBN 0300062176
- Rowland, Benjamin, The Art and Architecture of India: Buddhist, Hindu, Jain, 1967 (3rd edn.), Pelican History of Art, Penguin, ISBN 0140561021
- Shimada, Akira, Early Buddhist Architecture in Context:The Great Stūpa at Amarāvatī (Ca. 300 BCE-300 CE), Leiden: Brill, 2013, ISBN 9004233261, doi:10.1163/9789004233263