อนิรุทธ์คำฉันท์
อนิรุทธคำฉันท์ เป็นบทประพันธ์ไม่ปรากฏผู้แต่ง เพื่อแสดงความสามารถในการแต่งฉันท์เป็นเรื่องยาวให้สมบูรณ์ ลักษณะการแต่ง เป็นฉันท์ มีกาพย์และร่ายสุภาพปนอยู่ เป็นวรรณกรรมสมัยอยุธยา
อนิรุทธ์คำฉันท์ | |
---|---|
กวี | ไม่ปรากฏ |
ประเภท | นิทาน |
คำประพันธ์ | คำฉันท์ |
ยุค | อยุธยา |
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์ |
อนิรุทธคำฉันท์มาจากเรื่อง อุณรุท หรืออาณาจักรล้านนารู้จักในชื่อ อุสสาบารส ในอาณาจักรอยุธยา มีเรื่อง อุณรุท เผยแพร่เข้ามาในอาณาจักรอยุธยาก่อนที่จะมีการแต่งเรื่องอนิรุทธคำฉันท์ ดังพบหลักฐานในวรรณคดีเรื่องทวาทศมาสโคลงดั้นและสมุทรโฆษคำฉันท์
เดิมเชื่อกันว่าศรีปราชญ์เป็นผู้แต่ง เพราะมีผู้เขียนโดยเติมไว้ข้างท้ายว่า "ศรีปราชญ์ปัญญายง แต่งไว้" แต่การศึกษายุคหลังเชื่อว่าศรีปราชญ์ไม่มีตัวตนอาจเป็นไปได้ที่อนิรุทธ์คำฉันท์จะแต่งในสมัยเดียวกับสมุทรโฆษคำฉันท์เพราะสำนวนโวหารใกล้เคียงกันทั้งแนวนิยมด้านวรรณศิลป์และความเก่าใหม่ของภาษา[1]
ในสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศก็ยังแต่งเรื่องนี้กันอยู่ โดยแต่งเรื่องอุณรุทเป็นกลอนบทละครและใช้แสดงละครใน พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระราชนิพนธ์เรื่องอุณรุทเป็นบทละครใน เป็นบทละครตามเรื่องที่มีมาแต่โบราณ ดังปรากฏในข้อความว่า "ทรงไว้ ตามเรื่องโบราณ"[2]
อ้างอิง
แก้- ↑ "คำฉันท์ (4)".
- ↑ ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต. "เสน่ห์ของบทละครในเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช".