อคติเพราะเวลานำ

เวลานำ (อังกฤษ: Lead time) หมายถึงช่วงเวลาระหว่างการตรวจพบโรค (ปกติโดยใช้กฎเกณฑ์ใหม่หรือทำทดลอง) กับการพบและวินิจฉัยอาการ (ตามเกณฑ์ปกติ) เป็นระยะเวลาระหว่างการวินิจฉัยโรคที่อาศัยการการตรวจคัดโรค กับเวลาปกติที่จะวินิจฉัยโรคได้โดยไม่ได้ตรวจคัด เป็นปัจจัยสำคัญเมื่อประเมินประสิทธิภาพของการตรวจสอบหนึ่ง ๆ[1]

ความเอนเอียงเพราะเวลานำเกิดขึ้นเมื่อวิธีการตรวจสอบทำให้ดูเหมือนรอดชีวิตได้นานขึ้นโดยไม่ได้เปลี่ยนการดำเนินของโรค (บน) ลำดับเหตุการณ์เมื่อตรวจคัดโรค (ล่าง) ลำดับเหตุการณ์เมื่อตรวจพบโรคตามปกติ [Cancer onset=โรคมะเร็งเริ่มขึ้น, Cancer detected through screening=การตรวจคัดโรคพบโรคมะเร็ง, Lead time=เวลานำ, Perceived survival time=เวลารอดชีวิตที่รู้สึก/รู้เห็น, Cancer detected from symtoms=การตรวจพบโรคอาศัยอาการ]

การตรวจคัดโรคกับการรอดชีวิต แก้

จุดหมายของการตรวจคัดโรคก็เพื่อให้สามารถวินิจฉัยโรคได้เร็วกว่าเมื่อไม่ตรวจคัด เพราะการตรวจพบโรควิธีหลังจะช้ากว่าคือพบเมื่ออาการปรากฏ

แต่การวินิจฉัยได้เร็วโดยตรวจคัดโรค เช่น การตรวจดีเอ็นเอ อาจไม่ทำให้รอดชีวิตได้นานขึ้น เพียงแต่ตรวจพบแนวโน้มที่บุคคลจะเกิดโรค คนไข้อาจจะวิตกกังวลนานขึ้น เพราะรู้ตัวว่ามีโรคนานขึ้น ยกตัวอย่างเช่น โรคพันธุกรรมคือโรคฮันติงตัน ปกติแพทย์จะวินิจฉัยได้เมื่ออายุประมาณ 50 ปีเพราะอาการปรากฏ และคนไข้จะเสียชีวิตราวอายุ 65 ปี ดังนั้น คนไข้ทั่วไปจะมีชีวิตอยู่ได้ 15 ปีหลังจากวินิจฉัยโรค แต่การทดสอบยีนเมื่อคลอดอาจทำให้วินิจฉัยโรคนี้ได้เร็วกว่า ถ้าทารกเกิดใหม่จะเสียชีวิตราวอายุ 65 ปี ดังนั้น คนไข้ก็จะรอดชีวิต 65 ปีหลังวินิจฉัยโรค โดยไม่ได้รอดชีวิตได้นานกว่าผู้ที่วินิจฉัยโดยไม่ได้ตรวจยีน

ข้อมูลสถิติที่ไม่ได้กรองอาจทำให้การตรวจคัดโรคดูเหมือนจะเพิ่มเวลาที่รอดชีวิต (คือเพิ่มเวลานำ) เพราะถ้าบุคคลยังเสียชีวิตในช่วงอายุปกติ จริง ๆ ชีวิตของบุคคลนั้นก็ไม่ได้ยืนขึ้นแม้ตรวจพบโรคเร็วกว่า เพราะการตรวจพบโรคได้เร็ว ไม่ได้หมายความว่าจะรอดชีวิตได้นานขึ้น ดังนั้น ความเอนเอียงเพราะเวลานำอาจทำให้แปลความหมายข้อมูลทางสถิติ เช่น อัตรารอดชีวิตอย่างน้อย 5 ปี (five-year survival rate) ผิด ๆ[2]

ดูเพิ่ม แก้

เชิงอรรถและอ้างอิง แก้

  1. "Lead time bias". General Practice Notebook. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-06-30.
  2. Gordis, Leon (2008). Epidemiology. Philadelphia: Saunders. p. 318. ISBN 978-1-4160-4002-6.