หินแห่งความหิวโหย

หินแห่งความหิวโหย (เยอรมัน: Hungerstein) เป็นเครื่องหมายเด่นในน้ำประเภทหนึ่งที่พบได้ทั่วไปในยุโรปกลาง หินแห่งความหิวโหยทำหน้าที่เป็นอนุสรณ์และคำเตือนทุพภิกขภัย ทำขึ้นในเยอรมนีและบริเวณที่ตั้งถิ่นฐานของชาติพันธุ์เยอรมันทั่วยุโรปนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 ถึง 19

หินแห่งความหิวโหยในแม่น้ำเอ็ลเบอใกล้เมืองแจชีน ประเทศเช็กเกีย จารึกข้อความไว้ว่า "ไม่ต้องร้องหรอกเจ้าหนู ไม่ต้องคร่ำครวญ ถ้าน้ำมันแห้ง ก็รดน้ำในทุ่งเสียเถอะ" (เช็ก: Neplač holka, nenaříkej, když je sucho, pole stříkej)

หินเหล่านี้ถูกฝังไว้ตามลำน้ำในช่วงภัยแล้งเพื่อให้เป็นเครื่องหมายบอกระดับน้ำและเพื่อเตือนชนรุ่นหลังว่าจะต้องเผชิญกับความยากลำบากจากทุพภิกขภัยหากน้ำในลำน้ำลดลงถึงระดับนี้อีกครั้ง ตัวอย่างหินแห่งความหิวโหยที่มีชื่อเสียงอยู่ในแม่น้ำเอ็ลเบอที่เมืองแจชีน ประเทศเช็กเกีย ซึ่งจารึกข้อความว่า "ถ้าเจ้าเห็นเรา เจ้าจงร่ำไห้" (เยอรมัน: Wenn du mich siehst, dann weine) ไว้เป็นคำเตือน[1]

หินเหล่านี้หลายก้อนสลักขึ้นหลังเกิดทุพภิกขภัยครั้งใหญ่ปี 1816–1817 ซึ่งเกิดจากการปะทุของเขาตัมโบราในอินโดนีเซีย[2]

ในปี 1918 หินแห่งความหิวโหยก้อนหนึ่งที่ท้องน้ำเอ็ลเบอใกล้กับเมืองแจชีนผุดขึ้นในช่วงน้ำลดซึ่งตรงกับช่วงทุพภิกขภัยใหญ่เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง[3] หินแห่งความหิวโหยที่คล้ายกันยังผุดให้เห็นอีกในช่วงภัยแล้งในปี 2018[4] และในปี 2022[5]

อ้างอิง แก้

  1. Damonoske, Camila (2018-08-24). "Drought In Central Europe Reveals Cautionary 'Hunger Stones' In Czech River". NPR.org (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-08-28.
  2. Lederer, David. German History in Global and Transnational Perspective, Springer. Aug. 8, 2017. pp. 24
  3. Associated Press. "'Hunger Stone' appears," The New York Times. Aug. 1, 1918. pp. 1
  4. Dockrill, Peter. "Sinister 'Hunger Stones' With Dire Warnings Have Been Surfacing in Europe". Science Alert. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 August 2018. สืบค้นเมื่อ 28 August 2018.
  5. James, Liam (16 August 2022). "'If you see me, cry': Drought reveals 'hunger stones' in River Elbe historically used to forecast famine". The Independent (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2022-08-18.