หอคอยบาเบล
หอคอยบาเบล (อังกฤษ: Tower of Babel, ฮีบรู: מִגְדַּל בָּבֶל, Migdal Bāḇēl) เป็นเรื่องปรัมปราในหนังสือปฐมกาล (11:1-9) ประกอบด้วยคำอธิบายว่าทำไมประชากรโลกถึงพูดหลากหลายภาษา[1][2][3][4]
เชื่อว่า เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีจุดมุ่งหมายให้สูงไปถึงสวรรค์ เกิดจากความสามัคคีของมนุษย์ ภายหลังเหตุการณ์น้ำท่วมโลก จากลูกหลานของโนอาห์ ได้ขยายพงศ์พันธุ์แผ่ไพศาลออกไป แต่ทั่วทั้งโลกต่างพูดภาษาเดียวกัน และมีศัพท์สำเนียงเดียวกัน ผู้คนในยุคนั้นจึงได้ร่วมกันสร้างหอบาเบล โดยมีความมุ่งหมายเพื่อที่จะสร้างเป็นหอเทียมฟ้า สร้างชื่อเสียงไว้ และเป็นแหล่งรวมอารยธรรมของมนุษย์ไว้ด้วยกัน
การสร้างหอบาเบล เป็นการสร้างความภาคภูมิใจให้กับมนุษยชาติ ซึ่งความภาคภูมิใจนี้ ก็นำมาซึ่งความหยิ่งผยอง คิดท้าทายพระเจ้า ด้วยเหตุนี้ พระเจ้าจึงทรงบันดาลให้เกิดสายฟ้าผ่าทำให้หอคอยพังลง การก่อสร้างหอบาเบลจึงหยุดสร้าง
ในไบเบิล
แก้1 และทั่วแผ่นดินโลกมีภาษาเดียวและมีสำเนียงเดียวกัน
2 และต่อมาเมื่อพวกเขาเดินทางจากทิศตะวันออก พวกเขาก็พบที่ราบในแผ่นดินแห่งชินาร์และพวกเขาอาศัยอยู่ที่นั่น
3 และพวกเขาต่างคนต่างก็พูดกันว่า “มาเถิด ให้พวกเราทำอิฐและเผามันให้แข็ง” และพวกเขามีอิฐใช้แทนหินและมียางมะตอยใช้แทนปูนขาว
4 และเขาทั้งหลายพูดว่า “มาเถิด ให้พวกเราสร้างเมืองขึ้นเมืองหนึ่งและก่อหอคอยให้ยอดของมันไปถึงฟ้าสวรรค์ และให้พวกเราสร้างชื่อเสียงของพวกเราไว้ เกรงว่าพวกเราจะกระจัดกระจายไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก”
5 และพระเยโฮวาห์เสด็จลงมาทอดพระเนตรเมืองและหอคอยนั้นซึ่งบุตรทั้งหลายของมนุษย์ได้ก่อสร้างขึ้น
6 และพระเยโฮวาห์ตรัสว่า “ดูเถิด คนเหล่านี้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน และพวกเขาทั้งปวงมีภาษาเดียว และพวกเขาเริ่มทำเช่นนี้แล้ว และบัดนี้จะไม่มีอะไรหยุดยั้งพวกเขาได้ในสิ่งที่พวกเขาคิดจะทำ
7 มาเถิด ให้พวกเราลงไปและทำให้ภาษาของพวกเขาสับสนที่นั่น เพื่อไม่ให้พวกเขาพูดเข้าใจกันได้”
8 ดังนั้น พระเยโฮวาห์จึงทรงทำให้พวกเขากระจัดกระจายจากที่นั่นไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก และพวกเขาก็เลิกสร้างเมืองนั้น
9 เหตุฉะนั้น จึงเรียกชื่อเมืองนั้นว่า บาเบล เพราะว่าที่นั่นพระเยโฮวาห์ทรงทำให้ภาษาของทั่วทั้งแผ่นดินโลกสับสน และ ณ จากที่นั่นพระเยโฮวาห์ได้ทรงทำให้พวกเขากระจัดกระจายออกไปทั่วพื้นแผ่นดินโลก
— ปฐมกาล 11:1–9[5]
ชื่อ
แก้คำว่า "หอคอยบาเบล" ไม่ปรากฏในไบเบิลในภาษาฮีบรู ซึ่งใช้ "เมืองกับหอคอยนั้น" (אֶת-הָעִיר וְאֶת-הַמִּגְדָּל) หรือ "เมืองนั้น" (הָעִיר) ที่มาของ "บาเบล" (รวมถึงชื่อเมืองบาบิโลนในภาษาฮีบรูด้วย) ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน คาดกันว่าอาจมาจาก "บับ-อิลุม" (bab-ilum) ซึ่งแปลว่า "ประตูเข้าออกของพระเจ้า"[6] ในไบเบิลกล่าวว่า เมืองบาเบลได้ชื่อมาจากคำว่า "บาลัล" (balal) ซึ่งแปลว่า ทำให้ปนเปหรือสับสน ในภาษาฮีบรู[7]
อ้างอิง
แก้- ↑ Metzger, Bruce Manning; Coogan, Michael D (2004). The Oxford Guide To People And Places of the Bible. Oxford University Press. p. 28. ISBN 978-0-19-517610-0. สืบค้นเมื่อ 22 December 2012.
- ↑ Levenson, Jon D. (2004). "Genesis: Introduction and Annotations". ใน Berlin, Adele; Brettler, Marc Zvi (บ.ก.). The Jewish Study Bible. Oxford University Press. p. 29. ISBN 9780195297515.
The Jewish study Bible.
- ↑ Graves, Robert; Patai, Raphael (1986). Hebrew Myths: The Book of Genesis. Random House. p. 315. ISBN 9780795337154.
- ↑ Schwartz, Howard; Loebel-Fried, Caren; Ginsburg, Elliot K. (2007). Tree of Souls: The Mythology of Judaism. Oxford University Press. p. 704. ISBN 9780195358704.
- ↑ [ปฐมกาล 11:1–9 KJV]
- ↑ Day, John (2014). From Creation to Babel: Studies in Genesis 1-11. Bloomsbury Publishing. pp. 179–180. ISBN 978-0-567-37030-3.
- ↑ John L. Mckenzie (1995). The Dictionary of the Bible. Simon and Schuster. p. 73. ISBN 978-0-684-81913-6.