หลวงปู่กาหลง เตชวัณโณ

พระอธิการกาหลง เตชวณฺโณ

(กาหลง เตชวัณโณ)
ชื่ออื่นหลวงปู่กาหลง , หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว
ส่วนบุคคล
เกิด10 มกราคม พ.ศ. 2462 (90 ปี)
มรณภาพ11 กันยายน พ.ศ. 2552
นิกายมหานิกาย
ตำแหน่งชั้นสูง
ที่อยู่วัดเขาแหลม สระแก้ว
อุปสมบทพ.ศ. 2481
พรรษา71
ตำแหน่งอดีตเจ้าอาวาสวัดเขาแหลม

ประวัติ แก้

หลวงปู่กาหลง เดิมท่านเป็นชาวคลอง 7 ปทุมธานี เกิดเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2462 (นับแบบใหม่) มีพี่น้องทั้งหมด 4 คน ท่านเป็นบุตรคนโต โดยก่อนที่หลวงปู่ท่านจะเกิด ก็ได้เกิดนิมิตขึ้นมาดังนี้ มีชายคนหนึ่งชื่อ ลุงบาง กำลังออกหาปลา อาชีพของเขาในตอนนั้น ในตอนนั้นเขากำลังอยู่ใกล้บริเวณบ้านของหลวงปู่ ตอนนั้นท่านยังไม่เกิด ตอนนั้นลุงบางได้เห็นลูกไฟลูกหนึ่งลอยมาหน้าบ้านของหลวงปู่ ทันใดนั้นดวงไฟนั้นก็ได้กลายเป็นฤๅษี กำลังจูงเด็กน้อยเข้าไปในบ้านหลวงปู่ เมื่อแกเห็นเป็นเช่นนั้น แกจึงได้ยกมือไหว้ด้วยความเลื่อมใส และได้ตั้งจิตอธิษฐานว่า ถ้าเด็กในบ้านนี้เกิดเป็นผู้ชาย แกจะเลิกจับปลาเด็ดขาด ต่อมา ผู้หญิงผู้ชายในบ้านนี้ก็ได้คลอดลูกออกมาเป็นลูกชาย ตั้งชื่อให้ว่า กาหลง หลังจากนั้นลุงบางก็ได้เลิกหาปลาตามที่เขาได้สัญญาไว้ ในชีวิตวัยเยาว์ หลวงปู่ท่านเป็นผู้ที่มีใจฝักใฝ่ต่อพระพุทธศาสนา ท่านชอบไหว้พระ หรือเมื่อพ่อแม่ของท่านชวนท่านไปวัด ท่านก็จะไปวัดกับพ่อแม่เป็นประจำ ท่านชอบนั่งสมาธิภาวนาอยู่เป็นประจำ ในปี พ.ศ. 2481 ตอนนั้น ท่านมีอายุครบ 20 ปี บริบูรณ์ ท่านได้เข้าอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดนาบุญ คลอง 7 จังหวัดปทุมธานี ในวันที่ท่านบวช ลุงบางก็ได้เล่านิมิตที่ลุงบางได้เก็บมานานถึง 20 ปี ให้หลวงปู่ฟัง และหลังจากหลวงปู่ท่านอุปสมบทแล้ว ลุงบางก็ทำหน้าที่เป็นโยมอุปัฏฐาก คอยดูแลหลวงปู่อย่างใกล้ชิด หลังจากอุปสมบท ท่านก็ได้บวชเรียนและจำพรรษาที่ วัดนาบุญ และร่ำเรียนวิทยาคมกับ หลวงพ่อเนียม และ หลวงพ่อซึ้ง ท่านทั้ง 2 นี้เป็นกพระเกจิอาจารย์ชื่อดังจากวัดนาบุญ จนท่านมีความชำนาญในการเข้ากรรมฐาน และวิชาอาคมต่างๆ ต่อมาในปี พ.ศ. 2505 ท่านได้ย้ายไปจำพรรษาอยู่ ณ วัดน้ำซับ หลวงปู่ท่านได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ท่านได้สร้างโบสถ์หลายๆหลังขึ้นมาอีกมากมาย จากนั้น ท่านก็ได้ย้ายไปจำพรรษา ณ วัดเขาแหลม และเป็นเจ้าอาวาสวัดเขาแหลมในปี พ.ศ. 2513 [1] ท่านเคยไปปลุกเสกตามวัดต่างๆหลายต่อหลายวัดมีอยู่ครั้งหนึ่งที่ไปปลุกเสกร่วมกับ ลป.โต๊ะ หลังเสร็จพิธีการลป.โต๊ะถึงกับกล่าวและชี้มาที่ ลป.กาหลง หัยลพ.แช่มวัดนวลนรดิศและศิษย์ที่นั่งอยู่ฟังว่า "พระรูปนี้ชื่ออะไรอยู่วัดไหน ทำไมพลังอำนาจจิตถึงได้รุนแรงพิศดารแบบนี้ไม่เคยพบเห็นที่ไหนมาก่อน" หลวงปู่ท่านมีเขี้ยวแก้วอยู่ที่กลางเพดานปากเป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่ติดตัวท่านมาแต่เกิด หลวงปู่บอกว่าของดีนี้เกิดขึ้นเองและจะมีก็แต่บุคคลที่พิเศษจริง เช่น ของพระพุทธเจ้าเป็นต้นที่มี ถ้าเป็นขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็เรียกว่า พระเขี้ยวแก้ว แต่ของหลวงปู่ท่านเรียกว่า เขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นของดีเฉพาะตัวเฉพาะบุคคลเวลาใครไปกราบท่านแล้วให้ท่านปลุกเสกของท่านก็มักจะเอามือล้วงไปในปากท่านแตะที่เขี้ยวแก้วของท่านแล้วนำมาคลึง ที่พระหรือ ของที่มาให้ท่านปลุกเสกเป็นการเพิ่มพลังพุทธคุณ ท่านมักกล่าวอยู่เสมอว่า "ของๆฉันตั้งใจทำมากับมือต่อไปจะมีค่ายิ่งกว่าทองคำจะหายากยิ่งกว่าเพชร" ฉันทำเครื่องรางของขลังทั้งสักทั้งเสกเพื่อคุ้มครองชีวิตคนมาตั้งแต่ปี 2485 แต่ไม่เคยประกาศให้ใครรู้มีแต่บอกต่อกันแบบปากต่อปาก เมื่อก่อนใครจะมาเอาของๆฉันไปบูชาต้องแบกปืนมาลองด้วยถ้าฉันไม่แน่จริงฉันคงสร้างโบสถ์ได้ไม่ถึง8หลังหรอก คือว่าเมื่อก่อนท่านย้ายวัดไปหลายวัดท่านสร้างโบสถ์เสร็จท่านก็ย้ายไปจำวัดอื่น แล้วก็สร้างโบสถ์อีกเป็นแบบอยู่หลายวัด 8หลังแล้วที่ท่านสร้างมา [2] หลวงปู่กาหลง ท่านได้อาพาธตั้งแต่ต้นปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา และได้เข้ารักษาอาการอาพาธ ซึ่งท่านได้ตรวจพบเจอ มะเร็งที่ลำคอ ต่อมาอาการของหลวงปู่ท่านก็ได้ทรุดหนักลงจนกระทั่ง ท่านได้ถึงแก่มรณภาพลงอย่างสงบเมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2552 ณ โรงพยาบาลเปาโล รวมสิริอายุได้ 91 ปี บวชเรียนมา 71 พรรษา [3] หลังจากนั้นได้นำศพของท่านมาตั้งสวดพระอภิธรรมศพเป็นเวลา 7 คืน และสวดศพ 100 วัน จากนั้นได้นำศพของท่านนำบรรจุใส่โลงแก้ว ให้สาธุชนได้กราบไหว้ต่อไป

อ้างอิง แก้

  1. "ชีวประวัติ หลวงปู่กาหลง วัดเขาแหลม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-10-30. สืบค้นเมื่อ 2014-04-16.
  2. "การปฏิบัติธรรม วัตถุมงคล". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2014-04-16.
  3. "สิ้นแล้ว หลวงปู่กาหลง เขี้ยวแก้ว เจ้าอาวาสวัดเขาแหลม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-05. สืบค้นเมื่อ 2014-04-16.

แม่แบบ:พระสังฆาธิการเจ้าอาวาส