หมู่เกาะกิลเบิร์ต
หมู่เกาะกิลเบิร์ต (อังกฤษ: Gilbert Islands อดีตมีชื่อว่า คิงส์มิลล์ (Kingsmill) หรือ หมู่เกาะคิงส์มิลล์ (King's-Mill Islands);[2] คิริบาส: Tungaru)[3] เป็นกลุ่มอะทอลล์และเกาะปะการังรวม 16 เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ระหว่างปาปัวนิวกินีกับฮาวาย ส่วนใหญ่เป็นเกาะในประเทศคิริบาส เกาะสำคัญที่สุดได้แก่ เกาะตาราวา ที่เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดและเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงประเทศคิริบาส มีประชากรอาศัยอยู่เกือบครึ่งหนึ่งของประเทศ เกาะอื่น ๆ คือ บูตารีตารี อาไบอาง อาเบมามา ตาบีเตอูเอ โนโนอูตี และเบรู เกาะเหล่านี้มีประชากรอาศัยอยู่หนาแน่นมาเป็นเวลานาน
อาณานิคมหมู่เกาะกิลเบิร์ต อังกฤษ: Gilbert Islands | |||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ค.ศ. 1976–1979 | |||||||||
เมืองหลวง | เซาท์ตาราวา | ||||||||
ภาษาทั่วไป | อังกฤษ, กิลเบิร์ต | ||||||||
การปกครอง | อาณานิคมของสหราชอาณาจักร | ||||||||
กษัตริย์ | |||||||||
• 1976-1979 | เอลิซาเบธที่ 2 | ||||||||
ผู้ว่าการ | |||||||||
• 1976-1978 | จอห์น ฮิลารี สมิธ | ||||||||
• 1978-1979 | เรจินัลด์ เจมส์ วอลเลซ | ||||||||
ประวัติศาสตร์ | |||||||||
• อาณานิคม | 1 มกราคม ค.ศ.[1] ค.ศ. 1976 | ||||||||
• สิ้นสุด | 12 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 | ||||||||
ประชากร | |||||||||
• ค.ศ. 1978 | 56,213 | ||||||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์ออสเตรเลีย | ||||||||
| |||||||||
ปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของ | คิริบาส |
อ้างอิง
แก้- ↑ W. David McIntyre. "The Partition of the Gilbert and Ellice Islands" (PDF). Island Studies Journal, Vol. 7, No. 1, 2012. pp. 135–146. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2017-12-02. สืบค้นเมื่อ 24 October 2020.
- ↑ Very often, this name applied only to the southern islands of the archipelago, the northern half being designated as the Scarborough Islands. Merriam-Webster's Geographical Dictionary. Springfield, Massachusetts: Merriam Webster, 1997. p. 594
- ↑ Reilly Ridgell. Pacific Nations and Territories: The Islands of Micronesia, Melanesia, and Polynesia. 3rd. Ed. Honolulu: Bess Press, 1995. p. 95.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Gilbert Islands
- The Battle for Tarawa, Appendix G
- . สารานุกรมบริตานิกา ค.ศ. 1911 (11 ed.). 1911.