หมู่บ้านน้ำริดใต้

หมู่บ้านในตำบลน้ำริด อำเภอเมืองอุตรดิตถ์ จังหวัดอุตรดิตถ์ ประเทศไทย

หมู่บ้านน้ำริดใต้ หรือ บ้านใต้ เป็นหมู่บ้านหนึ่งในตำบลน้ำริด อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ ชาวบ้านส่วนใหญนับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง มีโรงเรียน 1 แห่ง ด้านเศรษฐกิจ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่

หมู่บ้านน้ำริดใต้
ป้ายหมู่บ้านน้ำริดใต้ ถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
ป้ายหมู่บ้านน้ำริดใต้ ถ่ายเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559
หมู่บ้านน้ำริดใต้ตั้งอยู่ในจังหวัดอุตรดิตถ์
หมู่บ้านน้ำริดใต้
หมู่บ้านน้ำริดใต้
พิกัด: 17°40′34″N 100°07′19″E / 17.676215°N 100.121886°E / 17.676215; 100.121886
อักษรโรมันBan Nam Rit Tai
จังหวัดอุตรดิตถ์
อำเภอเมืองอุตรดิตถ์
ตำบลน้ำริด
การปกครอง
 • ผู้ใหญ่บ้านศักดิ์สิทธิ์ สุขมั่น
ประชากร
 • ทั้งหมด1,262 คน
รหัสไปรษณีย์53000

ปัจจุบันหมู่บ้านน้ำริดใต้ อยู่ในระดับการปกครองพื้นที่มีหมู่เดียว จำนวนสี่ร้อยกว่าหลังคาเรีอน ปัจจุบันมีนายศักดิ์สิทธิ์ สุขมั่น เป็นผู้ใหญ่บ้านน้ำริดใต้[1]

ประวัติ แก้

ความเป็นมาชื่อหมู่บ้าน แก้

บ้านน้ำริดใต้ เป็นคำที่มาจากคำว่า “น้ำฤทธิ์” ซึ่งมีประวัติความเป็นมาจากในช่วงของสมัยปราบกบฏเงี้ยวเมืองแพร่ กองทัพสยามจากกรุงเทพ นำทัพโดยแม่ทัพใหญ่ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) ขณะเดินทัพมาถึง จ.อุตรดิตถ์ เมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2445 เพื่อไปปราบพวกกบฏเงี้ยวก่อการจลาจลที่เมืองแพร่ จึงได้ยกทัพมาต้านกองทัพเงี้ยวเอาไว้ ณ บริเวณเขาพลึง และได้อาศัยน้ำจากคลองริดเป็นแหล่งน้ำที่ใช้ อุปโภค – บริโภค ซึ่งในช่วยของการสู้รบกันนั้น ทหารของทัพเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เกิดหมดแรง แต่เมื่อดื่มน้ำจากคลองริดแล้ว ทำให้มีเรี่ยวแรงมีฤทธิ์ขึ้นมาจากทำให้สามารถสู้รบเอาชนะกองทัพเงี้ยวได้ในที่สุด จึงเรียกว่า “คลองฤทธิ์” กันเรื่อยมา ต่อมาการออกเสียงคำว่า “ฤทธิ์” จึงค่อย ๆ กลายมาเป็นคำว่า “ริด” และใช้คำนี้สืบต่อกันเรื่อยมาจนปัจจุบัน[1]

พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ แก้

 
บ้านเรือนภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านน้ำริดใต้ในปัจจุบัน

น้ำริด เดิมตั้งอยู่ในอำเภอลับแล ชาวบ้านที่อยู่ในตำบลน้ำริดบางส่วนเป็นคนภายในพื้นที่ บางส่วนมาจากอำเภอลับแล และบางส่วนก็อพยพมาจากจังหวัดแพร่ อันเนื่องมาจากภัยสงคราม ต่อมามีลูกหลาน มีประชากรเพิ่มมากขึ้น จึงได้ก่อตั้งมาเป็นแหล่งชุมชนจนถึงปัจจุบันและได้นำชื่อคลองมาตั้งเป็นตำบลน้ำริด และใช้ชื่อนี้มาเป็นชื่อตำบลจนถึงปัจจุบัน ปัจจุบันตำบลน้ำริดมีทั้งหมด 10 หมู่บ้าน

โดยหมู่บ้านน้ำริดใต้ หมู่ 1 นั้น เริ่มก่อตั้งมาตั้งแต่เมื่อใด ไม่มีหลักฐานปรากฏแน่ชัด ชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนมีถิ่นกำเนิดอยู่ที่นี่ อาศัยอยู่บริเวณริมฝั่งคลอง ประกอบอาชีพการเกษตรเป็นหลัก หลังจากที่กองทัพของเจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสงชูโต) เสร็จศึกจากการปราบกองทัพเงี้ยวแล้วนั้น ทหารบางส่วนที่ได้ยกทัพกลับไป บางส่วนก็ได้สร้างหลักปักฐานอยู่บริเวณบ้านน้ำริดแห่งนี้[1]

สภาพด้านสังคม แก้

 
ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการทอผ้าของชุมชนบ้านน้ำริดใต้ในปัจจุบัน

บ้านน้ำริดใต้ มีการบริการขั้นพื้นฐาน ถนน น้ำริด-หัวดง ตัดผ่านชุมชน การเดินทางสะดวก และอยู่ห่างจากอำเภอเมืองอุตรดิตถ์ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร มีการบริการขนส่งสาธารณะ มีรถสองแถวประจำทางผ่านตลอดสาย ส่วนการขนส่งผลผลิตการเกษตรนิยมใช้รถไทยแลนด์และรถปิคอัพ เข้าสู่ตลาดหรือแหล่งรับซื้อผลผลิตทางการเกษตร มีสถานบริการเพื่อความสะดวกสำหรับประชาชน เช่น ตู้โทรศัพท์สาธารณะ ที่ทำการไปรษณีย์ หอกระจายข่าว ระบบสาธารณูปโภคทั้งไฟฟ้า น้ำประปา ใช้ครอบทุกครัวเรือน มีตลาดสด และมีแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อใช้ในการอุปโภคด้านต่าง ๆ ได้แก่ คลองริด คลองหวาย คลองผึ้ง และคลองโป่ง นอกจากนี้ยังมีสนามกีฬาซึ่งเป็นสถานที่ออกกำลังกายสำหรับเยาวชน และผู้สูงอายุ[1]

สภาพภูมิศาสตร์ แก้

บ้านน้ำริดใต้ ตั้งอยู่ไกลจากตัวเมืองอุตรดิตถ์ประมาณ 8.6 กิโลเมตร มีแหล่งน้ำสำคัญคือคลองริดที่ไหลลสสู่แม่น้ำน่าน มีเส้นทางคมนาคมที่สำคัญคือทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 11 ถนน รพช และถนนลาดยาง เป็นเส้นทางหลัก โดยทั่วไปหมู่บ้านน้ำริดใต้ส่วนใหญ่ของประชากรเป็นพื้นที่ทำนา และพืชไร่เล็กๆ

บ้านน้ำริดใต้ มีอาณาเขตติดต่อกับหมู่บ้านใกล้เคียงดังนี้[1]

  1. ทิศเหนือ บ้านน้ำริดเหนือ หมู่ที่ 2 ตำบลน้ำริดอำเภอเมืองอุตดิตถ์
  2. ทิศตะวันออก ตำบลงิ้วงาม อำเภอเมืองอุตดิตถ์
  3. ทิศใต้ ตำบลท่าเสา อำเภอเมืองอุตดิตถ์
  4. ทิศตะวันตก บ้านไร่ หมู่ที่ 10 ตำบลน้ำริด และตำบลฝายหลวง อำเภอลับแลอำเภอเมืองอุตรดิตถ์

การปกครอง แก้

ทำเนียบผู้ปกครองหมู่บ้านน้ำริดใต้จากอดีตจนถึงปัจจุบัน[1]

  1. ขุนวารีฤทธิ์ดำรง ระหว่าง พ.ศ. 2483 ถึง พ.ศ. 2498
  2. ผู้ใหญ่ทอง ปาลาศ ระหว่างพ.ศ. 2499 ถึง พ.ศ. 2505
  3. ผู้ใหญ่ปา แก้วเปี้ย ระหว่างพ.ศ. 2506 ถึง พ.ศ. 2509
  4. กำนันปา แก้วเปี้ย ระหว่างพ.ศ. 2510 ถึง พ.ศ. 2518
  5. ผู้ใหญ่สนิท แก้วเปี้ย ระหว่างพ.ศ. 2519 ถึง พ.ศ. 2528
  6. ผู้ใหญ่ถนอม แก้วเปี้ย ระหว่างพ.ศ. 2529 ถึง พ.ศ. 2533
  7. ผู้ใหญ่ปราโมทย์ เทพประเสริฐ ระหว่าง พ.ศ. 2533 ถึง พ.ศ. 2551
  8. ผู้ใหญ่ศักดิ์สิทธิ์ สุขมั่น ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 ถึงปัจจุบัน

เศรษฐกิจ แก้

บ้านน้ำริดใต้ มีพื้นที่ทำการเกษตรเป็นส่วนใหญ่ ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นหลัก นอกจากนั้นยังต้องอาศัยคลองริดที่ไหลผ่านหมู่บ้าน ช่วยในการทำนา ปลูกพืชไร่ ประชากรในพื้นที่ส่วนใหญ่จึงมีฐานะยากจน มีอาชีพหลัก 2 ประเภท คือ อาชีพเกษตรกรรมและทำสวน รับจ้างทั่วไป การประกอบอาชีพทางการกษตรได้แก่ การปลูกข้าวและปลูกถั่ว ส่วนอาชีพรับจ้าง จะเป็นการรับจ้างขึ้นต้นลางสาดจะเป็นประเภทการรับจ้างรายวัน[1]

วัฒนธรรมประเพณี แก้

ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธเถรวาท ประเพณีต่างๆ ยึดถือปฏิบัติเหมือนกันกับชาวพุทธเถรวาทในแถบใกล้เคียง เช่น บวชพระ ประเพณีแต่งงาน งานศพ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีวันลอยกระทง ประเพณีกองข้าวเปลือก ฯลฯ[1]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 พระธนกร กิตฺติวณฺโณ และพระมหาเทวประภาส วชิรญาณเมธี. (๒๕๕๙). โครงการบันทึกข้อมูลท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์ภูมิปัญญาไทย จังหวัดอุตรดิตถ์. อุตรดิตถ์ : หน่วยวิทยบริการวัดหมอนไม้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.