หนานจิงฟูจื่อเมี่ยว

วัดขงจื้อในหนานจิง ประเทศจีน

หนานจิงฟูจื่อเมี่ยว (จีน: 南京夫子庙; พินอิน: Nánjīng fūzǐmiào) หรือ ฟูจื่อเมี่ยว (จีน: 夫子庙; แปลตรงตัว: "วิหารขงจื๊อ") เป็นวิหารขงจื๊อและอดีตโถงสอบของหลวงตั้งอยู่ในตอนใต้ของนครหนานจิง ริมฝั่งทางเหนือของแม่น้ำฉินหฺวาย ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของนครหนานจิง พื้นที่โดยรอบนี้ยังถือเป็นศูนย์กลางลัทธิขงจื๊อของหนานจิง ในปัจจุบันโดยรอบได้รับการปรับสภาพเป็นถนนการค้า ฟูจื่อเมี่ยวถือเป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกในจีน และเป็นหนึ่งในสี่วิหารวรรณกรรมที่สำคัญของจีน ในจีนโบราณ ฟูจื่อเมี่ยวเป็นทั้งศูนย์กลางทางวัฒนธรรม วิทยาการ และประวัติศาสตร์ ที่มีความสำคัญทั้งในหนานจิงและในบรรดาแคว้นแถบตะวันออกเฉียงใต้[1]

ฟูจื่อเมี่ยว
ชื่อในภาษาท้องถิ่น
จีน: 南京夫子庙
ศาลาขุยกวาง/ขุยซิง (魁光阁/魁星阁)
ที่ตั้งถนนก้งเยวี่ยน (贡院街) หนานจิง ประเทศจีน
พิกัด32°01′21″N 118°47′02″E / 32.022579°N 118.783786°E / 32.022579; 118.783786
สร้างเมื่อ
  • หลังเดิม: ค.ศ. 1034
  • หลังปัจจุบัน: คริสต์ศตวรรษที่ 19

ในสมัยราชวงศ์จิ้น เมื่อ ค.ศ. 317 ได้มีการสถาปนามหาวิทยาลัยหลวงหนานจิงขึ้นบนฝั่งทางเหนือของแม่น้ำฉินหฺวาย และใน ค.ศ. 337 ได้มีการขยายวิทยาเขตไปถึงฝั่งใต้ของแม่น้ำ วิหารขงจื๊อนี้สร้างขึ้นภายในวิทยาเขตใน ค.ศ. 384 แต่ต่อมาถูกเพลิงไหม้ทำลายลงในสมัยราชวงศ์ซ่งใต้[2] และได้รับการสร้างขึ้นใหม่ที่จุดเดิมใน ค.ศ. 1034 ในสมัยราชวงศ์ซ่ง[3][4] และได้รับสถานะกลับเป็นมหาวิทยาลัยหลวงอีกครั้งใน ค.ศ. 1365 สมัยราชวงศ์หมิงตอนต้น อาคารหลังปัจจุบันนี้สร้างขึ้นในศตวรรษที่ 19 ในสมัยราชวงศ์ชิง หลังการปฏิวัติซินไฮ่เมื่อ ค.ศ. 1911 วิหารสิ้นสุดสถานะการสนับสนุนจากหลวง และนับตั้งแต่ปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ถึง ค.ศ. 1932 ถูกแปรสภาพมาเป็นคลังแสงให้กับก๊กมินตั๋ง และถูกทิ้งในสภาพทรุดโทรม บางอาคารถูกแปรสภาพเป็นหอศิลป์[5] การบูรณะเริ่มต้นใน ค.ศ. 1985 กลับสู่สภาพเดิม

ใน ค.ศ. 2010 ฟูจื่อเมี่ยวได้รับสถานะสถานที่ท่องเที่ยวระดับห้าเอของรัฐบาลจีน[6] และมีนักท่องเที่ยวเยี่ยมชมตลอดทั้งปี โดยเฉพาะในฤดูร้อน ส่วนในฤดูหนาวมีการจัดเทศกาลโคมฉินหฺวาย[7]

ฟูจื่อเมี่ยวสามารถเข้าถึงได้ทางรถไฟใต้ดินหนานจิง สาย 1 สถานีซานชานเจีย ทางออกที่ 3

อ้างอิง แก้

  1. "Confucius Temple of Protection Association of China 南京夫子庙_中国孔庙保护协会". www.kmbhxh.cn.
  2. Zhou, Wei (2016). Chen, R.; Wu, J.; Xiao, F. (บ.ก.). "Construction of traditional cultural tour landscape field based on city memory--Taking Nanjing Fuzimiao (Confucius Temple) Qinhuai Scenic Area as an example". SHS Web of Conferences. 24: 01005. doi:10.1051/shsconf/20162401005. ISSN 2261-2424. S2CID 131732010.
  3. Fuzimiao
  4. Nanjing Fuzimiao
  5. Krug, Hans Joachim (*1893); Wanderungen und Wandlungen in China; Berlin 1941 (Scherl), p. 44-5, 53 (based on a visits 1930-3)
  6. Zhou, Wei (2016). "Construction of traditional cultural tour landscape field based on city memory--Taking Nanjing Fuzimiao (Confucius Temple) Qinhuai Scenic Area as an example" (PDF). EDP Sciences. 24: 01005. doi:10.1051/shsconf/20162401005.
  7. "Confucius Temple ( Fuzimiao ) Nanjing". www.visitourchina.com. สืบค้นเมื่อ 2019-12-05.