หนังสือโต๊ะกาแฟ

หนังสือโต๊ะกาแฟ (อังกฤษ: Coffee table book) คือหนังสือปกแข็งขนาดใหญ่ที่มีจุดประสงค์หนึ่งในการพิมพ์คือใช้วางบนโต๊ะกาแฟหรือในบริเวณที่เป็นที่รับรองแขก เพื่อจะให้เป็นสิ่งดูสวยและต้องตาผู้เห็นหรือช่วยในการนำบทสนทนาแก้ความเบื่อ ขนาดของหนังสือมักจะใหญ่กว่าปกติเพราะไม่ใช่เป็นหนังสือที่ผู้อ่านจะตั้งใจอ่านอย่างจริงจัง หรือที่ต้องนำเคลื่อนไปตามที่ต่าง ๆ หัวข้อของหนังสือก็จะเป็นประเภทสารคดี และมักจะเป็นประเภทที่เตะตาทั้งการออกแบบภายนอกและการวางรูปแบบของเนื้อหาภายใน ส่วนใหญ่มักจะเป็นหนังถือเกี่ยวกับศิลปะหรือการท่องเที่ยว เช่นหนังสือรวมภาพถ่ายของศิลปินคนสำคัญ หนังสือเกี่ยวกับสถาปัตยกรรมลักษณะใดลักษณะหนึ่ง หรือของเมืองใดเมืองหนึ่ง หรือ หนังสือรวบรวมงานศิลปะของพิพิธภัณฑ์ หรือหัวเรื่องเบา ๆ อื่น ๆ จุดประสงค์ของหนังสือเป็นหนังสือประเภทเบาฉะนั้นการวินิจฉัยถ้ามี ก็มักจะง่ายสั้นและไม่ใช้ศัพท์เฉพาะทางเท่าใดนัก ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้จึงทำให้หนังสือโต๊ะกาแฟได้รับการดูแคลนว่าเป็นหนังสือประเภทที่มีเนื้อหาผิวเผิน

หนังสือโต๊ะกาแฟ บนโต๊ะกาแฟ

ในด้านที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ หนังสือโต๊ะกาแฟมักจะทำเป็นสมุดบันทึกที่มีปัญหาทางคณิตศาสตร์และทฤษฎีบท ที่ได้รับความสนใจจากที่ประชุมที่จัดการประชุมในเรื่องเฉพาะเหล่านั้น หรือมีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับความสนใจทางวิทยาศาสตร์ทั่วไป หนึ่งในสมุดที่มีชื่อที่สุดคือ หนังสือสก็อต (The Scottish Book, โปแลนด์: Księga Szkocka) ในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 และ 1940 ที่ถูกใช้เพื่อบันทึกการช่วยกันแก้ปัญหาคณิตศาสตร์โดยบรรดานักคณิตศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย ลวิว (Lviv) แทนการเขียนลงบนหน้าโต๊ะกาแฟโดยตรง[1]

ประวัติ แก้

ในสหราชอาณาจักรคำว่า "หนังสือโต๊ะกาแฟ" ถูกนำมาใช้ (ในความหมายปัจจุบัน) อย่างน้อยที่สุดตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 19[2] และยังคงใช้อยู่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950[3]

เริ่มต้นในช่วงปลายทศวรรษที่ 1940 ผู้จัดพิมพ์ อัลเบิร์ต สกิรา (Albert Skira) และอีกสองสามรายเช่น Cailler and Editions Tisné; Éditions Mazenod และ แฮรี่ เอ็น แอบรัมส์ (Harry N. Abrams) เริ่มผลิตหนังสือขนาดใหญ่สี่หน้ายกและแปดหน้ายก (4to) ซึ่งเป็นหนังสือเกี่ยวกับศิลปะที่มีภาพประกอบเป็นหน้าสีแทรก สำหรับจำหน่ายในต่างประเทศเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีความสำคัญในการพัฒนาหนังสือโต๊ะกาแฟให้เป็นที่รู้จักกันในทุกวันนี้[4][5][6]

นักรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อม เดวิด อาร์. เบราเออร์ (David R. Brower) บางครั้งก็ได้รับเกียรติว่าเป็นผู้ประดิษฐ์หนังสือโต๊ะกาแฟสมัยใหม่[7] ขณะที่เบราเออร์เป็นผู้อำนวยการบริหารของ เซียร์รา คลับ (Sierra Club) ก็เกิดความคิดที่จะพิมพ์หนังสือชุดหนึ่งที่รวมภาพถ่ายและบทเขียนเกี่ยวกับธรรมชาติอย่างที่ให้ “ขนาดของหน้าใหญ่พอที่จะแสดงไดนามิคของภาพ ที่ทำให้สายตาที่ทอดมองต้องสอดส่ายไปตามเนื้อหาของภาพ แทนที่จะมองรวดเดียวจบ” หนังสือเล่มแรกในชุดนี้ชื่อ "This is the American Earth" (นี่คือปฐพีของสหรัฐ) โดยมีภาพที่ถ่ายโดย แอนเซิล แอดัมส์ (Ansel Adams) ช่างถ่ายภาพผู้มีชื่อเสียงของสหรัฐอเมริกาและผู้อื่น และเนื้อหาที่เขียนโดยนักวิพากษ์ภาพถ่าย แนนซี นิวฮอลล์ (Nancy Newhall) หนังสือพิมพ์ขึ้นในปี ค.ศ. 1960 และชุดหนังสือเรียกกันว่าชุด “รูปแบบนิทรรศน์” (Exhibit Format) ที่มีด้วยกันทั้งชุด 20 เล่ม[8]

ในวัฒนธรรมสมัยนิยม แก้

“หนังสือโต๊ะกาแฟ” ได้รับการนำมาล้อเลียนในวัฒนธรรมสมัยนิยมหลายครั้ง

  • ในคริสต์ทศวรรษ 1980 ดาราตลกชาวสหราชอาณาจักรสองคน เมล สมิธ และ กริฟริส โจนส์ ปรากฏในรายการ “The lavishly-tooled Smith and Jones Coffee Table Book”[9] — มีการออกแบบที่ดูเหมือนว่าหนังสือจะใช้เป็นโต๊ะกาแฟได้
  • ในฤดูกาลที่ห้า (ค.ศ. 1993 – ค.ศ. 1994) ของซิทคอม ไซน์เฟลด์ (Seinfeld) ตอนหนึ่งเป็นเรื่องของตัวละคร เครมเมอร์ หรือ คอสโมส ผู้เกิดความคิดที่จะเขียนหนังสือชื่อ "Coffee Table Book about Coffee Tables" (หนังสือโต๊ะกาแฟเกี่ยวกับโต๊ะกาแฟ) ความคิดของ คอสโมส คือจะให้เป็นหนังสือที่ด้านหลังมีขาสี่ขาที่กางออกมาได้ และด้านหน้าก็จะมีจานรองแก้วสำเร็จรูปอยู่บนปก ซึ่งทำให้หนังสือเองสามารถทำเป็นโต๊ะกาแฟด้วยในตัว

อ้างอิง แก้

  1. Raikhel, Yuri (1 April 2010). "Scottish Book: Lviv's mathematical relic". День. สืบค้นเมื่อ 17 November 2011.
  2. Journal of the Royal Asiatic Society of Great Britain & Ireland - Google Books. Books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2014-03-28.
  3. Drama: The Quarterly Theatre Review - Google Books. Books.google.co.uk. สืบค้นเมื่อ 2014-03-28.
  4. Chilvers, Ian and John Glaves-Smith (2015) A Dictionary of Modern and Contemporary Art (3 ed.). Oxford University Press. ISBN 9780191792229 https://www.oxfordreference.com/view/10.1093/oi/authority.20110803100510260 (accessed 25 August 2019)
  5. Dufrêne, Bernadette (2002) L'édition d'art des années 1950-1970 : des promesses non tenues ? ,Communication et langages. No. 134, 4 ème trimestre 22-38 pp. [Dufrêne, Bernadette (2002). The Art Edition of the 1950s and 1970s: Unfulfilled Promises? Communication and Languages, 134(4): 22-38.]
  6. Corisande Evesque. Albert Skira et ses livres d’art (1948-1973). Histoire. 2015. ffdumas-01256888. PDF: https://dumas.ccsd.cnrs.fr/dumas-01256888/document (accessed 25 August 2019)
  7. "Harold Wood Presentation on H.R. 2715 - LeConte Memorial Lodge". Sierraclub.org. 2003-11-15. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2012-10-06. สืบค้นเมื่อ 2014-03-28.
  8. "Natural Visions - Nature on the Coffee Table".
  9. Jones, Griff Rhys; McGrath, P. R.; Anderson, Clive (1986). The lavishly-tooled Smith and Jones Coffee Table Book. ISBN 0-006371-23-X.