ส.ค.ส. ย่อมาจาก ส่งความสุข เป็นบัตรอวยพรที่ส่งให้กันเนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ สมัยก่อนชาวไทยนิยมส่งถึงกันเป็นจำนวนมาก ทำให้ในช่วงปีใหม่ไปรษณีย์จะมีภาระส่ง ส.ค.ส. จำนวนมาก แต่ปัจจุบันเริ่มมีการส่ง ส.ค.ส. อิเล็กทรอนิกส์บ้าง

ประวัติของ ส.ค.ส. เริ่มต้นขึ้นในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 ชาวเยอรมัน พบแม่พิมพ์แผ่นไม้ ทำเป็นภาพรูปบ้าน รูปพระเยซูในวัยเยาว์ พร้อมคำอวยพรว่า "Ein gut selig jar" หมายถึง "ปีที่ดีและมีสุข" ต่อมาชาวอังกฤษพัฒนารูปแบบ บัตรอวยพร ให้สวยงาม เพิ่มสีสันมากขึ้น

ส.ค.ส.แผ่นแรกของไทยเริ่มใน พ.ศ. 2409 หรือ ค.ศ. 1866 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์โปรดให้ทำขึ้นเพื่อพระราชทานคณะทูตานุทูต ข้าราชบริพาร และมิตรสหายชาวต่างประเทศ เนื่องในวาระวันขึ้นปีใหม่สากล เมื่อวันจันทร์ที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2409 ตามที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ เดอะ บางกอก รีคอร์ดเดอร์ ของหมอบรัดเลย์ ฉบับวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2409

ในระยะแรก ลักษณะ ส.ค.ส. ขนาดเล็กเท่านามบัตรปรากฏเฉพาะชื่อ ผู้ส่ง ตำแหน่ง และปีพ.ศ. เท่านั้น ตัวอักษร มีทั้งตัวพิมพ์ เขียนด้วยลายมือ ยุคต่อมามีขนาดใหญ่ขึ้นเท่าโปสต์การ์ด หรืออาจใหญ่กว่า เป็นภาพวาดสีน้ำ มีสีสัน ลวดลายงดงาม ส่วนใหญ่เป็นภาพดอกไม้ ผลไม้ และสัตว์ ส่วนคำอวยพร มีทั้งเป็นร้อยแก้ว ร้อยกรอง ใช้คำที่แปลกออกไปจากปัจจุบันบ้าง เช่นคำว่า "ศุข" แทนคำว่า "สุข" คำว่า "รฤก" แทนคำว่า "ระลึก" และใช้คำว่า "ถ.ค.ส." เพื่อ "ถวายความสุข" แด่พระมหากษัตริย์ เป็นต้น นอกจากส.ค.ส. อวยพรวันปีใหม่ไทย ยังปรากฏบัตรอวยพรเนื่องในวันตรุษฝรั่ง วันที่ 25 ธันวาคม หรือ วันคริสต์มาส และวันขึ้นปีใหม่สากล 1 มกราคม

นับแต่ปี พ.ศ. 2530 พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจะทรงมอบ ส.ค.ส. พระราชทานให้แก่ปวงชนชาวไทย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร เสด็จขึ้นทรงราชย์ ก็พระราชทาน ส.ค.ส. เช่นเดียวกับในรัชสมัยของรัชกาลที่ 9 เพียงแต่ ส.ค.ส. จะแปลงเป็นบัตรอวยพร[โปรดขยายความ]

อ้างอิง แก้

แหล่งข้อมูลอื่น แก้