สูตรที่ 6 แห่งปริสวรรค

สูตรที่ 6 แห่งปริสวรรค เป็นหัวข้อธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสถึงบุคคล 2 จำพวก ว่าด้วยบริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน โดยความที่ทรงตรัสถึงบุคคล หรือข้อธรรม 2 ข้อ จึงจัดอยู่ในทุกนิบาต หรือหมวดข้อธรรม 2 หัวข้อ ซึ่งพระสูตรนี้เป็นสูตรไม่ปรากฏชื่อ เนื่องจากเป็นการจัดหัวข้อธรรมตามหมวดที่เข้ากัน อันเป็นลักษณะของอังคุตรนิกาย ซึ่งเป็นหมวดของพระสูตรที่พระสังคีติกาจารย์รวบรวมและจัดลำดับเข้าไว้ด้วยกัน ตามจำนวนหัวข้อธรรมเป็นสำคัญ [1]

ที่มาและลำดับแห่งพระสูตร แก้

พระสูตรนี้ และอีกหลายพระสูตรในเอกนิบาตและทุกนิบาต ในอังคุตตรนิกาย สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสไว้ ณ พระวิหารเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ใกล้พระนครสาวัตถี แล้วทรงตรัสข้อธรรมท้งหลายแก่พระภิกษุ [2] ไล่เรียงข้อธรรมมาเป็นลำดับ ตามลำดับข้อธรรมที่มี 1 หัวข้อ จนถึงหัวข้อธรรมที่มี 2 หัวข้อหรือ ทุกนิบาต อันนประกอบไปด้วย ปฐมปัณณาสก์ ทุติยปัณณาสก์ และตติยปัณณาสก์ ซึ่งปริสวรรคนี้ จัดอยู่ในปฐมปัณณาสก์ มีทั้งหมด 5 วรรค ในปริสวรรคมีสูตรทั้งหมด 10 สูตร สูตรที่ว่าด้วย "บริษัทที่ดื้อด้าน และไม่ดื้อด้าน" อยู่ในลำดับที่ 7 อยู่ในลำดับที่ 292 นับแต่พระสูตรแรกในเอกนิบาต ส่วนในพระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา อยู่ในลำดับที่ 48 แห่งทุกนิบาต

เนื้อหา แก้

เนื้อหาภาษาบาลี แก้

‘‘เทฺวมา, ภิกฺขเว, ปริสาฯ กตมา เทฺว? โอกฺกาจิตวินีตา ปริสา โนปฏิปุจฺฉาวินีตา, ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตาฯ กตมา จ, ภิกฺขเว, โอกฺกาจิตวินีตา ปริสา โนปฏิปุจฺฉาวินีตา? อิธ, ภิกฺขเว, ยสฺสํ ปริสายํ ภิกฺขู เย เต สุตฺตนฺตา ตถาคตภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตรา สุญฺญตาปฏิสํยุตฺตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ น สุสฺสูสนฺติ น โสตํ โอทหนฺติ น อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ น จ เต ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติฯ เย ปน เต สุตฺตนฺตา กวิตา [กวิกตา (สพฺพตฺถ) ฎีกา โอโลเกตพฺพา] กาเวยฺยา จิตฺตกฺขรา จิตฺตพฺยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาสิตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ สุสฺสูสนฺติ โสตํ โอทหนฺติ อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ, เต ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติ, เต จ ตํ ธมฺมํ ปริยาปุณิตฺวา น เจว อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ น จ ปฏิวิจรนฺติ – ‘อิทํ กถํ, อิมสฺส โก อโตฺถ’ติ? เต อวิวฎเญฺจว น วิวรนฺติ, อนุตฺตานีกตญฺจ น อุตฺตานีกโรนฺติ, อเนกวิหิเตสุ จ กงฺขาฐานิเยสุ ธเมฺมสุ กงฺขํ น ปฏิวิโนเทนฺติฯ อยํ วุจฺจติ, ภิกฺขเว, โอกฺกาจิตวินีตา ปริสา โน ปฏิปุจฺฉาวินีตาฯ [3]

เนื้อหาภาษาไทย แก้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกนี้ ๒ จำพวกเป็นไฉน? คือบริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ ๑ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้าน ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำเป็นไฉน? ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถอันลึกล้ำ เป็นโลกุตระ ปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ไม่ตั้งใจฟังให้ดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียนท่องขึ้นใจ แต่เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีได้รจนาไว้ เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก ซึ่งสาวกได้ภาษิตไว้ ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึง อนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ไม่สอบสวน ไม่เที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นไม่เปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ไม่ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และไม่บรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่าบริษัทดื้อด้านไม่ได้รับการสอบถามแนะนำ [4]

เนื้อหาภาษาบาลี แก้

‘‘กตมา จ, ภิกฺขเว, ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตา? อิธ, ภิกฺขเว, ยสฺสํ ปริสายํ ภิกฺขู เย เต สุตฺตนฺตา กวิตา กาเวยฺยา จิตฺตกฺขรา จิตฺตพฺยญฺชนา พาหิรกา สาวกภาสิตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ น สุสฺสูสนฺติ น โสตํ โอทหนฺติ น อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ, น จ เต ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติฯ เย ปน เต สุตฺตนฺตา ตถาคตภาสิตา คมฺภีรา คมฺภีรตฺถา โลกุตฺตรา สุญฺญตาปฏิสํยุตฺตา เตสุ ภญฺญมาเนสุ สุสฺสูสนฺติ โสตํ โอทหนฺติ อญฺญา จิตฺตํ อุปฎฺฐเปนฺติ, เต จ ธเมฺม อุคฺคเหตพฺพํ ปริยาปุณิตพฺพํ มญฺญนฺติฯ เต ตํ ธมฺมํ ปริยาปุณิตฺวา อญฺญมญฺญํ ปฏิปุจฺฉนฺติ ปฏิวิจรนฺติ – ‘อิทํ กถํ, อิมสฺส โก อโตฺถ’ติ? เต อวิวฎเญฺจว วิวรนฺติ, อนุตฺตานีกตญฺจ อุตฺตานีกโรนฺติ, อเนกวิหิเตสุ จ กงฺขาฐานิเยสุ ธเมฺมสุ กงฺขํ ปฏิวิโนเทนฺติฯ อยํ วุจฺจติ, ภิกฺขเว, ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตาฯ อิมา โข, ภิกฺขเว, เทฺว ปริสาฯ เอตทคฺคํ, ภิกฺขเว, อิมาสํ ทฺวินฺนํ ปริสานํ ยทิทํ ปฏิปุจฺฉาวินีตา ปริสา โนโอกฺกาจิตวินีตา’’ติฯ [5]

เนื้อหาภาษาไทย แก้

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำไม่ดื้อด้านเป็นไฉน? ภิกษุในบริษัทใดในธรรมวินัยนี้ เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่กวีรจนาไว้เป็นคำกวี มีอักษรวิจิตร มีพยัญชนะวิจิตร มีในภายนอก เป็นสาวกภาษิต ไม่ตั้งใจฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูลงสดับ ไม่เข้าไปตั้งจิตไว้เพื่อจะรู้ทั่วถึงอนึ่ง ภิกษุเหล่านั้นไม่เข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ แต่ว่า เมื่อผู้อื่นกล่าวพระสูตรที่ตถาคตภาษิตไว้ ซึ่งลึกล้ำ มีอรรถลึกล้ำ เป็นโลกุตระปฏิสังยุตด้วยสุญญตธรรม ย่อมตั้งใจฟังเป็นอย่างดี เงี่ยหูลงสดับ เข้าไปตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่วถึง และภิกษุเหล่านั้นย่อมเข้าใจธรรมที่ตนควรเล่าเรียน ท่องขึ้นใจ ภิกษุเหล่านั้นเรียนธรรมนั้นแล้ว ย่อมสอบสวนเที่ยวไต่ถามกันและกันว่า พยัญชนะนี้อย่างไร อรรถแห่งภาษิตนี้เป็นไฉน ภิกษุเหล่านั้นย่อมเปิดเผยอรรถที่ลี้ลับ ทำอรรถที่ลึกซึ้งให้ตื้น และบรรเทาความสงสัยในธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความสงสัยหลายอย่างเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัทนี้เรียกว่า บริษัทผู้ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน ดูกรภิกษุทั้งหลาย บริษัท ๒ จำพวกเหล่านี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาบริษัท ๒ จำพวกนี้ บริษัทที่ได้รับการสอบถามแนะนำ ไม่ดื้อด้าน เป็นเลิศ ฯ [6]

ข้อวิจารณ์ แก้

สูตรที่ 7 แห่งปริสวรรค ในปฐมปัณณาสก์ ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย หรือบางทีได้รับการอ้างอิงในรูป "ทุก.อํ.20/92/292" ได้รับความสนใจ และถูกกอ้างอิงโดยพุทธศาสนิกชนบางกลุ่ม โดยอธิบายว่า "พาหิรกา สาวกภาสิตา" หมายถึงคำสอนของพระสวากในพระพุทธศาสนา และเสนอว่า ควรจะสดับแต่พุทธวจนะ ไม่ควรสดับและเล่าเรียนคำสอนของพุทธสาวก การตีความนี้ทำให้เกิดความขัดแย้งกับพุทธศาสนิกชนอื่นๆ ที่เห็นว่า เป็นการตีความที่ไม่ถูกต้อง และยืนยันว่า "พาหิรกา สาวกภาสิตา" ในพระสูตรนี้หมายถึง สาวกในศาสนาอื่นนอกพุทธศาสนา ในประเด็นข้อนี้ ได้มีพระเถระร่วมสมัยได้อธิบายในลักษณะเดียวกับพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากอรรถาธิบายในมโนรถปูรณี อารรถกถาอธิบายความในอังคุตตรนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก จะพบว่า พระพุทธโฆสะเป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์มโนรถปูรณีขึ้น ได้อธิบายไว้อย่างชัดเจนว่า "พาหิรกา สาวกภาสิตา" หมายถึง ภาษิตของสาวกนอกพระศาสนา โดยมีข้อความดังนี้

กวิตาติ กวีหิ กตาฯ อิตรํ ตเสฺสว เววจนํฯ [7]

บทว่า กาเวยฺยา นอกนี้เป็นไวพจน์ของบทว่า กวิกตา นั้นเอง. [8]

จิตฺตกฺขราติ วิจิตฺรอกฺขราฯ อิตรํ ตเสฺสว เววจนํฯ [9]

บทว่า จิตฺตกฺขรา แปลว่า มีอักษรวิจิตร. บทว่า จิตฺตพฺยญฺชนา นอกนี้ เป็นไวพจน์ของบทว่า จิตฺตกฺขรา นั้นเหมือนกัน. [10]

พาหิรกาติ สาสนโต พหิภูตาฯ [11]

บทว่า พาหิรกา ได้แก่ เป็นสุตตันตะนอกพระศาสนา.[12]

สาวกภาสิตาติ เตสํ เตสํ สาวเกหิ ภาสิตาฯ [13]

บทว่า สาวกภาสิตา ได้แก่ ที่พวกสาวกของพาหิรกศาสดาเหล่านั้นกล่าวไว้. [14]

อ้างอิง แก้

  1. สารธรรมที่น่าศึกษาในอังคุตตรนิกาย ใน "ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก"
  2. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 1 หน้า 1
  3. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  4. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 408
  5. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  6. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 408
  7. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  8. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410
  9. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  10. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410
  11. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  12. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410
  13. พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  14. พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2 หน้าที่ 409 - 410

บรรณานุกรม แก้

  • พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับฉัฏฐสังคายนา ปริสวโคฺค ทุกนิปาตปาฬิ องฺคุตฺตรนิกาย สุตฺตปิฎก
  • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 1
  • พระไตรปิฎกฉบับมหามกุฏราชวิทยาลัย ปริสวรรค เปฐมปัณณาสก์ เอกนิบาต-ทุกนิบาต อังคุตตรนิกาย พระสุตตันตปิฎก เล่ม 1 ภาค 2
  • สารธรรมที่น่าศึกษาในอังคุตตรนิกาย ใน "ความสำคัญและการรักษาพระไตรปิฎก" บทความของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เผยแพร่ใน http://www.mcu.ac.th/mcutrai/menu2/Article/article_12.htm#top เก็บถาวร 2014-02-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน