สุสานหลวงหมิงหวง

(เปลี่ยนทางจาก สุสานหลวงหมิงห่วง)

สุสานหลวงหมิงหวง หรือ หมิงหวงหลิ่ง (จีน: 明皇陵; พินอิน: Míng huáng líng) เป็นสุสานหลวง ที่สร้างขึ้นโดยจักรพรรดิหงอู่ จักรพรรดิผู้ก่อตั้งราชวงศ์หมิง เพื่อฝังพระบรมศพของพระราชชนกสมเด็จพระจักรพรรดิชุ่น และพระราชชนีสมเด็จพระจักรพรรดินีชุ่น ตั้งอยู่ทางใต้ของอำเภอเฟิ่งหยาง นครชูโจว (滁州) ในมณฑลอานฮุย อยู่ห่างออกไป 7 กิโลเมตร

สุสานหลวงหมิงหวง
明皇陵
แผนที่
ข้อมูลทั่วไป
ประเภทสุสานหลวง
ที่ตั้งอำเภอเฟิ่งหยางในมณฑลอานฮุย
เมืองนครชูโจว (滁州)
ประเทศ จีน
พิกัด32°48′44″N 117°31′16″E / 32.81222°N 117.52111°E / 32.81222; 117.52111
เริ่มสร้างในสมัยรัชศกจื้อเจิ้งปี 26 แห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1909)
ปรับปรุงรัชศกหงหวู่ปีที่ 12 (พ.ศ. 1922)
ในกำกับดูแลของฝ่ายบริหารมรดกวัฒนธรรมแห่งชาติ

ในปี พ.ศ. 2525 สุสานหลวงหมิงหวง โดยสภาแห่งรัฐของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรมที่สำคัญภายใต้การคุ้มครองระดับชาติ (全国重点文物保护单位)[1]

ประวัติการก่อสร้างและการบูรณะ แก้

ในสมัยรัชศกจื้อเจิ้งปี 4 แห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1887) เกิดภัยแล้งและโรคระบาดครั้งใหญ่ในหวยเป่ย (淮北) ทำให้ จู ชื้อเจิน, ท่านหญิงเฉิน และ จู ซิงหลง เสด็จสวรรคต เพื่อนบ้านนามว่า หลิ่ว จี้จู๋ (刘继祖) ยอมสละที่ดินให้ฝังพระบรมศพ ปัจจุบันคือสุสานหลวงหมิงหวง[2]

สุสานหลวงหมิงห่วงถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในสมัยรัชศกจื้อเจิ้งปี 26 แห่งราชวงศ์หยวน (พ.ศ. 1909) โดยจักรพรรดิหงอู่เมื่อได้ขึ้นเป็นกษัตริย์แห่งหวู่ (吴王) ได้สั่งให้ หวัง เหวิน (汪文) และคนอื่น ๆ เดินทางไปที่เฮาโจว เพื่อซ่อมแซมสุสานของพระราชชนกและพระราชชนนี ในระหว่างการก่อสร้างสุสานหลวง จู หยวนจาง ได้ไปสักการะสุสานหลวงอยู่หลายครั้ง

รัชศกหงหวู่ปีที่ 2 (พ.ศ. 1912) จู หยวนจางออกคำสั่งให้สร้างเมืองจงตูในบ้านเกิดของเขา ในเวลาเดียวกัน เขายังสั่งให้ปรับปรุงสุสานหลวงใหม่

รัชศกหงหวู่ปีที่ 8 (พ.ศ. 1918) ได้รับการบูรณะ

รัชศกหงหวู่ปีที่ 12 (พ.ศ. 1922) ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่

รัชศกหย่งเล่อปีที่ 1 (พ.ศ. 1946) ได้รับการบูรณะ

รัชศกหย่งเล่อปีที่ 6 (พ.ศ. 1951) ได้รับการบูรณะ

รัชศกหย่งเล่อปีที่ 11 (พ.ศ. 1956) ได้รับการบูรณะ

รัชศกเจิ้งถงปีที่ 4 (พ.ศ. 1982) ได้รับการบูรณะ

รัชศกจิ่งไท่ปีที่ 5 (พ.ศ. 1997) ได้รับการบูรณะ

รัชศกเทียนชุ่นปีที่ 1 (พ.ศ. 2000) ได้รับการบูรณะ

รัชศกเฉิงฮว่าปีที่ 23 (พ.ศ. 2030) ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่

รัชศกเจียจิ้งปีที่ 10 (พ.ศ. 2074) ได้รับการบูรณะครั้งใหญ่

รัชศกเจียจิ้งปีที่ 14 (พ.ศ. 2078) ได้รับการบูรณะ

รัชศกฉงเจินปีที่ 8 (พ.ศ. 2178) ได้รับการบูรณะ

ในช่วงต้นราชวงศ์ชิง รัฐบาลอนุญาตให้ประชาชนรื้อถอนอาคารอื่น ๆ ได้ตามต้องการ เมื่อถึงสมัยเฉียนหลง อาคารทั้งหมดในสุสานหลวงหมิ่งห่วงได้รับความเสียหาย ยกเว้นศิลาทั้งสอง ร่างหิน และม้า หลังจากนั้นอนุสาวรีย์ที่ไม่มีเครื่องหมายก็พังทลายลงมาและแตกออกเป็นสี่ส่วน ส่วนประกอบของอิฐ ก็ค่อย ๆ ย้ายไปใช้งานอื่นโดยผู้คนที่ตั้งถิ่นฐานใกล้เคียง หลังการปฏิวัติ ปี พ.ศ. 2454

ในช่วงสงครามต่อต้านญี่ปุ่น ผู้บุกรุกชาวญี่ปุ่นตัดต้นสนและต้นไซเปรสในสุสาน เปลี่ยนสุสานอันเขียวชอุ่มให้กลายเป็นเนินดินที่ว่างเปล่าและความรกร้าง พื้นที่สุสานทั้งหมดถูกใช้เป็นพื้นที่เพาะปลูกสำหรับเกษตรกรและฟาร์มสุสานของจักรพรรดิที่เข้ามาก่อนและหลังการก่อตั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน รูปปั้นหินบางส่วนถูกสร้างขึ้นและถูกทำลายอย่างโหดร้ายในช่วง "การปฏิวัติวัฒนธรรม"

หลังจากปี พ.ศ. 2525 หน่วยงานจัดการโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมได้ก่อตั้งขึ้นในเมืองจงตูและสุสานหลวงหมิ่งห่วงเพื่อปกป้องสิ่งแวดล้อมโดยรอบ

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 สำนักงานจัดการโบราณวัตถุวัฒนธรรมอำเภอเฟิ่งหยาง ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันโบราณวัตถุวัฒนธรรมและโบราณคดีประจำจังหวัดอันฮุย และพิพิธภัณฑ์ประจำจังหวัดอันฮุย ได้ดำเนินการบูรณะงานแกะสลักหินของสุสานหลวงอย่างครอบคลุมอย่างต่อเนื่อง โดยได้ทำความสะอาดรากฐานของเพื่อฟื้นฟูสุสานหลวง

ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2546 ถึงเดือนกันยายน พ.ศ. 2547 เนื่องจากลมและฝนกัดเซาะ อนุสาวรีย์ทั้งที่มีและไม่มีตัวอักษรจึงถูกผุกร่อนอย่างรุนแรง เพื่อที่จะปกป้องโบราณวัตถุทางวัฒนธรรมได้ดียิ่งขึ้น และป้องกันความเสียหายเพิ่มเติมต่อศิลา สถาบันโบราณคดีอันฮุยได้บูรณะศาลาศิลาทั้งที่มีและไม่มีตัวอักษรเหมือนเดิม[3] [4] [5] [6]

ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2558 อำเภอเฟิ่งหยางได้เริ่มงานบูรณะป้องกันงานแกะสลักหินของสุสานหลวงหมิ่งห่วง[7]

อ้างอิง แก้