สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป

ในการคอมพิวเตอร์ สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป (อังกฤษ: desktop environment) หรือ DE คือ ระบบที่มีแนวคิดมาจากการอุปลักษณ์เดสก์ท็อป โดยจะประกอบไปด้วยกลุ่มโปรแกรมที่ทำงานบน ระบบปฏิบัติการ ที่ใช้ ส่วนต่อประสานกราฟิกกับผู้ใช้ (GUI) ร่วมกัน บางครั้งสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป ก็ถูกเรียกว่า เชลล์กราฟิก สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อปจะพบเห็นได้บน คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล เป็นส่วนใหญ่ จนกระทั่งมีอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพิ่มมากขึ้น

เส้นเวลาโดยสังเขปของ สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป ที่ได้รับความนิยมในกลุ่มระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ (โลโก้แบบสีขาวดำระบุว่าเริ่มพัฒนาเมื่อใหร่ ส่วนโลโก้สีระบุว่าได้เปิดตัวเวอร์ชันแรกเมื่อใหร่

แม้ว่าเดิมทีคำว่า สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป จะใช้อธิบายลักษณะของส่วนต่อประสานกับผู้ใช้ ตามการอุปลักษณ์เดสก์ท็อป แต่ต่อมาก็ใช้คำนี้ในการกล่าวถึงชุดของโปรแกรมที่ทำงานตามหลักการอุปลักษณ์เดสก์ท็อปนั้นด้วย [1] ชุดของโปรแกรมที่มักถูกเรียกว่า สิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อป มีตัวอย่างเช่น เอกซ์เอฟซีอี, เคดีอีพลาสมา และ กะโนม

สำหรับไมโครซอฟท์ วินโดวส์นั้น มักเรียกสิ่งแวดล้อมเดสก์ท็อปที่แถมมากับระบบปฏิบัติการ(อย่างไม่เป็นทางการ) ว่า แอโร (en:Windows Aero)

แกลเลอรี่

แก้

อ้างอิง

แก้
  1. "Window managers and desktop environments – Linux 101". clemsonlinux.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-07-04.