สิ่งมีชีวิตหลัก

(เปลี่ยนทางจาก สิ่งมีชีวิตคีย์สโตน)

ชนิดหลัก (อังกฤษ: Keystone species) เป็นสายพันธุ์สิ่งมีชีวิต (สปีชีส์) ที่มีผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ และระบบนิเวศ เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรของมัน สายพันธุ์ดังกล่าวมีบทบาทสำคัญ ในการรักษาโครงสร้างของชุมชนระบบนิเวศ ทำให้มีผลต่อสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อีกมากมายในระบบนิเวศ และมีบทบาทในการกำหนดประเภทและจำนวนของสายพันธุ์อื่น ๆ ในชุมชน. สายพันธุ์คีย์สโตนเป็นพืชหรือสัตว์ ที่มีบทบาทสำคัญเป็นเอกลักษณ์ สำหรับการทำงานและคงอยู่ของระบบนิเวศ หากไม่มีสายพันธุ์คีย์สโตน ระบบนิเวศก็จะผันแปรไปอย่างคาดไม่ถึง หรืออาจถึงขนาดสูญสิ้นไปเลยก็ได้. สายพันธุ์คีย์สโตนบางสายพันธุ์ เป็นผู้ล่าอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหาร เช่น หมาป่าสีเทา แต่ก็มีบางสายพันธุ์ที่ทำหน้าที่อื่น เช่น เป็นสายพันธุ์สมชีพ (symbiont) ร่วมกับสายพันธุ์อื่น

เสือจาร์กัว เป็นทั้งสายพันธุ์คีย์สโตน, สายพันธุ์ให้ร่มเงา, และเป็นผู้ล่าอันดับบนสุดของห่วงโซ่อาหาร

แนวคิด (มโนทัศน์) ในเรื่องสายพันธุ์คีย์สโตน ถูกนำเสนอเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1969 โดยนักสัตว์วิทยา โรเบิร์ต ที. เพน (Robert T. Paine)[1] เพื่ออธิบายถึงสายพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางจำพวก ซึ่งการโต้ตอบกับสภาพแวดล้อมของมันมีผลกระทบแบบบนลงล่าง (top-down effect) ต่อความหลากหลายทางสายพันธุ์ และการแข่งขันในระบบนิเวศของกลุ่ม อย่างใหญ่หลวงเมื่อเทียบกับมวลชีวภาพของมัน.[2] คำว่า "คีย์สโตน" เป็นคำอุปมาที่ยืมมาจากสถาปัตยกรรมประตูหินโค้ง (archway) ที่ต้องมีประแจหิน (keystone) เสียบอยู่บนยอดเพื่อให้โครงสร้างทั้งหมดคงอยู่ได้ ด้วยน้ำหนักของกันและกัน แนวคิดเรื่องคีย์สโตนจึงมีความคาบเกี่ยวกับ แนวคิดว่าด้วยความสัมพันธุ์ระหว่างระบบนิเวศ-สายพันธุ์อื่น ๆ เช่น สายพันธุ์ให้ร่มเงา (umbrella species)[3]

อ้างอิง แก้

  1. Paine, R. T. (1995). "A Conversation on Refining the Concept of Keystone Species". Conservation Biology. 9 (4): 962–964. doi:10.1046/j.1523-1739.1995.09040962.x.
  2. Davic, Robert D. (2003). "Linking Keystone Species and Functional Groups: A New Operational Definition of the Keystone Species Concept". Conservation Ecology. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2003-08-26. สืบค้นเมื่อ 2011-02-03.
  3. Maehr, David; Noss, Reed F.; Larkin, Jeffery L. (2001). Large Mammal Restoration: Ecological And Sociological Challenges In The 21St Century. Island Press. p. 73. ISBN 978-1-55963-817-3.