สารเคลือบเซลล์[1][2][3][4] (Extracellular matrix , ECM) เป็นผลิตภัณฑ์อย่างหนึ่งของเซลล์ซึ่งพบอยู่ที่บริเวณรอบนอกของเซลล์สัตว์ สารเคลือบเซลล์นั้นมีส่วนสำคัญในการค้ำจุนโครงสร้างของเซลล์ นอกจากนี้ยังทำหน้าที่ที่สำคัญต่างๆอีกมากมาย ซึ่งถ้าสารเคลือบเซลล์เกิดความผิดปกติขึ้นก็อาจทำให้เซลล์นั้นเกิดความผิดปกติตามไปด้วยและอาจนำไปสู่การเกิดมะเร็งในที่สุด

สารเคลือบเซลล์
Illustration depicting extracellular matrix (basement membrane and interstitial matrix) in relation to epithelium, endothelium and connective tissue
รายละเอียด
ตัวระบุ
ภาษาละตินmatrix extracellularis
MeSHD005109
THH2.00.03.0.02001
อภิธานศัพท์กายวิภาคศาสตร์

สารเคลือบเซลล์นั้นจะถูกคัดหลั่งออกมาจากตัวเซลล์และไฟโบรบลาสท์ (fibrobrast) หรือเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissus) ที่แทรกอยู่ระหว่างเซลล์ ซึ่งสารที่คัดหลั่งออกมานั้นจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ ได้แก่ สารประกอบเชิงซ้อนของโพลีแซคคาไรด์กับโปรตีนที่มีชื่อว่า ไกลโคซามิโนไกลแคนส์ (Glycosaminoglycans,GAGs) สารนี้จะมีคุณสมบัติในการดูดซับน้ำได้ จึงทำให้สารเคลือบเซลล์นั้นมีลักษณะคล้ายเจล และองค์ประกอบสำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ โปรตีนเส้นใย (Fibrous proteins) ได้แก่ คอลลาเจน(collagen) อีลาสติน(elastin) ไฟโบรเนกติน(fibronectin) และ ลามินิน(laminin) เป็นต้น ซึ่งโปรตีนเส้นใยเหล่านี้จะมีการเชื่อมโยงกับโปรตีนต่างๆในเซลล์ด้วย

สารเคลือบเซลล์นั้นจะพบมากในบริเวณเนื้อเยื่อเกี่ยวพันซึ่งปรากฏในหลายรูปแบบ เช่น กระดูก(bone) ฟัน(teeth) กระจกตา(cornea) เอ็นที่ยึดระหว่างปลายมัดของกล้ามเนื้อกับกระดูก(tendons) เป็นต้น แต่จะพบได้น้อยในเนื้อเยื่อประเภทเนื้อเยื่อสมองและไขสันหลังเนื่องจากเนื้อเยื่อนั้นติดกันแน่น

หน้าที่ของสารเคลือบเซลล์

แก้

สารเคลือบเซลล์นั้นมีหน้าที่สำคัญหลายประการ เช่น เป็นโครงที่ประกบกับเซลล์ช่วยในการค้ำจุนโครงสร้างทางกายภาพของเนื้อเยื่อ มีบทบาทต่อพฤติกรรมของเซลล์ในการรับรู้สิ่งต่างๆนำไปสู่การตอบสนอง เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อการอยู่รอดของเซลล์คือเปรียบเสมือนเป็นสิ่งแวดล้อมของเซลล์ เป็นสิ่งที่มีผลต่อพัฒนาการของเซลล์ คือ สามารถกระตุ้นให้เซลล์สามารถเกิดการเปลี่ยนรูปร่างไปทำหน้าที่เฉพาะอย่างได้ และนอกจากนี้ยังเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนย้ายเซลล์ ซึ่งจะอาศัยสารเคลือบเซลล์เป็นตัวช่วยในการจดจำว่าเป็นเซลล์พวกเดียวกันหรือไม่ จากนั้นจึงจะเกิดการรวมกลุ่มกันของเซลล์ชนิดเดียวกันกลายเป็นเนื้อเยื่อและนำไปสู่การสร้างอวัยวะในที่สุด การเพิ่มจำนวนเซลล์ก็เช่นกัน สารเคลือบเซลล์นั้นจะเป็นสัญญาณที่คอยบอกว่าเซลล์สมควรที่จะเพิ่มจำนวนหรือไม่ เป็นต้น ถ้าหากว่าเซลล์นั้นไม่มีสารเคลือบเซลล์ เซลล์อาจจะไม่สามารถสื่อสารกันได้

เชิงอรรถและอ้างอิง

แก้
  1. รศ. ลัดดา เอกสมทราเมษฐ์. "Cell Struture and Function". คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-10-05. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.{{cite web}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "โครงสร้างและหน้าที่ของเซลล์". Pure's app. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18. Cell coat อีกชื่อ extracellular matrix (ECM)
  3. "extracellular matrix ใน ไทย". Glosbe. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-18. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18. สารเคลือบเซลล์ A structure lying external to one or more cells, which provides structural support for cells or tissues.
  4. "สารเคลือบเซลล์ผิวคืออะไร". Eduzones. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-06-13. สืบค้นเมื่อ 2018-06-18.