สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด

สารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด (อังกฤษ: Protein Z-dependent protease inhibitor หรือ ZPI) เป็นโปรตีนที่พบในกระแสเลือดของมนุษย์ ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานของแฟคเตอร์ Xa และ XI ในกระบวนการจับลิ่มของเลือด ถูกถอดรหัสได้จากยีน SERPINA10 บนโครโมโซมคู่ที่ 14 โดย ZPI จัดเป็นโปรตีนในกลุ่มสารยับยั้งซีรีนโปรตีเอส (เซอร์ปิน) เคลดเอ

โครงสร้างผลึกของสารยับยั้งโปรตีเอสชนิดพึ่งโปรตีนแซด (สีแดง) ขณะเกิดสารประกอบเชิงซ้อนอยู่กับโปรตีนแซด (สีน้ำเงิน).
ข้อมูลจากธนาคารข้อมูลโปรตีน: 3F1S
ตัวบ่งชี้
สัญลักษณ์SERPINA10
Entrez51156
HUGO15996
OMIM605271
RefSeqNM_016186
UniProtQ9UK55
ข้อมูลเพิ่มเติม
โลคัสChr. 14 q32.1

ในขั้นตอนการออกฤทธิ์ เพื่อให้ ZPI สามารถต้านการทำงานของเอนไซม์เป้าหมายได้อย่างเต็มที่ จำเป็นต้องอาศัยโปรตีนแซดเพื่อให้ช่วยในการเกิดปฏิกิริยา จึงเป็นที่มาของการกำหนดชื่อโปรตีนชนิดนี้ ซึ่งโปรตีนแซดดังกล่าวก็จัดเป็นโปรตีนอีกชนิดหนึ่งที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกระบวนการจับลิ่มของเลือด โดยจะออกฤทธิ์ต้านการทำงานของแฟคเตอร์ X

ZPI มีน้ำหนักโมเลกุลประมาณ 72 กิโลดัลตัน ถูกสร้างขึ้นที่ตับ โครงสร้างประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำนวน 444 มอนอเมอร์ ถูกค้นพบครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1998 ระหว่างการศึกษาการทำงานของโปรตีนแซด[1] และสามารถจำลองโครงสร้างได้สำเร็จในปี ค.ศ. 2000[2] และมีการศึกษาทางคลินิกที่พบว่า ภาวะพร่อง ZPI มีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ (thrombophilia) โดยพบผู้ที่มีความผิดปกติของ ZPI ในกลุ่มผู้ป่วยภาวะลิ่มเลือดอุดหลอดเลือดดำ (venous thromboembolism) มากถึงร้อยละ 4.4[3]

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. Han X, Fiehler R, Broze GJ (August 1998). "Isolation of a protein Z-dependent plasma protease inhibitor". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 95 (16): 9250–5. doi:10.1073/pnas.95.16.9250. PMC 21324. PMID 9689066.
  2. Han X, Fiehler R, Broze GJ (November 2000). "Characterization of the protein Z-dependent protease inhibitor". Blood. 96 (9): 3049–55. doi:10.1182/blood.V96.9.3049. PMID 11049983.
  3. Van de Water N, Tan T, Ashton F, O'Grady A, Day T, Browett P, Ockelford P, Harper P (October 2004). "Mutations within the protein Z-dependent protease inhibitor gene are associated with venous thromboembolic disease: a new form of thrombophilia". British Journal of Haematology. 127 (2): 190–4. doi:10.1111/j.1365-2141.2004.05189.x. PMID 15461625.

แหล่งข้อมูลอื่น แก้