สัปดาห์ทอง (ญี่ปุ่น)

สัปดาห์ทอง (ญี่ปุ่น: ゴールデンウィークโรมาจิGōrudenwīku; อังกฤษ: Golden Week) เป็นสัปดาห์ที่ประกอบไปด้วยวันหยุดราชการหลายวันในสัปดาห์เดียวกันในประเทศญี่ปุ่น โดยปกติแล้วจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 29 เมษายน จนถึง 5 พฤษภาคม[1] ในระยะเวลาของสัปดาห์ทอง ชาวญี่ปุ่นจะออกท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศ โรงแรม ห้องพัก เครื่องบิน และรถไฟจะเต็มไปด้วยผู้คนที่เดินทางออกสู่ต่างจังหวัด ทำให้เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นในช่วงสัปดาห์ทองนั้นคึกคักกว่าปกติ[2][3] ในปี ค.ศ. 2019 ถือเป็นปีที่มีสัปดาห์ทองที่ยาวนานที่สุดถึง 10 วันตั้งแต่การถือกำเนิดของสัปดาห์ทอง[4] แต่ในปี 2020 จากสถานการณ์การระบาดทั่วของโควิด-19 ในประเทศญี่ปุ่นส่งผลให้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินทั่วประเทศ การท่องเที่ยวทั้งในประเทศและต่างประเทศจึงซบเซามากกว่าปีก่อน ๆ[5][6][7]

สัปดาห์ทอง
ชื่อทางการゴールデンウィーク (โกรุเด็นวีกุ)
ชื่ออื่น黄金週間 (โอกงชูกัง)
大型連休 (โอกาตะเร็นกีว)
ประเภทวันหยุดราชการ
การถือปฏิบัติธงของประเทศญี่ปุ่น ญี่ปุ่น
วันที่29 เมษายน – 5 พฤษภาคม
ส่วนเกี่ยวข้อง

ประวัติ แก้

หลังจากการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติวันหยุดราชการในปี 1948 ที่กำหนดวันหยุดราชการทั้ง 9 วัน[8] แต่ในพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีการเอ่ยถึงชื่อ "โกลเด้นวีค" เลย หนึ่งในทฤษฎีที่มาของชื่อคือช่วงเวลาสัปดาห์วันหยุดติดต่อกันสร้างรายได้มหาศาลให้กับภาพยนตร์เรื่อง จิยู กักโก ของบริษัทไดเอ ฟิล์ม กรรมการบริหารของบริษัทดังกล่าว ฮิเดโอะ มัตสึยามะจึงตั้งชื่อช่วงเวลาสัปดาห์นี้ว่า โกลเด้นวีค (Golden Week)[9][10] ที่เขาได้ดัดแปลงจากคำที่บอกถึงช่วงเวลาคนฟังวิทยุมากที่สุด เรียกว่า โกลเด้นไทม์ (Golden Time)[6] ส่วนอีกหนึ่งทฤษฎีกล่าวว่าช่วงปลายเดือนเมษายนจนถึงต้นเดือนพฤษภาคมที่มาร์โก โปโลได้เขียนบันทึกการเดินทางของเขาสู่ประเทศญี่ปุ่นไว้ว่าประเทศญี่ปุ่นเป็นประเทศแห่งทองคำ (ญี่ปุ่น: 黄金の国โรมาจิŌgon no Kuni; อังกฤษ: Golden Country) จึงสันนิษฐานว่าคำว่า โกลเด้นวีค ได้แผลงมาจากคำดังกล่าวเพราะเขาได้เดินทางมาถึงญี่ปุ่นได้ช่วงต้นเดือนพฤษภาคม[8][11] อย่างไรก็ดีทฤษฎีที่มีการแผลงคำมาจากคำว่าโกลเด้นไทม์ได้รับการยอมรับมากกว่า[12]

วันหยุดราชการในสัปดาห์ทอง แก้

ดูเพิ่ม แก้

อ้างอิง แก้

  1. "Golden Week". www.japan-guide.com (ภาษาอังกฤษ).
  2. "Golden Week Is the Busiest Time to Travel in Japan". TripSavvy (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "สัปดาห์ทองคำ หยุดงานช่วยชาติ". mgronline.com. 2015-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "วันหยุดประจำชาติญี่ปุ่น: วันหยุดยาวที่มีเพียงปีละครั้ง! มาดูสรุปวันหยุดแต่ละวันใน "โกลเด้นวีค" กัน". FUN! JAPAN. 2021-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. "COVID-19: Japan considers another state of emergency". www.aa.com.tr. 2021-01-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. 6.0 6.1 Thomas, Russell (2020-05-02). "What is Golden Week and why does it matter?". The Japan Times (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  7. "Economic Watch: Japan's golden week bleak and quiet amid COVID-19 pandemic - Xinhua | English.news.cn". www.xinhuanet.com. 2021-05-03. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  8. 8.0 8.1 "語源は諸説あり!意外と知らない「ゴールデンウィーク」の意味や由来|@DIME アットダイム". @DIME アットダイム (ภาษาญี่ปุ่น). สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  9. Chaiwanitphon, Nutthapong (2017-04-15). "Golden Week ญี่ปุ่น เทศกาลแย่งกันหยุด แย่งกันเที่ยว แย่งกันเดินทาง". The MATTER. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  10. "Tokyo Q&A: What is Japan's Golden Week?". Time Out Tokyo (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  11. "ゴールデンウィーク". 語源由来辞典 (ภาษาญี่ปุ่น). 2004-04-27. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  12. "【2021年】ゴールデンウィーク(GW)はいつ?何をする?過ごし方をアンケート調査しました! | 家電小ネタ帳". 株式会社ノジマ サポートサイト (ภาษาญี่ปุ่น). 2021-04-28. สืบค้นเมื่อ 2021-11-30.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)