สะบายดี หลวงพะบาง
สะบายดี หลวงพะบาง เป็นภาพยนตร์ร่วมทุนระหว่างไทย-ลาว ถือเป็นภาพยนตร์ลาวเอกชนเรื่องแรกในรอบ 33 ปี[ต้องการอ้างอิง] กำกับโดย ศักดิ์ชาย ดีนาน และอนุสอน สิริสักดา จัดทำโดย บริษัท สปาต้า ครีเอทีฟ และบริษัทค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ บริษัท ลาวอาร์ต มีเดีย[1] ซึ่งดูได้แต่เด็กและเยาวชนคอยให้คำแนะนำแก่ผู้ใหญ่และบุตรหลานของท่าน นำแสดงโดย อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม ซึ่งร่วมลงทุนสร้างด้วย และนางเอกชาวลาว อาลี่ คำลี่ พิลาวง ออกฉายในประเทศไทยเมื่อวันที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551[2] ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทำในเวียงจันทน์ หลวงพระบาง และจำปาศักดิ์[3]ใช้เวลาถ่ายทำ 13 วัน[ต้องการอ้างอิง] ทำรายได้ในสัปดาห์แรก 5.4 ล้านบาท[4] ทำรายได้รวม 11 ล้านบาท[5]
สะบายดี หลวงพะบาง | |
---|---|
กำกับ | ศักดิ์ชาย ดีนาน อนุสอน สิริสักดา |
เขียนบท | ศักดิ์ชาย ดีนาน อนุสอน สิริสักดา ดวงมะณี โสลิพัน |
อำนวยการสร้าง | อนุสอน สิริสักดา ณัฐกูร มุทุกันต์ สมชาติ พงคพนาไกร อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม |
นักแสดงนำ | อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม คำลี่ พิลาวง |
กำกับภาพ | สิทธิพงษ์ กองทอง |
ตัดต่อ | สุรศักดิ์ ปานกลิ่น |
ดนตรีประกอบ | คงยศ วงษ์วิกย์กรณ์ กฤษณะศักดิ์ กันตธรรมวงษ์ |
ผู้จัดจำหน่าย | บริษัท สปาต้า ครีเอทีฟ บริษัท ลาวอาร์ต มีเดีย พระนครฟิลม์ |
วันฉาย | 5 มิถุนายน พ.ศ. 2551 |
ประเทศ | ประเทศไทย ประเทศลาว |
ภาษา | ภาษาลาว ภาษาไทย |
ต่อจากนี้ | สะบายดี 2 ไม่มีคำตอบจากปากเซ |
ข้อมูลจาก IMDb |
เรื่องย่อ
แก้สอน (อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม) ช่างภาพที่ถูกส่งตัวไปถ่ายรูปที่ประเทศลาว แบบไม่เต็มใจนัก ถึงแม้ว่าสอนจะมีเชื้อสายลาวอยู่แต่ไม่มีข้อมูลและไม่เคยไปประเทศลาวเลยสักครั้ง จนมาถึงเมืองปากเซ เขาจ้างมัคคุเทศก์ที่ชื่อ น้อย (คำลี่ พิลาวง) พาเดินทางถ่ายรูปในแถบลาวใต้ ไปน้ำตกหลี่ผี คอนพะเพ็ง และสี่พันดอน แต่เนื่องจากน้อยเพิ่งทำงานครั้งแรกจึงพาหลงไปตลอดทาง และสอนจำใจไปบ้านเก่าของพ่อตามที่เคยสั่งไว้ เมื่อถึงสอนพบกับญาติที่ห่างไปหลายสิบปีแต่ต่างจำเขาได้และได้รับการต้อนรับอย่างดี จนสอนเปลี่ยนความคิดว่าลาวก็คือบ้านหนึ่งของเขา
สอนชอบพอกับน้อย แต่น้อยก็เริ่มเป็นฝ่ายถอยและหลบหน้าเพราะกลัวสนิทสนมกันเกินไป สอนต้องพิสูจน์ให้น้อยเห็นว่าเขาไม่ใช่นักท่องเที่ยวที่สร้างความรักแบบชั่วคราว
นักแสดง
แก้- อนันดา เอเวอร์ริ่งแฮม รับบท สอน
- คำลี่ พิลาวง รับบท น้อย
ดีวีดี
แก้ดีวีดีภาพยนตร์ สะบายดี หลวงพะบาง ออกวางขายเมื่อ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2551 จัดจำหน่ายโดยโรส มีเดีย มีจำนวน 1 แผ่น ระบบภาพเป็น Widescreen Anamorphic 2.35.1 ซึ่งเป็นอัตราส่วนเหมือนอย่างฉายในโรงภาพยนตร์ (มีคำเตือนขึ้น) ส่วนระบบเสียงภาษาไทย 2 ระบบ คือ Dolby Digital 5.1 และ Dolby Digital 2.0 มีคำบรรยายภาษาไทย ในแผ่นยังมีเบื้องหลัง เทรลเลอร์หนัง ส่วนที่ถูกตัดออกไป ข่าว[6]
อ้างอิง
แก้- ↑ “อนันดา” หวานควง “จี๊ด” โปรโมตหนังไกลถึงลาว[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Production note สะบายดี หลวงพะบาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-05-27. สืบค้นเมื่อ 2008-05-26.
- ↑ ข่าวสังคมและวัฒนธรรม[ลิงก์เสีย] กระทรวงการต่างประเทศ
- ↑ Sex and The City เปิดไทยได้ที่ 2 "ส้มตำ" แซบไม่พอรอที่ 4 เก็บถาวร 2016-03-05 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน โดย ผู้จัดการออนไลน์ 14 มิถุนายน 2551 13:34 น.
- ↑ มยุรี อำนวยพร, ที่สุดของหนังเด่น-หนังโดนแห่งปี เก็บถาวร 2008-12-31 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน dailynews.co.th
- ↑ สะบายดี หลวงพะบาง เก็บถาวร 2008-09-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน boomerangshop.com
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ เก็บถาวร 2008-06-01 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน