สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน

สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน (อาหรับ: المجلس الوطني لحماية الوطن; ฝรั่งเศส: Conseil national pour la sauvegarde de la patrie, CNSP) เป็นรัฐบาลทหารที่ปกครองประเทศไนเจอร์ หลังจากรัฐประหารในประเทศไนเจอร์ พ.ศ. 2566 ซึ่งโค่นล้มรัฐบาลของมุฮัมมัด บาซูม การยึดอำนาจรัฐบาลครั้งนี้นำไปสู่วิกฤตการณ์ไนเจอร์ พ.ศ. 2566[1]

สภาแห่งชาติเพื่อการคุ้มกันบ้านเกิดเมืองนอน
المجلس الوطني لحماية الوطن
Conseil national pour la sauvegarde de la patrie
สถาปนา26 กรกฎาคม ค.ศ. 2023 (2023-07-26)
เขตอำนาจ ไนเจอร์
เว็บไซต์เว็บไซต์ทางการ
ฝ่ายบริหาร
ประธานอาบดูราอามาน ชียานี
ที่ว่าการนีอาเม ไนเจอร์

การก่อตัว แก้

ในตอนเย็นของวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2566[2][3] อามาดู อาบดรามาน ประกาศออกทางโทรทัศน์ช่องเตเลซาแอลของรัฐเพื่ออ้างว่าประธานาธิบดีมุฮัมมัด บาซูม (ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกเจ้าหน้าที่อารักขาประธานาธิบดีควบคุมตัวที่บ้านพักอย่างเป็นทางการของเขาในกรุงนีอาเม) ถูกปลดออกจากอำนาจและประกาศการจัดตั้งรัฐบาลทหาร[2] อาบดรามานซึ่งมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบอีก 9 นายนั่งขนาบข้าง กล่าวว่ากองกำลังป้องกันและความมั่นคงได้ตัดสินใจที่จะโค่นล้มรัฐบาลของบาซูม "เนื่องจากสถานการณ์ด้านความมั่นคงที่เลวร้ายลงและการบริหารบ้านเมืองที่ไม่ดี"[4] นอกจากนี้ เขายังประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญของประเทศ ระงับสถาบันของรัฐ ปิดพรมแดนของประเทศ และประกาศเคอร์ฟิวทั่วประเทศตั้งแต่เวลา 22.00 น. ถึง 05.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม พร้อมกับเตือนไม่ให้ต่างชาติเข้ามาแทรกแซง[5][6]

เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม อาบดรามานประกาศทางโทรทัศน์ว่ากิจกรรมทั้งหมดของพรรคการเมืองในประเทศจะถูกระงับจนกว่าจะมีประกาศเพิ่มเติม[7] ผู้นำของกองทัพไนเจอร์ออกแถลงการณ์ที่ลงนามโดยอาบดู ซีดีกู อีซา เสนาธิการกองทัพ ประกาศการสนับสนุนรัฐประหารโดยอ้างถึงความจำเป็นในการ "รักษาความสมบูรณ์ของร่างกาย" ของประธานาธิบดีและครอบครัวของเขา และหลีกเลี่ยง "การเผชิญหน้าที่รุนแรง ... ที่อาจก่อให้เกิดการนองเลือดและส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประชากร"[8]

ตำแหน่งผู้นำ แก้

เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม อาบดูราอามาน ชียานี ผู้บัญชาการของทหารอารักขาประธานาธิบดีประกาศตนเป็นประธานสภาฯ ในการปราศรัยที่ช่องเตเลซาแอล เขากล่าวว่ารัฐประหารครั้งนี้เกิดขึ้นเพื่อหลีกเลี่ยง "จุดจบอย่างช้า ๆ และหลีกเลี่ยงไม่ได้" ของประเทศ และกล่าวว่าบาซูมพยายามซ่อน "ความจริงอันโหดร้าย" ของประเทศ ซึ่งเขาเรียกว่า "กองผู้เสียชีวิต ผู้พลัดถิ่น ความอัปยศอดสู และความคับข้องใจ" นอกจากนี้ เขายังวิพากษ์วิจารณ์ยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของรัฐบาลว่าไร้ประสิทธิภาพ แต่ไม่ได้ระบุระยะเวลาสำหรับการกลับคืนสู่การปกครองของพลเรือน[9][10][11]

อ้างอิง แก้

  1. "Niger soldiers announce coup on national TV". BBC News. 26 กรกฎาคม 2023.
  2. 2.0 2.1 Mednick, Sam (27 กรกฎาคม 2023). "Mutinous soldiers claim to have overthrown Niger's president". AP. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
  3. "Coup d'Etat au Niger : Les militaires putschistes suspendent « toutes les institutions » et ferment les frontières". 20 minutes (ภาษาฝรั่งเศส). สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023.
  4. Aksar, Moussa; Balima, Boureima (27 กรกฎาคม 2023). "Niger soldiers say President Bazoum's government has been removed". Reuters. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 26 กรกฎาคม 2023.
  5. "Soldiers in Niger claim to have overthrown President Mohamed Bazoum". Al-Jazeera. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
  6. Peter, Laurence (27 กรกฎาคม 2023). "Niger soldiers announce coup on national TV". BBC. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
  7. "Niger army pledges allegiance to coup makers". Aljazeera. 27 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
  8. "Niger's army command declares support for military coup". France 24. 27 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 27 กรกฎาคม 2023.
  9. "Niger's General Abdourahamane Tchiani declared new leader following coup (state TV)". France 24. 28 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023.
  10. "Niger coup: Abdourahmane Tchiani declares himself leader". BBC. 28 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023.
  11. "Niger general Tchiani named head of transitional government after coup". Aljazeera. 28 กรกฎาคม 2023. สืบค้นเมื่อ 28 กรกฎาคม 2023.