สภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย
พิกัดภูมิศาสตร์: 35°18′31″S 149°07′30″E / 35.308582°S 149.125107°E
สภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย (อังกฤษ: Australian House of Representatives) เป็นสภาล่างในระบบสองสภาของรัฐสภาออสเตรเลีย ส่วนอีกสภาสูง คือ วุฒิสภา โดยองค์ประกอบและอำนาจทั้งหลายนั้นบัญญัติไว้ในหมวดที่หนึ่งในรัฐธรรมนูญออสเตรเลีย
สภาผู้แทนราษฎรออสเตรเลีย Australian House of Representatives | |
---|---|
สมัยที่ 46 | |
![]() | |
ประเภท | |
ประเภท | เป็นส่วนหนึ่งของรัฐสภาออสเตรเลีย |
ผู้บริหาร | |
โทนี สมิธ, เสรีนิยม ตั้งแต่ 10 สิงหาคม ค.ศ. 2015 | |
ปีเตอร์ ดัทตัน, เสรีนิยม ตั้งแต่ 30 มีนาคม ค.ศ. 2021 | |
โทนี เบิร์ก, แรงงาน ตั้งแต่ 18 ตุลาคม ค.ศ. 2013 | |
โครงสร้าง | |
สมาชิก | 151 คน |
![]() | |
กลุ่มการเมืองใน สภาผู้แทนราษฎร | ฝ่ายรัฐบาล (77) พรรคร่วมรัฐบาล |
การเลือกตั้ง | |
ระบบการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร | แบบหลายรอบในทันที |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งล่าสุด | 22 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 |
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งหน้า | 2025 |
ที่ประชุม | |
![]() | |
ห้องประชุมสภาผู้แทนราษฎร ที่ทำการรัฐสภา แคนเบอร์รา, ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี ![]() | |
เว็บไซต์ | |
House of Representatives |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีวาระคราวละ 3 ปีนับจากวันแรกที่ได้ปฏิบัติหน้าที่สภา ซึ่งจนถึงปัจจุบันมีเพียงครั้งเดียวที่สมาชิกสภาอยู่ครบวาระตามกำหนด เนื่องจากมักจะยุบสภาก่อนครบวาระซึ่งพบได้บ่อยในกรณียุบสภาเดียว แต่บางครั้งมีการยุบสภาทั้งสองสภาพร้อมกัน การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นมักจะเกิดขึ้นพร้อมกันกับสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอาจเรียกเป็น "สมาชิกรัฐสภา" ("MP") ในขณะที่สมาชิกวุฒิสภานั้นมักจะเรียกเป็น "วุฒิสมาชิก" ("Senator") รัฐบาลนั้นตามรัฐธรรมนูญจะต้องได้รับความไว้วางใจจากสภาจึงสามารใช้อำนาจบริหารได้
สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน 151 คน โดยมาจากการเลือกตั้งในแบบแบ่งเขตเลือกตั้งเขตละหนึ่งคน จำนวนผู้แทนทั้งหมดไม่ได้กำหนดตายตัวโดยขึ้นอยู่กับการแบ่งเขตเลือกตั้งตามขนาดประชากร โดยครั้งแรกที่มีการปรับให้จำนวนผู้แทนไม่ตายตัวนั้นเกิดขึ้นในการเลือกตั้งทั่วไปค.ศ. 1984 ซึ่งทำให้มีผู้แทนจาก 125 คน เป็น 148 คน โดยล่าสุดในการเลือกตั้งเมื่อปีค.ศ. 2019 มีผู้แทนทั้งหมด 151 คน[1]
ในเขตเลือกตั้งแต่ละเขตจะเลือกผู้แทนจำนวนหนึ่งคนจากระบบการลงคะแนนแบบหลายรอบในทันที โดยได้เปลี่ยนระบบการเลือกตั้งจากระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุดมาเป็นระบบนี้ภายหลังจากเหตุการณ์เลือกตั้งซ่อมเขตสวอนเมื่อปีค.ศ. 1918 ซึ่งพรรคแรงงานได้ชัยชนะอย่างผิดความคาดหมายโดยมีสาเหตุหลักจากคะแนนเสียงแตกจากพรรคฝ่ายตรงข้าม โดยพรรคชาตินิยมซึ่งเป็นรัฐบาลขณะนั้นจึงได้ผ่านกฎหมายแก้ระบบการเลือกตั้งโดยมีผลในการเลือกตั้งทั่วไปปีค.ศ. 1919
หมายเหตุแก้ไข
- ↑ รวมสส. พรรค ชาติเสรีนิยมแห่งควีนส์แลนด์ (LNP) 15 คนที่ร่วมประชุมกับพรรค เสรีนิยม
- ↑ รวมสส. พรรค ชาติเสรีนิยมแห่งควีนส์แลนด์ (LNP) 6 คนที่ร่วมประชุมกับพรรค เสรีนิยม
อ้างอิงแก้ไข
อ่านเพิ่มเติมแก้ไข
- Souter, Gavin (1988). Acts of Parliament: A narrative history of the Senate and House of Representatives, Commonwealth of Australia. Carlton: Melbourne University Press. ISBN 0-522-84367-0.
- Quick, John & Garran, Robert (1901). The Annotated Constitution of the Australian Commonwealth. Sydney: Angus & Robertson. ISBN 0-9596568-0-4. In Internet Archive
- B.C. Wright, House of Representatives Practice (6th Ed.), A detailed reference work on all aspects of the House of Representatives' powers, procedures and practices.