สถานีรถไฟเปียงยาง

สถานีเปียงยาง (เกาหลี: 평양역) เป็นสถานีรถไฟกลางของเปียงยาง ประเทศเกาหลีเหนือ[1] ตั้งอยู่ในย่านย็อกช็อน เขตชุง

เปียงยาง

평양
ชื่อเกาหลี
โชซ็อนกึล
평양역
ฮันจา
อาร์อาร์Pyeongyang-yeok
เอ็มอาร์P'yŏngyang-yŏk
ข้อมูลทั่วไป
ที่ตั้งย่านย็อกช็อน
เขตชุง
เปียงยาง เกาหลีเหนือ
เจ้าของการรถไฟแห่งรัฐเกาหลี
ชานชาลา3 (2 ชานชาลาเกาะกลาง)
ทางวิ่ง6
การเชื่อมต่อ
Bus interchangeรถไฟฟ้าล้อยางสาย 1, 2, 10
ประวัติ
เริ่มเปิดให้บริการ1906
สร้างใหม่1958
ติดตั้งระบบไฟฟ้าใช่
บริษัทเดิมการรถไฟรัฐบาลโชซ็อน
การเชื่อมต่อ
สถานีก่อนหน้า การรถไฟแห่งรัฐเกาหลี สถานีต่อไป
สถานีปลายทาง สายพย็องบู แทดงกัง
มุ่งหน้า แคซ็อง
แทดงกัง
มุ่งหน้า Kujang Chongnyon
P'yŏngdŏk Line สถานีปลายทาง
สถานีปลายทาง P'yŏngnam Line โพทงกัง
มุ่งหน้า Nampo
P'yŏngra Line เปียงยางตะวันตก
มุ่งหน้า Rajin
เปียงยางตะวันออก
มุ่งหน้า Dandong
P'yŏngŭi Line สถานีปลายทาง

ข้อมูลหลัก

แก้

สถานีแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของสายพย็องบูและสายพย็องอึย ซึ่งถูกปรับเปลี่ยนมาจากสายคย็องบูและคย็องอึยที่เคยใช้มาก่อนการแบ่งแยกเกาหลีเพื่อรองรับการย้ายเมืองหลวงจากโซลมายังเปียงยาง สายพย็องอึย วิ่งจากเปียงยางไปยังชินอึยจู ส่วนสายพย็องบูในทางทฤษฎีแล้วจะวิ่งผ่านโซลและไปสิ้นสุดที่ปูซาน แต่ในทางปฏิบัติ สายนี้จะไปสิ้นสุดที่แคซ็องเท่านั้น สถานีแห่งนี้ยังให้บริการโดยสายพย็องนัม ซึ่งวิ่งจากเปียงยางไปยังนัมโพ และสายพย็องด็อกที่วิ่งจากเปียงยางไปยังคูจัง

การเชื่อมต่อ

แก้

สถานีเปียงยางเป็นสถานีหลักในเกาหลีเหนือและเชื่อมต่อกับเมืองส่วนใหญ่ของประเทศ ได้แก่ ช็องจู ชินอึยจู นัมโพ ซารีว็อน แคซ็อง ว็อนซัน ฮัมฮึงและราซ็อน นอกจากเส้นทางภายในประเทศแล้ว รถไฟระหว่างประเทศยังเชื่อมต่อเปียงยางกับปักกิ่งของจีนสัปดาห์ละสี่ครั้ง (ใช้เวลา 24 ชั่วโมง)[2] และตานตงของจีน ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำยาลู่ที่อยู่ติดกัน[3] รถไฟเชื่อมต่อเปียงยางกับมอสโกด้วยเช่นกัน แต่เนื่องจากความล่าช้าเรื้อรังจึงไม่อนุญาตให้ชาวต่างชาติใช้[4] ปัจจุบันยังไม่มีรถไฟตามกำหนดเวลาไปยังโซล (ห่างออกไปประมาณ 249 กิโลเมตร (155 ไมล์)) เนื่องจากการแบ่งแยกของทั้งสองเกาหลี

การเชื่อมต่อระบบขนส่งมวลชนท้องถิ่นสามารถทำได้ที่สถานีผ่านสถานีย็องกวังของรถไฟฟ้าใต้ดินเปียงยาง (สายช็อลลีมา),โดยรถรางเปียงยางสาย 1 และรถไฟฟ้าล้อยางเปียงยางสาย 1, 2 และ 10 โดยที่สถานีเปียงยางเป็นสถานีปลายทางของทั้งสามสาย

โครงสร้าง

แก้

สถานีเดิมสร้างขึ้นใน ค.ศ. 1920 โดยจักรวรรดิญี่ปุ่นซึ่งในขณะนั้นยึดครองเกาหลี รูปแบบสถาปัตยกรรมดั้งเดิมคล้ายกับสถานีโซลเดิมที่สร้างขึ้นในเวลาใกล้เคียงกัน โดยที่ทั้งสองเมืองเคยเชื่อมโยงถึงกัน[5] ในช่วงสงครามเกาหลี โครงสร้างเดิมถูกทำลายและต่อมาถูกสร้างขึ้นใหม่ใน ค.ศ. 1958[6] ในรูปแบบสถาปัตยกรรมสังคมนิยม ปัจจุบันสถานีมีสามชั้นเหนือพื้นดินและมีชั้นใต้ดิน[6] ชั้นพื้นดินมีเคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋วสำหรับพนักงานรัฐบาลโดยเฉพาะ ที่ชั้นหนึ่งมีห้องรับรอง ห้องน้ำ เคาน์เตอร์จำหน่ายตั๋ว และทางเข้าสู่รถไฟ ที่ชั้นสองมีสำนักงานสำหรับพนักงาน และที่ชั้นสามเป็นสำนักงานของนายสถานี มีชานชาลาห้าแห่ง โดยชานชาลาหมายเลข 1 กว้างขวางที่สุด

ระบบลำโพง

แก้

ทุกวันตอน 06:00 น. เพลง "ท่านนายพลที่รัก ท่านอยู่ไหน?" จะถูกเปิดเล่นผ่านระบบลำโพงที่สถานี บางคนคิดว่าเพลงนี้อาจมีจุดประสงค์เพื่อใช้เป็นเสียงปลุกตอนเช้าสำหรับผู้อยู่อาศัยในท้องถิ่น[7]

แกลเลอรี

แก้
สถานีเปียงยางในภาพวาด

อ้างอิง

แก้
  1. Information
  2. "K27 and K28 | Beijing to Pyongyang train | TrainReview". trainreview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  3. "Train 51 and 52 | Dandong to Pyongyang train | TrainReview". trainreview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  4. "Train 651Ж and 652Ж | Tumangang (DPRK) Moscow train | TrainReview". trainreview.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2020. สืบค้นเมื่อ 2020-10-31.{{cite web}}: CS1 maint: unfit URL (ลิงก์)
  5. "Pyongyang Railway Station". Visit North Korea (ภาษาอังกฤษ). 23 May 2019. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 16 December 2019. สืบค้นเมื่อ 2019-05-23.
  6. 6.0 6.1 "Pyongyang train station to be refurbished – Railroad Ministry - NK News - North Korea News". 4 February 2014.
  7. "Morning Chorus, Pyongyang's 6AM Wake Up Call". NK News. 28 July 2017. สืบค้นเมื่อ 5 March 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น

แก้

แม่แบบ:Pyongbu Line แม่แบบ:Pyongnam Line แม่แบบ:Pyongra Line แม่แบบ:Pyongui Line แม่แบบ:Pyongdok Line

39°00′17″N 125°44′11″E / 39.00472°N 125.73639°E / 39.00472; 125.73639