ศิลาชีต (สันสกฤต: शिलाजीत; Shilajit, แปลตรงตัว'ผู้พิชิตเขา/ศิลา'), ซาลาจีต (อูรดู: سلاجیت; salajeet), มูมีโย (mumijo), มุมลายี (mumlayi) หรือ มูมี (mumie)[1] เป็นผลิตภัณฑ์แร่อินทรีย์ที่เกิดขึ้นตามถ้ำและโพรงบนเขา[2]

ศิลาชีตตามธรรมชาติ

ผงสีดำถึงน้ำตาลเข้มนี้มักพบได้ตามเทือกเขาหิมาลัย, เทือกเขาปามีร์, เทือกเขาคอเคซัส, เทือกเขาอัลไท และเทือกเขาแอนดีสในเปรู[3] มีการใช้งานผงศิลาชีตในฐานะการแพทย์แผนโบราณมาอย่างยาวนาน เช่นในการแพทย์อายุรเวท, การแพทย์แผนจีน และการแพทย์แผนทิเบต ไปจนถึงในการแพทย์แผนทางเลือกอื่น ๆ ในปัจจุบัน ศิลาชีตมีผลิตจำหน่ายทั้งในรูปผงสกัดแห้ง และในรูปอาหารเสริมสำเร็จรูป[4]

มีหลักฐานการใช้งานศิลาชีตในการแพทย์พื้นบ้านในอัฟกานิสถาน อินเดีย จีน อิหร่าน ปากีสถาน เนปาล เอเชียกลาง และทิเบต มามากกว่าสี่พันปีมาแล้ว[5] รวมถึงยังปรากฏการบรรยายถึงสรรพคุณในการรักษาโรคต่าง ๆ ในบันทึกของแพทย์โบราณ เช่น อาริสโตเติล, อะบู บัคร์ อัลราซี, อัลบีรูนี, อิบน์ซีนา เป็นต้น[2][6][7]

แดร์เบโลต์บันทึกไว้ในผลงานตีพิมพ์ปี 1821 ว่าชาวเปอร์เซียใช้สสารที่เรียกว่า มูเมีย (mumiay) เป็นยาสารพัดโรคที่ออกฤทธิ์แรงสำหรับแก้กระดูกแตกและโรคอื่น ๆ[8]

อ้างอิง แก้

  1. Wilson E, Rajamanickam GV, Dubey GP, Klose P, Musial F, Saha FJ, Rampp T, Michalsen A, Dobos GJ (June 2011). "Review on shilajit used in traditional Indian medicine". J Ethnopharmacol (Review). 136 (1): 1–9. doi:10.1016/j.jep.2011.04.033. PMID 21530631.
  2. 2.0 2.1 "MUMIYO • Great Russian encyclopedia - electronic version". bigenc.ru. สืบค้นเมื่อ 2022-08-01.
  3. Hill, Carol A.; Forti, Paolo (1997). Cave Minerals of the World. National Speleological Society. ISBN 978-1-879961-07-4.[ต้องการเลขหน้า]
  4. Winston, David; Maimes, Steven (2007-03-22). "Part two: Materia medica. 7. Monographs on Adaptogens. Shilajit". Adaptogens: Herbs for Strength, Stamina, and Stress Relief (ภาษาอังกฤษ). Inner Traditions / Bear & Co. p. 129. ISBN 978-1-59477-158-3.
  5. Kloskowski, T.; Szeliski, K.; Krzeszowiak, K.; Fekner, Z.; Kazimierski, Ł; Jundziłł, A.; Drewa, T.; Pokrywczyńska, M. (2021-11-19). "Mumio (Shilajit) as a potential chemotherapeutic for the urinary bladder cancer treatment". Scientific Reports. 11 (1): 22614. Bibcode:2021NatSR..1122614K. doi:10.1038/s41598-021-01996-8. ISSN 2045-2322. PMC 8604984. PMID 34799663.
  6. Korchubekov, B. K., Altymyshev, A. A. (1987). Mumië "arkhar-tash" i ego fiziologicheskai︠a︡ aktivnostʹ. Soviet Union: Ilim.
  7. Source study and textual criticism of monuments of medieval sciences in the countries of Central Asia: a collection of scientific works. (1989). Russia: "Science," Siberian Branch.
  8. Ouseley, William (1821). Travels in various countries of the East : more particularly Persia. Rodwell and Martin, London.