ศิรฑีสาอีบาบา
สาอีบาบาแห่งศิรฑี[2] หรือ ศิรฑีสาอีบาบา เป็นผู้นำทางจิตวิญญาณชาวอินเดีย ที่ซึ่งผู้ติดตามของท่านเชื่อว่าท่านเป็นอวตารของศรีทัตตคุรุ[3] และได้รับการยกขึ้นเป็นเทพเจ้าทั้งในศาสนาฮินดูเป็นสันตะ และในศาสนาอิสลามเป็นฟะกีร์ ท่านเป็นผู้ที่ได้รับการยกย่องบูชาจากทั้งชาวฮินดูและมุสลิมตลอดช่วงชีวิตและหลังท่านเสียชีวิตมาตลอด
ศิรฑีสาอีบาบา | |
---|---|
ศิรฑีสาอีบาบา | |
เสียชีวิต | 15 ตุลาคม พ.ศ. 1918[1] ศิรฑี, รัฐบอมเบย์, บริติชอินเดีย (ปัจจุบันอยู่ในรัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย) |
ที่พักหลังสิ้นชีวิต | สมาธิมนเทียร ศิรฑี |
ท่านมุ่งเน้นการสอนให้เห็นถึงความสำคัญของ "การรู้ตน" (realization of the self) และโจมตี "ความรักต่อสิ่งที่ไม่เป็นนิรันดร์" (love towards perishable things) แนวคำสอนของสาอีบาบาวนเวียนอยู่กับแนวคิดทางจริยศาสตร์เกี่ยวกับความรัก, การให้อภัย, การช่วยเหลือผู้อื่น, การแบ่งปัน, ความมักน้อย, ความสงบภายใน และการทุ่มเทให้แก่พระเจ้าและคุรุ ท่านเน้นย้ำความสำคัญของการสยบยอมต่อ สัตคุรุ, แท้จริง ผู้ที่ได้เดินทางในเส้นทางสู่ความรู้ตนสูงสุด (divine consciousness) สำเร็จแล้ว และจะนำพาผู้ติดตามของท่านผ่านป่าไม้ของการฝึกฝนทางจิตวิญญาณต่อไป[4]
สาอีบาบาประณามการแบ่งแยกด้วยมูลทางศาสนาและวรรณะ ยังคงไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่าท่านสาอีบาบาเป็นมุสลิมหรือเป็นฮินดู อย่างไรก็ตาม ไม่ได้เป็นเรื่องที่สาอีบาบาให้ความสำคัญ[5] เนื่องจากคำสอนของสาอีบาบาเป็นการรวมระหว่างคำสอนของศาสนาฮินดูและศาสนาอิสลาม ท่านตั้งชื่อ ทวารกามายี (Dwarakamayi) ซึ่งเป็นชื่อฮินดูให้กับมัสยิดที่ท่านเคยอาศัย[6] และได้เข้าไปปฏิบัติทั้งพิธีกรรมฮินดูและอิสลาม รวมถึงสั่งสอนด้วยถ้อยคำและตัวละครจากทั้งสองศาสนา คำพูดเฉียบคม (epigrams) สำคัญของท่าน ทั้ง อัลลาหมาลิก (Allah Malik; พระเป็นเจ้าคือผู้สูงสุด) และ สะบะกามาลิกเอก (Sabka Malik Ek; ผู้นำของทุกคนมีหนึ่งเดียว) มีความเกี่ยวข้องกับทั้งสองศาสนา และท่านยังเป็นผู้กล่าวประโยค "จงมองมาที่เรา แล้วเราจะมองกลับไปยังเจ้า" (Look to me, and I shall look to you)[4] และ อัลลาหเตราภลากะเรคา (Allah tera bhala karega[7]; พระเจ้าจะปกป้องท่าน)
อ้างอิง
แก้- ↑ "Shirdi Sai Baba's 97th death anniversary: The one who was revered by all". India Today. 15 October 2015. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 31 May 2017. สืบค้นเมื่อ 19 November 2017.
- ↑ ตามพจนานุกรมศัพท์ศาสนาสากล อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พิมพ์ครั้งที่ 3 หน้า 220 ใช้การทับศัพท์ชื่อชาวอินเดีย Baba ว่าบาบา
- ↑ Rigopoulos, Antonio (1998). Dattatreya: The Immortal Guru, Yogin, and Avatara. State University of New York Press. p. 260. ISBN 1438417330.
The identification of Sāī Bābā of Śirḍī with Dattātreya is such that the Śrī Sāī Satcarita—the most "authoritative" hagiography on the saint's life—is often called "the modern Guru-caritra"; see Shri Sai Satcharita; or, The Wonder-ful Life and Teachings of Shri Sai Baba, xvii. On Sāī Bābā of Śirḍī as Dattātreya, see also Babu, Dattātreya: Glory of the Divine in Man.
- ↑ 4.0 4.1 Sri Sai Satcharitra
- ↑ Rigopoulos, Antonio (1993). The Life and Teachings of Sai Baba of Shirdi. SUNY. p. 3. ISBN 0-7914-1268-7.
- ↑ D. Hoiberg; I. Ramchandani (2000). Students' Britannica India. Popular Prakashan. p. 324. ISBN 9780852297605. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 March 2018.
- ↑ "The Illustrated Weekly of India, Volume 102, Issues 1-22". Published for the proprietors, Bennett, Coleman & Company, Limited, at the Times of India Press, 1981. 1981. สืบค้นเมื่อ 4 January 2017.
"One of his favourite words of benediction to devotees was Allah tera bhala karega (God will bless you)