ศาลเจ้าซุยเต็น (โตเกียว)

ศาลเจ้าซุยเต็น (ญี่ปุ่น: 水天宮โรมาจิSuiten-gū) คำว่า "ซุยเต็นกู" นั้นแปลตามตัวอักษรได้ว่า "วังของเทพแห่งน้ำ" หรือ "วังแห่งซุยเต็น" เป็นศาลเจ้าที่อุทิศให้แด่เทพเจ้าดังต่อไปนี้:

Suiten-gū
水天宮
ศาลเจ้าในปัจจุบัน (สร้างใหม่ในปี 2016)
ศาสนา
ศาสนาShinto
เทพอาเมะ โนะ มินาคานูชิ (ในฐานะพระพิรุณ)
จักรพรรดิอันโตกุ
เคนเรน มอนอิน
นี โนะ อามะ
ที่ตั้ง
ที่ตั้ง2-4-1 นิฮงบาชิ คาคิการาโช, เขตชูโอ
โตเกียว 103-0014
ศาลเจ้าซุยเต็น (โตเกียว)ตั้งอยู่ในประเทศญี่ปุ่น
ศาลเจ้าซุยเต็น (โตเกียว)
ที่ตั้งในประเทศญี่ปุ่น
พิกัดภูมิศาสตร์35°41′01″N 139°47′06″E / 35.68361°N 139.78500°E / 35.68361; 139.78500
สถาปัตยกรรม
เริ่มก่อตั้ง1818
เว็บไซต์
www.suitengu.or.jp

คำว่า "ซุยเต็น" นั้นหมายถึงชื่อเทพเจ้าฮินดู พระพิรุณ ในภาษาญี่ปุ่น ซึ่งเป็นหนึ่งในเทพเจ้าฮินดูที่ถูกนำมาเผยแผ่ในประเทศญี่ปุ่นพร้อม ๆ กับศาสนาพุทธ[หมายเหตุ 1] จนเมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นได้สั่งการให้มีนโยบายแยกศาสนาชินโตกับศาสนาพุทธออกจากกัน (神仏分離) ทำให้ศาลเจ้าถูกแยกออกเป็นของสองศาสนา โดยศาลเจ้าที่นับถือซุยเต็นได้ระบุว่าตนนั้นนับถืออาเมะ โนะ มินาคานูชิ[4]

ศาลเจ้าซุยเต็นตั้งอยู่ที่เขตชูโอ โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถูกกล่าวขานในเรื่องของความคิด มโนภาพและการคลอดบุตรอย่างปลอดภัย ย้อนกลับไปในปี 1818 ไดเมียวคนที่เก้าแห่งแคว้นคูรูเมะได้สั่งให้มีการก่อสร้างศาลเจ้าซุยเต็นขึ้นมาในยุคเอโดะเพื่อให้เป็นศาลเจ้าย่อย ๆ ของศาลเจ้าอีกแห่งหนึ่งในชื่อเดียวกันในนครคูรูเมะ จังหวัดฟูกูโอกะ โดยศาลเจ้านี้ตั้งอยู่ภายในคฤหาสน์ของแคว้นบริเวณอำเภอมิตะ ซึ่งปัจจุบันเป็นส่วนหนึ่งของเขตมินาโตะ โตเกียว และทางแคว้นเปิดให้ผู้คนเข้าชมได้ทุกวันที่ห้าของเดือน ต่อมาในปี 1871 ตระกูลอะริมะได้ย้ายจากอำเภอมิตะไปยังอากาซากะ และได้ย้ายศาลเจ้าตามไปด้วย จนกระทั่งในปีถัดมา พวกเขาก็ได้ย้ายศาลเจ้าไปยังตำแหน่งปัจจุบัน ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของหนึ่งในคฤหาสน์ของตระกูล

สถานีซุยเทนกูมาเอะ เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินใกล้ ๆ ซึ่งชื่อของสถานีนี้นำมาจากชื่อของศาลเจ้า ในประเทศญี่ปุ่น มีศาลเจ้าที่มีชื่อเดียวกันอีกว่า 25 แห่ง

หมายเหตุ

แก้
  1. นอกเหนือจากพระพิรุณแล้วยังมี พระอินทร์ (ญป. ไทชาคุเต็น), พระอัคนี (คะเต็น), พระยม (เอ็มมะเต็น), พระนิรฤติ (ราเซ็ตสึเต็น), พระพาย (ฟูเต็น), พระอีสาน (อิชานาเต็น), ท้าวกุเวร (ทามอนเต็น), พระพรหม (บอนเต็น), พระแม่ปฤถวี (ชิเต็น), พระอาทิตย์ (นิตเต็น), พระจันทร์ (กัตเต็น).[1][2][3]

References

แก้
  1. Willem Frederik Stutterheim et al (1995), Rāma-legends and Rāma-reliefs in Indonesia, ISBN 978-8170172512, pages xiv–xvi
  2. S Biswas (2000), Art of Japan, Northern, ISBN 978-8172112691, page 184
  3. Adrian Snodgrass (2007), The Symbolism of the Stupa, Motilal Banarsidass, ISBN 978-8120807815, pages 120-124, 298-300
  4. "Tokyo Suitengu monogatari" 1985 Kodansha, ISBN 406202117X