ศรีมหามริอัมมันเทวสถานัม ซีฟีลด์

ศรีมหามริอัมมันเทวสถานัม ซีฟีลด์ (อังกฤษ: Seafield Sri Maha Mariamman Temple) เป็นโบสถ์พราหมณ์ (เทวสถาน) ในย่านชนชั้นกลางชานเมืองยูในเต็ดเอสเตตโปรเจ็กสต์ซูบังจายา รัฐเซอลาโงร์ ประเทศมาเลเซีย เชื่อกันว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 1891[1] อย่างไรก็ตามถูกแย้งโดยนักข่าวของเดอะสตาร์ นิโคลัส เชง (Nicholas Cheng)[2] พื้นที่ของเทวาลัย[3] ถูกซื้อมาจากบริษัทซีเมดาร์บี[4] และต่อมาถูกซื้อโดยเบอร์ฮัด MCT ผู้พัฒนาโครงการวันซิตี (One City)[5]

ข้อพิพาทที่ดิน

แก้

วันซิตีเดเวลอปเมนต์ (One City Development) ดำเนินการย้ายเทวาลัยจากที่ตั้งเดิมหลังเข้าซื้อที่ดินที่ตั้งของเทวาลัยแล้ว รวมถึงผู้พัฒนาได้ดำเนินเรื่องต่อศาลเป็นที่เรียบร้อย[6] อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการบริหารเทวาลัยได้เสาะหานักการเมืองมาเพื่อช่วยป้องกันไม่ให้เทวาลัยต้องถูกย้าย[7] หลังมีการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง คณะกรรมการบริหารสูงสุดรัฐเซลาโงร์ (Selangor Executive Committee) ได้ยืนยันอีกครั้งว่าศาลได้ตัดสินว่าเป็นสิทธิ์ของผู้พัฒนาพื้นที่รายใหม่ในการย้ายเทวาลัย ในฐานะผู้ถือครองกรรมสิทธิ์โดยชอบตามกฎหมาย[8] อย่างไรก็ตาม ความพยายามเข้ายึดพื้นที่ของผู้พัฒนาไม่ประสบผลสำเร็จ[9] ความพยายามเข้ายึดพื้นที่อีกครั้งในเดือนพฤศจิกายน 2018 ส่งผลให้เกิดการะปะทะและจลาจลตามมา[10]

เอส ตานคาราชู (S. Thangaraju), เอส นคราชา (S. Nagarajah) และ เอ็ม โมหนกฤษณัน (M. Mohanakrishnan) ฝ่ายคัดค้านการย้ายเทวาลัยในคณะกรรมการบริหารเทวาลัยได้ทำการยื่นเรื่องต่อศาลเพื่อขอพื้นที่เทวาลัยคืน แต่ถูกปฏิเสธโดยผู้พิพากษาศาลสูงมาเลเซีย เอ็ม กูนาลัน (M. Gunalan) ในวันที่ 29 พฤศจิกายน โดยระบุว่าผู้ยื่นเรื่องไม่สามารถแสดงหลักฐานเพียงพอต่อคำกล่าวอ้าง[11][12]

จลาจลเดือนพฤศจิกายน 2018

แก้

เกิดการจลาจลในวันที่ 26 ถึง 27 พฤศจิกายน 2018 ในพื้นที่รอบเทวาลัยและในเขต USJ 25 อันเป็นผลมรจากความเข้าใจผิดนะหว่างคณะกรรมการบริหารเทวาลัยกับผู้พัฒนาพื้นที่ใหม่ เบอร์ฮัดวันซิตีเดเวลอปเมนต์ เหตุจลาจลเป็นผลให้มีทรัพย์สินสาธารณะจำนวนหนึ่งถูกทำลาย และมีนักดับเพลิงหนึ่งรายเสียชีวิตคือ มุฮัมมัด อาดีบ โมหัด กัสซีม (Muhammad Adib Mohd Kassim) เหตุการณ์นี้ได้รับความสฯใจอย่างมากโดยสื่อและสาธารณะในประเทศมาเลเซีย[13]

อ้างอิง

แก้
  1. "The 120 year old Maha Mariamman Temple, Seafield, USJ". www.malaysiantemples.com (ภาษาอังกฤษ). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2018-12-30. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  2. "The mess that is the Seafield temple issue – Why You Like That Wan". The Start Online. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  3. "The Subang Hindu temple: Its 'history' and legal dramas | Malay Mail" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  4. "MCT building last phase of One City – Business News". The Start Online. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  5. "MCT divests One City-linked unit for RM7.5m". The Edge Markets. 2017-12-08. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  6. "Eviction of Seafield temple on hold – Menteri Besar ⋆ The Malaysian Times". www.themalaysiantimes.com.my (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-01-16. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  7. "Seafield Sri Maha Mariamman Temple: Mentri Besar will help, Sivarasa and Santiago say". Malaysiaindru (ภาษาทมิฬ). 2017-12-20. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  8. "Seafield temple relocation is on court orders, says Selangor exco". Seafield temple relocation is on court orders, says Selangor exco. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  9. "Devotees protest relocation of temple – Metro News". The Start Online. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  10. "Temple relocation turns chaotic as dissenters dig heels in – Metro News". The Start Online. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  11. "Subang Hindu temple faction fails court bid to block relocation order | Malay Mail" (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  12. "High Court rejects bid to block Seafield temple relocation – Nation". The Start Online. สืบค้นเมื่อ 2018-11-29.
  13. Nasrul Hafiz (27 November 2018). "Kronologi inside Kuil Sri Maha Mariamman". Astro Awani. สืบค้นเมื่อ 26 November 2019.