วิธีใช้:วากยสัมพันธ์ EasyTimeline
หน้าคำอธิบายนี้เป็นคู่มือบอกวิธี ซึ่งบอกรายละเอียดกระบวนการหรือกระบวนวิธีของบางส่วนของบรรทัดฐานและวัตรของวิกิพีเดีย ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของนโยบายและแนวปฏิบัติของวิกิพีเดีย
|
คุณลักษณะ EasyTimeline ผลิตภาพฝังตัวจากข้อความวิกิ ภาพสามารถเป็นแผนภาพหนึ่งมิติ (แนวนอนหรือแนวตั้ง) หรือสองมิติก็ได้ ชื่อ "EasyTimeline" หมายความถึง ความเป็นไปได้ในการใช้คุณลักษณะนี้กับมาตราเวลาทั้งแนวนอนหรือแนวตั้ง โดยอาจใช้ร่วมกับอีกตัวแปรเสริมหนึ่งในทิศทางอื่น เป็นต้น
ดูเพิ่ม mw:Extension:EasyTimeline, mw:Extension:EasyTimeline/syntax, , การเปิดใช้งาน EasyTimeline ในการติดตั้งมีเดียวิกิอื่น
บทนำ
แก้สามารถผลิตเส้นเวลากราฟิกได้โดยเขียนสคริปต์ระหว่างป้ายระบุพิเศษ ดังนี้
<timeline> ''สคริปต์'' </timeline>
จากนั้น EasyTimeline จะมีการเรียกใช้เพื่อเรนเดอร์ภาพพีเอ็นจี และสามารถเปลี่ยนให้เป็นแผนที่คลิกได้
ข้อปฏิเสธความรับผิดชอบ: แม้ EasyTimeline จะได้รับออกแบบมาให้ใช้ง่าย แต่เส้นเวลากราฟิกที่ซับซ้อนก็ไม่ใช่เรื่องเล็ก
เส้นเวลาง่าย ๆ อาจใช้เวลาเขียนครึ่งชั่วโมง (หรืออาจใช้น้อยกว่านั้น หากยึดตัวอย่างที่เหมาะสมเป็นฐาน) แต่เส้นเวลาขนาดใหญ่อาจใช้เวลาหลายชั่วโมงในการเขียนและปรับแต่งรายละเอียด อย่างไรก็ดี การเพิ่มหรือแก้ไขเส้นเวลา ไม่ว่าเส้นเวลานั้นจะมีความซับซ้อนเพียงใด ควรเป็นเรื่องที่ค่อนข้างตรงไปตรงมา แม้ผู้เขียนที่ไม่มีความรู้วากยสัมพันธ์ที่อธิบายในหน้านี้ระดับผู้เชี่ยวชาญก็ตามที
คุณสามารถสอบถามคำแนะนำจาก ผู้ประพันธ์ EasyTimeline ได้
คำสั่งงานที่มี
แก้คำสั่งงานสคริปต์นิยามสิ่งต่อไปนี้
- ผังโดยรวม: ImageSize, PlotArea, Colors, BackgroundColors, AlignBars
- การตีความและนำเสนอวันที่และช่วงเวลา: DateFormat, Period, ScaleMajor, ScaleMinor, TimeAxis
- เหตุการณ์ ช่วงเวลาและข้อความอธิบาย: PlotData, TextData
- วิธีการเรียงลำดับ แบ่งและตั้งชื่อกลุ่มเหตุการณ์และช่วงเวลา: BarData, Legend, LineData
- การเขียนรูปสัญลักษณ์สำหรับบางส่วนของรหัสสคริปต์ที่เกิดหลายครั้ง: Define
ต้องมีคำสั่งงานต่อไปนี้ ImageSize, PlotArea, Period และ TimeAxis, ต้องมีคำสั่งงานอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปนี้: PlotData และ/หรือ TextData สามารถใช้คำสั่งงานอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้งคู่ ได้หลายครั้ง ส่วนคำสั่งงานอื่นนั้นไม่จำเป็นต้องใช้
คำสั่งงานและลักษณะประจำของคำสั่งงานสามารถระบุโดยใช้อักษรตัวเล็ก ตัวใหญ่หรือผสมกันก็ได้ กรุณาพยายามให้มีความต่อเนื่องในการใช้อักษรตัวเล็กหรือตัวใหญ่เพื่อให้อ่านง่าย เช่น ใช้ตัวเล็กใหญ่ผสมกันสำหรับคำสั่งงานทั้งหมด และใช้ตัวเล็กสำหรับลักษณะประจำทั้งหมด
กฎวากยสัมพันธ์ทั่วไป
แก้สคริปต์หนึ่งสามารถมีได้ทั้งคำสั่งงานและความเห็น คำสั่งงานหนึ่งจะมีลักษณะประจำตั้งแต่หนึ่งลักษณะประจำขึ้นไป
คำสั่งงาน
แก้คำสั่งงานควรเริ่ม ณ ตำแหน่งแรกของบรรทัด บางคำสั่งงานสามารถมีข้อมูลและ/หรือตัวเลือกตามมาได้หลายบรรทัด บรรทัดเพิ่มเติมเหล่านี้ควรเริ่มต้นด้วยช่องว่างหนึ่งช่อง หรือให้ว่างทั้งหมด (ซึ่งการทำว่างทั้งบรรทัดนี้มีประโยชน์สำหรับการจัดกลุ่มบรรทัดข้อมูลที่สัมพันธ์กัน)
คำสั่งงานมีรูปต่อไปนี้อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้นอยู่กับชนิดของคำสั่งงาน
Command = attribute(s) |
DateFormat = dd/mm/yyyy |
Command name = attribute(s) |
Color Jp = value:red legend:Japan |
Command = attribute(s) attribute(s) etc. |
PlotData = fontsize:XS width:20 bar:Japan from:start till:19/02/1945 color:JT bar:Japan from:19/02/1945 till:14/03/1945 color:AI |
ความเห็น
แก้สามารถระบุความเห็นทั้งบรรทัดเดียวหรือหลาลยบรรทัดก็ได้
- ข้อความตามหลังสัญลักษณ์แฮช # จะถูกถือว่าเป็นความเห็น
- ข้อความระหว่าง #> และ <# จะถูกถือว่าเป็นความเห็นเช่นกัน ความเห็นสามารถกินข้ามหลายบรรทัดได้ เมื่อทำป้ายระบุด้วยวิธีนี้
ตัวอย่าง
Dateformat = dd/mm/yyyy # European date format Period = from:01/09/1939 till:02/09/1945 #> this chart will show the complete duration of World War II <#
ลักษณะประจำ
แก้เมื่อสามารถระบุลักษณะประจำได้หลายลักษณะประจำสำหรับคำสั่งงานหนึ่ง ๆ จะมีการทำความเห็นประกอบเป็นคู่ 'name:value' เมื่อสามารถระบุหลายค่าสำหรับลักษณะประจำหนึ่งจะต้องมีวงเล็บปิดหัวท้าย
ตัวอย่าง
AlignBars = justify Color SB = value:rgb(0.8,0,0.7) legend:Sea_Battles
ตัวแปรเสริมกับไอเท็มข้อมูล
แก้คำสั่งงานส่วนใหญ่ยอมรับเฉพาะลักษณะประจำที่ระบุไว้ในบรรทัดเดียวกัน
บล็อกข้อมูล: คำสั่งงานบางอย่าง เช่น BarData, PlotData, TextData, Colors คาดหมาย "บล็อกข้อมูล" ที่ประกอบด้วย "บรรทัดข้อมูล" ตั้งแต่หนึ่งบรรทัดขึ้นไป บรรทัดข้อมูลควรขึ้นต้นด้วยช่องว่างอย่างน้อยหนึ่งช่อง บล็อกข้อมูลถือว่าสมบูรณ์เมื่อพบบรรทัดที่ขึ้นต้นด้วยไม่ใช่อักขระว่าง (ยกเว้นบรรทัดว่าง ซึ่งจะถูกละเลย อาจใช้บรรทัดว่างเพื่อจัดกลุ่มบรรทัดข้อมูลที่สัมพันธ์ในบล็อกข้อมูล)
ลักษณะประจำในบรรทัดข้อมูลสามารถแบ่งแนวคิดได้เป็น "ตัวแปรเสริม" และ "ไอเท็มข้อมูล" บล็อกข้อมูลสามารถบรรจุตัวแปรเสริมและไอเท็มข้อมูลผสมกันได้
ไอเท็มข้อมูล: ในบรรทัดข้อมูล ลักษณะประจำ text, from, till และ at ใช้ได้กับบรรทัดที่ปรากฏเท่านั้นเสมอ
ตัวแปรเสริม: ในบรรทัดข้อมูล ลักษณะประจำอย่าง color และ fontsize มีการส่อความต่างกันขึ้นอยู่กับบริบท หากตัวแปรเสริมเหล่านี้ปรากฏในบรรทัดที่ไม่มีไอเท็มข้อมูล จะตั้งค่าโดยปริยายใหม่สำหรับบรรทัดข้อมูลที่ตามมา หากปรากฏในบรรทัดที่ผสมกับไอเท็มข้อมูล จะใช้ได้เฉพาะกับบรรทัดนั้น และเขียนทับค่าโดยปริยายที่เคยตั้งไว้เดิม
ตัวอย่าง:
# In this example two sets of bars are drawn, in red and blue respectively, # but in each set one bar (marking war periods) will be drawn in green. PlotData = color:red fontsize:S # set defaults bar:USSR from:1919 till:1922 text:Lenin # red bar bar:USSR from:1922 till:1953 text:Stalin # red bar bar:USSR from:1939 till:1945 text:WWII color:green # green bar bar:USSR from:1953 till:1964 text:Krushchev # red bar color:blue # change default color bar:US from:1913 till:1921 text:Wilson # blue bar bar:US from:1917 till:1918 text:WWI color:green # green bar bar:US from:1921 till:1923 text:Harding # blue bar #> this multiline comment does not end command PlotData, even when the previous line does not start with a space<# bar:US from:1923 till:1929 text:Coolidge # blue bar TextData = # now PlotData is considered complete tabs:...etc
อักขระพิเศษ
แก้- #, #>, <# (hash, hash+"greater than", "less than"+hash): ดู ความเห็น
- ~ (tilde) ในข้อความ หมายถึง การแบ่งบรรทัด
- ^ (caret) ในข้อความ หมายถึง แถบ
- _ (underscore) ในข้อความ หมายถึง ช่องว่าง
- $ (dollar sign) นำหน้าค่าคงตัวที่ผู้ใช้นิยาม
อ้างอิงคำสั่งงาน
แก้ต่อไปนี้เป็นลักษณะประจำสมเหตุสมผลสำหรับคำสั่งงานแต่ละอย่าง คำสั่งงานและ/หรือลักษณะประจำบางอย่างไม่ต้องใส่ก็ได้ (O)
สำหรับบางคำสั่งงาน ลักษณะประจำบางลักษณะจะใช้ร่วมกับคำสั่งงานไม่ได้ (จะมีอธิบายถ้าเป็นไปได้)
AlignBars
แก้จะวาดแท่งที่ระยะทางเท่ากันเสมอ คำสั่งงานนี้เจาะจงว่าควรจัดแท่งให้ห่างกันที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ หรือควรสงวนช่องว่างสีขาวระหว่างด้านซ้าย/บนของแผนภาพกับแถบแรก หรือระหว่างแท่งสุดท้ายและด้านขวา/ล่างของแผนภาพบ้าง
- early (โดยปริยาย)
- จะวางแถบแรกในตำแหน่งซ้ายสุด/บนสุดของแผนภาพ ('ติด' กับแกน) โดยปล่อยให้ช่องว่างระหว่างแท่งสุดท้ายและด้านขวา/ล่างของแผนภาพ
- late
- ตรงข้ามกับ early: จะวางแท่งสุดท้ายไปจนถึงด้านขวา/ล่างของแผนภาพให้มากที่สุดเท่าที่ได้ โดยเหลือช่องว่างระหว่างเส้นแกน (ด้านซ้าย/บนของแผนภาพ) และแท่งแรก
- justify
- แท่งแรกกับสุดท้ายจะวางให้ห่างกันมากที่สุดเท่าที่ได้ โดยไม่เหลือช่องว่างทั้งสองด้านของแผนภาพ เมื่อมีแท่งเดียวอยู่ justify จะตีความว่า "จัดกลาง"
ตัวอย่าง
TimeAxis = orientation:horizontal | TimeAxis = orientation:vertical | |||||
Alignbars = |
BackgroundColors
แก้คำสั่งงานนี้ทำให้สามารถระบุสีพื้นหลังสำหรับส่วนต่าง ๆ ของแผนภาพได้ id ของสีทั้งหมดควรนิยามก่อนโดยใช้ Colors
- canvas (O)
- ระบุสีพื้นหลังสำหรับทั้งภาพ
- bars (O)
- ระบุสีพื้นหลังสำหรับแท่งทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น
BackgroundColors = bars:darkgrey BackgroundColors = canvas:lightgrey bars:darkgrey BackgroundColors = canvas:lightgrey
BarData
แก้เป็นคำสั่งงานที่ไม่จำเป็นต้องมี ซุึ่งถ้ามีจะตัดสินว่าแท่งใดจะวาดบนแผนภาพและวาดในลำดับอย่างไร ถ้าไม่ใส่ แท่งจะวาดตามลำดับที่ปรากฏในคำสั่งงาน PlotData
แนะนำให้ใช้คำสั่งงานนี้สำหรับเส้นเวลาที่ซับซ้อน
- ช่วยให้การเรียงลำดับข้อมูลที่แสดงผลใหม่ง่ายขึ้น
- ชื่อแท่งที่ระบุใน PlotData สามารถตรวจสอบความสมเหตุสมผลกับรายการนี้ได้ จึงช่วยป้องกันข้อผิดพลาดการพิมพ์
- bar
- นิยาม bar id คำสั่งงานอื่น (ที่สำคัญได้แก่ PlotData) จะคาดหมาย id นี้เพื่ออ้างอิง นอกจากนี้ยังเป็นป้ายให้แสดงตามแกน ยกเว้นมีลักษณะประจำ text อยู่ bar id ไม่ควรมีช่องว่างใด ๆ คือ ให้ใช้อันเดอร์สกอร์แทน ซึ่งจะแปลงเป็นช่องว่างเช่นเดียวกับชื่อเรื่องบทความ
- text (O)
- เมื่อระบุ ลักษณะประจำนี้จะระบุข้อความให้นำเสนอตามแกน แทน bar id ดูกฎสำหรับ text input ข้อความอาจรวมลิงก์ฝังตัวหนึ่ง (ดู หมายเหตุ 1)
- link (O)
- ระบุลิงก์เว็บ (ดู หมายเหตุ 1) (ยูอาร์แอล) จะแสดงป้ายตามแกนเป็นลิงก์คลิกได้สีน้ำเงิน
หมายเหตุ
- ใช้ลักษณะประจำลิงก์ link หรือลิงก์ฝังตัวในลักษณะประจำ text อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น ห้ามใช้คู่กัน
ตัวอย่างเช่น
BarData = bar:Japan bar:US text:"United States" # refer in PlotData to bar "US" but show "United States" bar:China text:[[China]] # label China will be shown as blue clickable link to the English Wikipedia article about China
The following lines produce the same output (only reference in PlotData changes):
bar:US text:[[United_States]] bar:US text:"United States" link:http://www.wikipedia.org/wiki/United_States bar:United_States link:http://www.wikipedia.org/wiki/United_States
Colors
แก้คำสั่งงานนี้เปิดให้นิยามสีได้และรวมเข้าเป็น id หนึ่ง (ป้ายการระบุ) คำสั่งงานอื่นจะอ้างอิงสีด้วย id ที่เจาะจงในคำสั่งงานนี้ คำสั่งงานนี้คาดหมายนิยามสีตั้งแต่หนึ่งสีขึ้นไป โดยแต่ละสีคั่นด้วยบรรทัดเบี่ยง
- id
- คำสั่งงานอื่นจะใช้ id นี้ในการระบุสีของข้อความ แท่งหรือพื้นหลัง
- value
- บทนิยามสีแท้จริง ค่าสีอาจระบุได้ดังนี้
- ค่าคงตัวสีที่นิยามไว้ล่วงหน้า ซึ่งรองรับชื่อสีที่นิยามไว้ล่วงหน้า 32 สี (ดู หน้าสี Ploticus ที่มีนิยามค่าคงตัวเหล่านี้ทั้งหมด)
- rgb (red,green,blue): เจาะจง 3 จำนวนระหว่าง 0 (ต่ำสุด) ถึง 1 (สูงสุด)
- gray (value): ระบุจำนวนระหว่าง 0 (ดำ) ถึง 1 (ขาว)
- legend (O)
- ระบุข้อความว่าควรแสดงผลในคำอธิบายสัญลักษณ์ (legend) สำหรับสีนี้ ถ้าลักษณะประจำนี้ว่างจะไม่มีรายการใดปรากฏในคำอธิบายสัญลักษณ์ ดูกฎที่ Text Input
ตัวอย่าง
Colors = id:war value:red legend:War Period id:peace value:blue legend:Peace Time id:treaty value:rgb(0.6,0,0.6) id:lightgrey value:gray(0.9) id:darkgrey value:gray(0.1)
DateFormat
แก้คำสั่งงานนี้นิยามว่าวันที่ซึ่งระบุในคำสั่งงานอื่น ควรตีความอย่างไร
Dateformats ที่สมเหตุสมผลได้แก่
- dd/mm/yyyy
- วันเดือนปีจะตีความเป็นวัน/เดือน/ปี
- หมายเหตุ: รูปแบบนี้รองรับเฉพาะวันที่เริ่มต้นจาก 01/01/1800
- mm/dd/yyyy
- วันเดือนปีจะตีความเป็นเดือน/วัน/ปี
- หมายเหตุ: รูปแบบนี้รองรับเฉพาะวันที่เริ่มต้นจาก 01/01/1800
- yyyy
- ใช้ได้กับจำนวนเต็มตั้งแต่ -9999 ถึง +9999
ตัวอย่าง
DateFormat = mm/dd/yyyy
Define
แก้คำสั่งงานนี้เปิดให้นิยามค่าคงตัวข้อความ คือ การเขียนย่อสำหรับส่วนของรหัสสคริปต์ที่ปรากฏหลายครั้ง ค่าคงตัวข้อความควรขึ้นต้นด้วย $ (สัญลักษณ์ดอลลาร์) เสมอ
ตัวอย่าง
Define $broad = width:30 Define $narrow = width:10 Define $bardefaults = $broad fontsize:S
ImageSize (บังคับ)
แก้คำสั่งงานนี้นิยามขนาดโดยรวมของภาพสุดท้าย ให้ระบุค่าหน่วยเป็นการวัดสัมบูรณ์
- width
- ความกว้างของภาพสุดท้าย: สูงสุด 1600 พิกเซล ต่ำสุด 25 พิกเซล
- height
- ความสูงของภาพสุดท้าย: สูงสุด 1200 พิกเซล ต่ำสุด 25 พิกเซล
เพื่อให้เกิดความยืดหยุ่นสูงสุด คุณสามารถปล่อยให้สคริปต์คำนวณความสูงหรือความกว้างของภาพได้ โดยยึดตามจำนวนแท่งและเพิ่มปริมาณหน่วยเป็นพิกเซลตามจำนวนแท่ง ให้ระบุ height:auto (สำหรับแกนเวลาแนวนอน) หรือ width:auto (สำหรับแกนเวลาแนวตั้ง)
การระบุดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่งเมื่อจำนวนแท่งในเส้นเวลามีโอกาสเปลี่ยนแปลงครั้งแล้วครั้งเล่า หรือเพื่อรับประกันระยะห่างเท่ากันระหว่างแท่งในภาพที่มีแท่งแคบจำนวนมาก ซึ่งปริมาณของช่องว่างสีขาวที่ต่างกันจะเป็นจุดสังเกตได้ (ดูตัวอย่างจริง Template:Vocal and instrumental pitch ranges) หรือเพื่อให้แน่ใจว่าเส้นเวลาที่สัมพันธ์กันต่าง ๆ ใช้ระยะห่างเดียวกันระหว่างแท่ง ไม่ว่าจะมีบรรจุกี่แท่งก็ตาม (ดูตัวอย่างจริง List of popes (graphical)) กล่าวสั้น ๆ คือ การระบุดังกล่าวเป็นความคิดที่ดีในกรณีส่วนใหญ่
- barincrement
- ปริมาณหน่วยเป็นพิกเซลที่ควรเพิ่มเข้าขนาดภาพเมื่อมีแท่งเพิ่มขึ้นทุก 1 แท่งตามที่ระบุ (บังคับใส่และอนุญาตเฉพาะเมื่อใช้ร่วมกับ width:auto หรือ height:auto)
ตัวอย่าง
ImageSize = width:800 height:600 ImageSize = width:800 height:auto barincrement:30
Legend
แก้คำอธิบายสัญลักษณ์จะแสดงเฉพาะเมื่อมีคำสั่งงานนี้เท่านั้น มีวิธีนิยามลักษณะปรากฏและตำแหน่งของคำอธิบายสัญลักษณ์หลายวิธี ลักษณะประจำบางอย่างใช้ร่วมกันไม่ได้ (ดูด้านล่าง)
- orientation (O)
- ระบุเป็น hor[izontal] หรือ ver[tical] (ค่าโดยปริยาย)
- ข้อจำกัด: การจัดะเรียง = 'horizontal' และตำแหน่ง = 'right' ใช้ร่วมกันไม่ได้
- position (O)
- นิยามการจัดวางคำอธิบายสัญลักษณ์เมื่อเทียบกับพื้นที่แผนภาพ ให้ระบุเป็น top, bottom (ค่าโดยปริยาย) หรือ right
- ข้อจำกัด: การจัดะเรียง = 'horizontal' และตำแหน่ง = 'right' ใช้ร่วมกันไม่ได้
- columns (O)
- ระบุ 1, 2, 3 หรือ 4 เมื่อไม่ใส่ลักษณะประจำนี้ จำนวนสดมภ์จะมีการตัดสินดังนี้
- orientation horizontal : สดมภ์ลักษณะประจำจะใช้ไม่ได้ที่นี่ หน่วยทั้งหมดจะอยู่ในบรรทัดเดียวกัน
- orientation vertical :
- position right : หน่วยทั้งหมดจะอยู่ในสดมภ์เดียวกัน
- position top หรือ bottom : จำนวนสดมภ์ขึ้นอยู่กับจำนวนหน่วยที่ให้แสดง:
1-5 หน่วย: 1 สดมภ์, 6-10 หน่วย: 2 สดมภ์, 11 หน่วยขึ้นไป: 3 สดมภ์
ทิป: คุณอาจพิจารณาไม่ใส่ตัวแปรเสริมต่อไปนี้ก่อน แล้วจึงเพิ่มเมื่อการตั้งค่าโดยปริยายไม่เป็นที่น่าพอใจ
- columnwidth (O)
- นิยามระยะห่างระหว่างสดมภ์ คุณสามารถระบุระยะทางสัมบูรณ์ หรือระยะทางสัมพัทธ์ก็ได้ (คือเป็นร้อยละของความกว้างหน้า)
- ข้อจำกัด: จะละเลยตัวแปรเสริมนี้เมื่อนิยามหรือส่อความ columns = 1
- left (O)
- นิยามระยะทางระหว่างด้านซ้ายของคำอธิบายสัญลักษณ์และด้านซ้ายของหน้า คุณสามารถระบุระยะทางสัมบูรณ์ หรือระยะทางสัมพัทธ์ก็ได้ (คือเป็นร้อยละของความกว้างหน้า)
- top (O)
- นิยามระยะทางระหว่างด้านบนของคำอธิบายสัญลักษณ์และด้านล่างของหน้า คุณสามารถระบุระยะทางสัมบูรณ์ หรือระยะทางสัมพัทธ์ก็ได้ (คือเป็นร้อยละของความกว้างหน้า)
ตัวอย่าง
Legend = orientation:vertical position:bottom columns:3 columnwidth:140 Legend = orientation:horizontal position:bottom Legend = left:100 top:120 columns:3
LineData
แก้พบว่าบางเส้นเวลาขยายเกินช่วงเวลาที่แตกต่างกันแน่ชัดหลายช่วงเวลา การใช้เส้นแบ่งช่วงเวลาเหล่านี้อาจเป็นตัวช่วยการมองเห็นอย่างหนึ่ง
- at
- วาดเส้นตั้งฉากกับแกนเวลา (ค่าโดยปริยายมีความยาวสูงสุด ดูด้านล่างประกอบ)
ให้ระบุวันที่/ปีที่ควรวาดเส้นนี้ ให้เป็นไปตาม DateFormat ที่ระบุ - color
- ระบุสีที่ควรวาดเส้น
- หมายเหตุ: ควรนิยาม color id ที่ระบุก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors
- layer
- ระบุด้านหน้าหรือหลัง (ค่าโดยปริยาย) กำหนดว่าเส้นควรปรากฏหน้าหรือหลังแท่งเซกเมนต์เวลาทั้งหมด
- width
- ระบุค่าระหว่าง 0.1 (บางมาก) ถึง 10 (หนามาก)
ลักษณะประจำต่อไปนี้มีความจำเป็นน้อยมากในการเพิ่มความยืดหยุ่นให้สูงสุด
ตัวเลือกการวางตำแหน่งขั้นสูง
คุณสามารถวาดเส้นในทิศทางใดก็ได้ มีตัวเลือกต่อไปนี้ให้ใช้
- ตั้งฉากกับแกนเวลา โดยตั้งจุดเริ่มและสิ้นสุดได้ตามใจ: at:date frompos:position tillpos:position
- ขนานกับแกนเวลา โดยตั้งจุดเริ่มและสิ้นสุดได้ตามใจ from:date till:date atpos:position
- ในทิศทางใดก็ได้ โดยตั้งจุดเริ่มและสิ้นสุดได้ตามใจ: points:(x1,y1)(x2,y2)
ลักษณะประจำ at, from และ till คาดหมายวันที่หรือปี โดยเป็นไปตาม DateFormat ที่ระบุ
ลักษณะประจำ frompos, tillpos, atpos คาดหมายพิกัด (เช่น ค่าพิกเซล)
ตัวอย่าง
LineData = layer:front # all lines in front of bars unless stated otherwise at:1 color:yellow # perpendicular to time axis full length at:2 color:orange layer:back # perpendicular to time axis full length but behind bars at:4 frompos:50 tillpos:105 color:green # perpendicular to time axis, with specified start and stop points from:5 till:8 atpos:50 color:red # parallel to time axis points:(100,20)(170,105) color:blue width:3 # from one arbitrary absolute position to another, extra thick
- สังเกตว่าในตัวอย่างข้างต้น มีการลงจุด "ตำแหน่งสัมบูรณ์" ในบริบทของ
ImageSize = width:200 height:120
และPlotArea = left:20 right:10 top:10 bottom:20
- สังเกตว่าในตัวอย่างข้างต้น มีการลงจุด "ตำแหน่งสัมบูรณ์" ในบริบทของ
Period (บังคับ)
แก้นิยามช่วงเวลาที่จะแสดงในแผนภาพ ตัวแปรเสริมทั้งสองเป็นตัวแปรเสริมบังคับ ระบุวันที่ให้สอดคล้องกับ DateFormat ที่ระบุ
- from
- จุดเริ่มต้นของเส้นเวลา ค่าที่ระบุสามารถอ้างอิงเป็น start ในคำสั่งงานอย่าง PlotData และ TextData
- till
- จุดสิ้นสุดของเส้นเวลา ค่าที่ระบุสามารถอ้างอิงเป็น end ในคำสั่งงาน
ตัวอย่าง
Period = from:01/09/1939 till:02/09/1945
PlotArea (บังคับ)
แก้- width
- ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ (อย่าใช้อีก ดูด้านล่าง)
- height
- ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ (อย่าใช้อีก ดูด้านล่าง)
- left
- ขอบระหว่างด้านซ้ายของภาพและด้านซ้ายของพื้นที่ลงจุด ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
- top
- ขอบระหว่างด้านบนของภาพและด้านบนของพื้นที่ลงจุด ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
- right
- ขอบระหว่างด้านขวาของภาพและด้านขวาของพื้นที่ลงจุด ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
- bottom
- ขอบระหว่างด้านล่างของภาพและด้านล่างของพื้นที่ลงจุด. ระบุค่าเป็นการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
ลักษณะประจำ width/height
ลักษณะประจำเหล่านี้สงวนไว้สำหรับความเข้ากันได้ทางลง ก่อนหน้านี้พื้นที่ลงจุดสามารถนิยามได้เฉพาะด้วย "ความกว้าง" และ "ความสูง" และขอบ "ซ้าย" และ "ขวา" ปัจจุบันคุณสามารถระบุขอบทั้งสี่ได้ และเป็นสิ่งที่แนะนำให้ทำด้วย อย่าใช้ลักษณะประจำ width และ height ข้อดีคือมีความยืดหยุ่นเพิ่มขึ้น คือ เมื่อคุณเปลี่ยนแปลงขนาดภาพรวม คุณไปจำเป็นต้องปรับนิยามพื้นที่ลงจุดตามไปด้วย ซึ่งมีความสำคัญยิ่งขึ้นเมื่อขนาดภาพมีการคำนวณอัตโนมัติ ดู ImageSize)
ตัวอย่าง
# e.g. extra space to the left and below the plot area for axis labels and legend PlotArea = left:40 bottom:60 top:10 right:10
PlotData
แก้ใช้นิยามแท่ง (เป็นสัญลักษณ์ของช่วงเวลา) และเพิ่มข้อความถัดจากแท่งเหล่านี้ในตำแหน่งจำเพาะ
สำหรับข้อความซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับช่วงเวลาหรือวันที่/ปีหนึ่ง ๆ หรือช่วงเวลาหรือเดือน/ปีนั้นต้องการการจัดรูปแบบอย่างกว้างขวาง ให้ใช้คำสั่งงาน TextData
ข้อความลักษณะประจำ at, from และ till จะใช้ได้เฉพาะกับบรรทัดที่ปรากฏเท่านั้น ลักษณะประจำอื่นทั้งหมด เมื่อไม่ได้ใช้ร่วมกับลักษณะประจำดังกล่าว จะใช้เป็นค่าโดยปริยายสำหรับบล็อกคำสั่งงานที่เหลือ หรือเมื่อระบุค่าโดยปริยายใหม่ และอาจมีการเขียนทับสำหรับบรรทัดหนึ่ง ๆ ได้ ดูสารสนเทศเพิ่มเติมและตัวอย่างที่ ตัวแปรเสริมกับไอเท็มข้อมูล
PlotData ยอมรับลักษณะประจำจำนวนมาก ซึ่งบางส่วนใช้ร่วมกันไม่ได้ ลักษณะประจำเหล่านี้สามารถจัดกลุ่มได้ดังนี้
- ลักษณะประจำบอกตำแหน่ง
- ลักษณะประจำที่เกี่ยวกับแท่ง
- ลักษณะประจำข้อความ
- ลักษณะประจำตัวทำเครื่องหมาย
ลักษณะประจำบอกตำแหน่ง
แก้- at
- ระบุว่าข้อความควรจัดวางไว้ที่วันที่/ปีใด สามารถจัดข้อความให้เริ่มต้น สิ้นสุดหรือจัดกลาง ณ ตำแหน่งนี้ได้โดยขึ้นอยู่กับลักษณะประจำ align ใช้รูปแบบวันที่/ปีตามที่ระบุไว้ใน DateFormat หรือระบุ start หรือ end ซึ่งพาดพิงถึงกรอบเวลาที่นิยามโดยคำสั่งงาน Period
- NB: ลักษณะประจำนี้ไม่สามารถใช้ร่วมกับลักษณะประจำ from หรือ till
- from
- ระบุว่าแท่งควรเริ่มที่วันที่/ปีใด ใช้รูปแบบวันที่/ปีตามที่ระบุใน DateFormat หรือระบุ start ซึ่งพาดพิงถึงกรอบเวลาที่นิยามด้วยคำสั่งงาน Period
- NB: ลักษณะประจำนี้ควรใช้ร่วมกับลักษณะประจำ till และไม่สามารถใช้ร่วมกับลักษณะประจำ at
- till
- ระบุว่าแท่งควรสิ้นสุดที่วันที่/ปีใด ใช้รูปแบบวันที่/ปีตามที่ระบุใน DateFormat หรือระบุ end ซึ่งพาดพิงถึงกรอบเวลาที่นิยามด้วยคำสั่งงาน Period
- NB: ลักษณะประจำนี้ควรใช้ร่วมกับลักษณะประจำ from และไม่สามารถใช้ร่วมกับลักษณะประจำ at
- shift
- ระบุการกระจัดแนวนอนและแนวตั้งในแง่การวัดสัมบูรณ์สำหรับข้อความ ทำให้
- มีการเลื่อนข้อความเพื่อเลี่ยงการซ้อนทับ
- วางข้อความอยู่ข้างแท่ง ไม่ใช่บนแท่ง
ตัวอย่าง
PlotData= bar:Japan from:start till:19/02/1945 color:JT bar:Japan from:19/02/1945 till:14/03/1945 color:AI bar:Japan from:02/09/1945 till:end color:AO at:07/12/1941 shift:(0,-15) text:"<-- WW2 reaches Asia"
ลักษณะประจำที่เกี่ยวกับแท่ง
แก้- bar
- ระบุว่าลักษณะประจำอื่นทั้งหมดจะใช้กับแท่งใด
- เมื่อไม่ใช้คำสั่งงาน BarData จะวาดแท่งในลำดับที่ปรากฏในบล็อกข้อมูล PlotData; id ที่ระบุตรงนี้จะเป็นข้อความที่นำเสนอตามแกนด้วย ถัดจากแท่ง
- เมื่อใช้คำสั่งงาน BarData จะนำเสนอแท่งในลำดับที่ระบุไว้ตรงนี้ นอกจากนี้ bar id ที่ระบุตรงนี้จะมีการตรวจสอบความสมเหตุสมผลกับรายการนั้นด้วย เช่นเดียวกับข้อความที่นำเสนอตามแกนจะขึ้นอยู่กับการนิยามใน BarData
- barset
- ตั้งการแสดงผลแท่งใหม่ "จากบนสุด" ทำให้มีหลายแท่งปรากฏในบรรทัดเดียวกันได้ วากยสัมพันธ์เป็นดังนี้ barset:name
อาจเพิ่มบรรทัดว่างเพื่อข้ามบรรทัดที่คุณไม่ต้องการเพิ่มที่มีการตกแต่ง อย่างเช่น at:1234 โดยไม่มีลักษณะประจำเพิ่ม - color
- ระบุสีที่ควรวาดแท่ง
- ควรนิยาม color id ก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors
- width
- ระบุความกว้างของแท่งในการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์
ตัวอย่าง
BarData= bar:US text:United States bar:SB text:Sea Battles Colors= id:US value:blue legend:United_States id:SB value:rgb(0.8,0,0.7) legend:Sea_Battles PlotData= width:0.3 # see note 1 bar:SB from:07/08/1942 till:09/02/1943 text:Guadalcanal color:SB # see note 2 bar:US from:start till:end color:US # see note 3 bar:Midway from:start till:end color:US # see note 4 bar:US at:07/12/1941 text:7/12 Pearl Harbour # see note 5
หมายเหตุ:
- บรรทัดนี้ตั้งความกว้างแท่งโดยปริยายสำหรับบล็อกข้อมูลที่เหลือ
- บรรทัดนี้เจาะจงให้วาดแท่ง ให้วางข้อความบนแท่งไปพร้อมกัน
- จะมีการวาดแท่ง US ก่อนแท่ง SB แม้เมื่อระบุไว้หลังแท่ง US ทั้งนี้ เพราะคำสั่งงาน BarData ตัดสินลำดับที่ปรากฏ
- จะปฏิเสธแท่ง Midway เพราะไม่มีการประกาศด้วยคำสั่งงาน BarData
- บรรทัดสุดท้ายจะไม่ส่งผลให้มีการลงจุดแท่ง เพียงแต่ระบุว่าข้อความควรวางไว้บนแท่งใดเท่านั้น
ลักษณะประจำข้อความ
แก้- text
- นิยามข้อความหนึ่งว่าควรลงจุดไว้บนหรือใกล้แท่ง สามารถนิยามตำแหน่งหลักยึดได้ไม่ว่าโดยชัดเจนด้วยลักษณะประจำ "
at
" หรือโดยอ้อมด้วยลักษณะประจำ "from
" และ "till
" ก็ได้ - ซึ่งในกรณีหลัง ข้อความจะวางตำแหน่งอยู่กึ่งกลางของส่วนแท่งที่นิยาม ดูกฎที่ Text Input
- ข้อความอาจรวมลิงก์ฝังตัว (ดู หมายเหตุ 1 และ 2) สำหรับการใช้ในแผนที่คลิกได้
- textcolor (O)
- นิยามสีของข้อความ id สีที่ระบุควรนิยามก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors เมื่อไม่ระบุจะสันนิษฐานสีดำ
- fontsize (O)
- ระบุขนาดเป็นหน่วยระหว่าง 6 และ 30 หรือ (ที่แนะนำมากกว่า) ใช้ป้ายระบุหนึ่งจากตัวเลือกต่อไปนี้ XS, S (ค่าโดยปริยาย), M, L หรือ XL. ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Font Support
- align (O)
- ระบุเป็น center (ค่าโดยปริยาย), left หรือ right
- link (O)
- ระบุลิงก์เว็บ (ดู หมายเหตุ 1) (ยูอาร์แอล) สำหรับใช้ในแผนที่คลิกได้ ข้อความจะแสดงเป็นลิงก์คลิกได้สีน้ำเงิน
หมายเหตุ
- ใช้ลิงก์แสดงที่มา หรือลิงก์ฝังตัวในข้อความแสดงที่มาอย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้คู่กันไม่ได้
- ในภาพพีเอ็นจี จะแสดงลิงก์คลิกได้ลิงก์เดียวต่อส่วนข้อความ (ข้อความที่มีการแบ่งบรรทัด (~) จะมีหลายส่วน)
ตัวอย่าง
PlotData= bar:US at:07/12/1941 align:left textcolor:black fontsize:XS text:7/12 [[Pearl Harbour]]
จะได้ผลเหมือนกับ
PlotData= bar:US at:07/12/1941 align:left textcolor:black fontsize:XS text:"7/12 Pearl Harbour" link:http://www.wikipedia.org/wiki/Pearl_Harbour
ลักษณะประจำตัวทำเครื่องหมาย
แก้- mark
- วางตัวทำเครื่องหมายในแท่ง ณ ตำแหน่งที่ระบุ ระบุเป็น mark:(symbol, color) ค่าสำหรับ symbol ที่รองรับอย่างเดียวจนถึงปัจจุบันคือ line; id สี ที่ระบุควรนิยามก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors เมื่อไม่ระบุ จะสันนิษฐานสีดำ
ตัวอย่าง
PlotData= bar:test width:15 color:red from:1900 till:2000 at:1990 mark:(line,white)
จะแสดงเป็น
ScaleMajor
แก้คำสั่งงานนี้แบ่งเส้นเวลาออกเป็นช่วงเวลาขนาดเล็ก ๆ โดยอาจ
- แบ่งทางกราฟิก ผ่านเส้นตั้งหรือนอนบาง ๆ ในแผนภาพ
- แบ่งทางตัวบท ผ่านโครงในแกนเวลา ใต้หรือด้านซ้ายของแผนภาพ
- ทั้งทางกราฟิกและตัวบท
หมายเหตุ: การบอกทิศทางของบรรทัด และ/หรือ การวางโครงขึ้นอยู่กับทิศทางของ TimeAxis
- gridcolor (O)
- นิยามสีสำหรับเส้นกริด เมื่อไม่ใช้ลักษณะประจำนี้จะไม่วาดเส้นกริด
- หมายเหตุ: ควรนิยาม id สีที่ระบุก่อนด้วยคำสั่งงาน Colors
- unit (O)
- ระบุหน่วยที่การเว้นช่วงกริดเพิ่มขึ้น ระบุเป็น day, month หรือ year (ค่าโดยปริยาย)
- หมายเหตุ: เมื่อระบุ DateFormat เป็น yyyy จะอนุญาตเฉพาะหน่วย year เท่านั้น
- increment (O)
- ระบุจำนวนหน่วยที่การเว้นช่วงกริดเพิ่ม ค่าโดยปริยายเป็น 1
- start (O)
- ระบุว่าควรแสดงเส้นกริด และ/หรือ โครงแรกที่ใด ค่าโดยปริยายคือจุดเริ่มต้นของ Period ที่นิยาม
ตัวอย่าง
ScaleMajor = gridcolor:red start:1940 ScaleMajor = gridcolor:red unit:month increment:3 start:01/09/1939
ScaleMinor
แก้คำสั่งงานนี้นิยามการแบ่งมาตราเวลาย่อยลงไป ดูวากยสัมพันธ์ที่ ScaleMajor
ตัวอย่าง
ScaleMajor = grid:red unit:year increment:1 start:01/01/1940 ScaleMinor = grid:blue unit:month increment:3 start:01/10/1939
TextData
แก้ใช้เพื่อนิยามบล็อกข้ัอความที่สามารถจัดตำแหน่งที่ใดก็ได้ในแผนภาพ
- text
- ข้อความจริง ดูกฎที่ Text Input ข้อความอาจรวมลิงก์ฝังตัว (ดู หมายเหตุ 1 และ 2)
- pos
- นิยามมุมซ้ายบนของบล็อกข้อความในการวัดสัมบูรณ์หรือสัมพัทธ์ นิยามเป็น pos:(x,y)
- link (O)
- ระบุลิงก์เว็บ (ดู หมายเหตุ 1) (ยูอาร์แอล) สำหรับใช้ในแผนที่คลิกได้ ป้ายตามแกนจะแสดงเป็นลิงก์คลิกได้สีน้ำเงิน
- textcolor (O)
- นิยามสีของข้อความ id สีที่ระบุควรนิยามก่อนโดยใช้ Colors เมื่อไม่ระบุจะเป็นสีดำ
- fontsize (O)
- ระบุขนาดหน่วยเป็นจุดระหว่าง 6 ถึง 30 หรือ (แนะนำมากกว่า) ให้ใช้ป้ายะระบุหนึ่งจากตัวเลือกต่อไปนี้ XS, S (ค่าโดยปริยาย), M, L or XL (ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Font Support)
- tabs (O)
- นิยามตำแหน่งและการปรับแนวของอักขระแถบได้แก่ ^ (caret) ระบุการตั้งค่าแถบหลายค่าเป็นแถบ ดังนี้ (x1-a1,x2-a2,x3-a3, etc..) โดยที่
- xn เป็นการกระจัดแนวนอนในการวัดสัมบูรณ์จากฝั่งซ้ายของข้อความ
- an เป็นการปรับแนวของส่วนข้อความ (ระบุเป็น center, left หรือ right)
- lineheight (O)
- นิยามการจัดช่องว่างระหว่างบรรทัดติดกันในการวัดสัมบูรณ์ ระบุค่าสูงสุด 40 พิกเซลหรือ 0.4in เมื่อไม่ระบุ lineheight โดยปริยายจะยึดตามขนาดอักษรที่กำลังใช้อยู่
หมายเหตุ:
- ใช้ลักษณะประจำ link หรือลิงก์ฝังตัในลักษณะประจำ text อย่างใดอย่างหนึ่ง ใช้ด้วยกันไม่ได้
- ในภาพพีเอ็นจี จะแสดงลิงก์คลิกได้ลิงก์เดียวต่อส่วนข้อความ (ข้อความที่มีแถบ (^) มีหลายส่วน)
ตัวอย่าง
TextData =
pos:(20,67) textcolor:black fontsize:S
tabs:(10-right,14-left,50-left,90-left,230-left)
text:^1^1940^27/9^Germany,Italy and Japan sign [[Tripartite Pact]]
text:^10^1944^1-22/7^Bretton Woods 44 nations establish
text:^^^^^IMF and World Bank
จะแสดงเป็น
TimeAxis
แก้นิยามทิศทางของแกนเวลา และการนำเสนอเค้าโครงของโครงตามแกนนั้น
- format (O)
- ระบุว่าวันที่ควรนำเสนอในรูปแบบใดตามแกนเวลา
- ปัจจุบันรองรับเฉพาะ yyyy (ค่าโดยปริยาย)
- orientation (O)
- ระบุเป็น hor[izontal] (ค่าโดยปริยาย) หรือ ver[tical]
- order (O)
- ระบุ reverse เป็นตัวเลือกสำหรับกลับการไหลของเวลา
ตัวอย่าง
TimeAxis = orientation:horizontal format:yyyy
การตั้งล่วงหน้า
แก้ปัจจุบันมีการตั้งล่วงหน้าสองแบบ ได้แก่
- Preset = TimeVertical_OneBar_UnitYear ซึ่งขยายเป็น
PlotArea = left:45 right:10 top:10 bottom:10 TimeAxis = orientation:vertical format:yyyy DateFormat = yyyy ; AlignBars = early ScaleMajor = unit:year ScaleMinor = unit:year PlotData = mark:(line,white) align:left fontsize:S width:20 shift:(20,0)
- Preset = TimeHorizontal_AutoPlaceBars_UnitYear ซึ่งขยายเป็น
ImageSize = height:auto barincrement:20 PlotArea = left:25 right:25 top:15 bottom:30 TimeAxis = orientation:horizontal format:yyyy Colors = id:canvas value:gray(0.7) id:grid1 value:gray(0.4) id:grid2 value:gray(0.2) BackgroundColors = canvas:canvas DateFormat = yyyy ; AlignBars = justify ScaleMajor = unit:year grid:grid1 ScaleMinor = unit:year Legend = orientation:vertical left:35 top:130 PlotData = align:left anchor:from fontsize:M width:15 shift:(4,-6) textcolor:black
กฎการป้อนเข้า
แก้
มาตราสำหรับขนาดและตำแหน่ง
แก้อาจใช้ การวัดสัมบูรณ์ เพื่อระบุขนาด ตำแหน่งและการเปลี่ยนตำแหน่งได้ โดยวัดหน่วยเป็นพิกเซล
ตัวอย่าง
PlotArea = width:800 height:600 left:50 bottom:50
การวัดสัมพัทธ์อาจใช้ระบุขนาดและตำแหน่ง ระบุจำนวนระหว่าง 0 ถึง 100 แล้วตามด้วยเครื่องหมาย % (ร้อยละ) ทันที โดยห้ามเว้นวรรค สำหรับการวัดแนวนอน ร้อยละจะสัมพันธ์กับความกว้างของภาพ การวัดแนวตั้งสัมพันธ์กับความสูงของภาพ
พิกัดแรกเป็นการวัดแนวนอนจากซ้ายไปขวา พิกัดที่สองเป็นการวัดแนวนอนจากล่างขึ้นบน
ตัวอย่าง
PlotArea = width:80% height:80% left:10% bottom:5%
ข้อความรับเข้า
แก้ข้อความรับเข้ามีกฎดังนี้
1. อนุญาตเฉพาะบางส่วนของยูนิโค้ดสำหรับการเรนเดอร์ชุดแบบอักษร แต่ยูนิโค้ดในลิงก์ควรใช้การได้สำหรับอักขระทุกตัว ดูที่ font support
2. เมื่อข้อความควรมีช่องว่าง ให้ระบุโดยใช้อันเดอร์สกอร์หรือวางข้อความระหว่างอัญประกาศคู่
- ข้อยกเว้น: เมื่อลักษณะประจำเป็นลักษณะประจำสุดท้ายบนบรรทัด อนุญาตให้ทีช่องว่างได้ (จะไม่เกิดความสับสนเมื่อข้อความหยุดแล้วเริ่มลักษณะประจำถัดไป กล่าวคือ ไม่มีทวิภาคในข้อความ)
ตัวอย่าง: (ต่อไปนี้เทียบเท่ากันหมด)
BarData = text:Japanese_mandate_since_1914 bar:Marshalls BarData = text:"Japanese mandate since 1914" bar:Marshalls BarData = bar:Marshalls text:Japanese mandate since 1914
3. ในบรรทัดข้อมูลถัดจากคำสั่งงาน TextData มีอักขระหนึ่งที่มีความหมายพิเศษ
- ^ (caret) หมายถึง "แถบ"
ตัวอย่างที่แสดงแถบ
TextData = tabs:(4-right,12-right,14-left,34-left) text:^1^1940^27/9^Berlin Ger,It,Jap sign Tripartite Pact text:^10^1944^1-22/7^Bretton Woods 44 nations establish text:^^^^^IMF and World Bank # will be shown as: # # 1 27/9 Berlin Ger,It,Jap sign Tripartite Pact # 10 1-22/7 Bretton Woods 44 nations establish # IMF and World Bank
แผนที่คลิกได้
แก้รูปแบบออกที่มีทั้งสองอย่างในมีเดียวิกิ คือ พีเอ็นจีและเอสวีจี สามารถบรรจุลิงก์คลิกได้ ข้อความที่แสดงด้วยสีน้ำเงินและแท่ง สามารถคลิกได้ เพื่อไปยังหน้าเว็บอื่น
สามารถระบุลิงก์ได้ด้วยคำสั่งงาน BarData, PlotData และ TextData, ไม่ว่าโดยใช้ลักษณะประจำ link หรือเป็นลิงก์ฝังตัว โดยทางลักษณะประจำ text
คุณสามารถลิงก์ได้ลิงก์เดียวต่อส่วนข้อความหนึ่ง
ลิงก์ฝังตัว
แก้ลิงก์ฝังตัวเป็นลิงก์ที่เป็นส่วนหนึ่งของข้อความแสดงผลได้ ระบุด้วย ลักษณะประจำ text ส่วนลิงก์ชัดเจน (เฉพาะยูอาร์แอล) นิยามด้วยลักษณะประจำ link
สามารถระบุลิงก์ทั้งสองประเภทได้ด้วยคำสั่งงาน BarData, PlotData และ TextData และใช้สำหรับ แผนที่คลิกได้
ในลิงก์ฝังตัว ลีลาลิงก์ภายในเป็นปกติ ลีลาลิงก์ข้ามโครงการจะไม่ทำงาน ลีลาลิงก์ภายนอกเป็นปกติโดยใช้วงเล็บเดี่ยว แต่ที่นี่ใช้ไพป์แทนช่องว่าง
ตัวอย่าง
text:example [[Help:Link]] internal link
จะแสดงผลเป็น
text:[[Help:Link|Link]]
จะแสดงผลเป็น
text:[http://en.wikipedia.org/wiki/Rembrandt|Rembrandt van Rijn] paints Night Watch
จะแสดงผลเป็น
เมื่อพยายามใช้ลีลาลิงก์ข้ามโครงการ
text:[[Main_Page]]
พร้อมกับ nl: และ m: จะได้
ลิงก์ที่สามไปยังเมทาวิกิพีเดียทำงานได้เหมาะสม ยกเว้นจากเมทาเอง ลิงก์อื่นทำงานเหมือนกับหน้าหลัก (หน้าภายใน ไม่ใส่คำนำหน้า) หรือเช่น //th.wikipedia.org/w/Main_Page (จะได้ว่า "ไม่พบไฟล์" ) โดยขึ้นอยู่กับยูอาร์แอลของหน้าที่โยงมา (เช่น ต่างกันสำหรับหน้าดูตัวอย่างและหน้าผลต่าง)
อักขระพิเศษ:
ช่องว่างและอันเดอร์สกอร์ในยูอาร์แอลควรเขียนเป็น %20
อักขระ tilde (~) ปกติตีความเป็นการแบ่งบรรทัด เมื่อ tilde เป็นส่วนหนึ่งของยูอาร์แอล ให้เขียนว่ามี tilde 2 ตัว
ตัวอย่างลิงก์ไป www.site.com/~mysite ให้เขียนเป็น
text:[www.site.com/~~mysite|My site]
เครื่องหมายนัมเบอร์ (#) ปกติตีความเป็นจุดเริ่มต้นความเห็น ถ้าเครื่องหมายนัมเบอร์เป็นส่วนหนึ่งของยูอาร์แอลให้แน่ใจว่าข้อความฝังตัวในอัญประกาศคู่ ดังนี้
text:"More at [www.site.com/~~mysite#section2|My site]"
อันที่จริงการใส่ข้อความในอัญประกาศคู่เสมออาจเป็นความคิดที่ดี
การรองรับชุดอบบอักษร
แก้Timeline มีการรองรับยูนิโค้ดค่อนข้างจำกัด คือใช้ชุดแบบอักษร FreeSans.ttf ซึ่งรองรับกลิฟ (glyph) บางส่วน ไม่มีชุดแบบอักษรในขณะนี้
ตัวอย่าง
ImageSize = width:180 height:90
PlotArea = width:180 height:90 left:0 bottom:0
TimeAxis = orientation:vertical #dummy
Colors =
id:gray value:gray(0.95)
Backgroundcolors = canvas:gray
Period = from:1 till:2 # dummy
TextData=
pos:(10,90) fontsize:L text:"维基百科"
pos:(10,70) fontsize:L text:"Zażółć gęślą jaźń"
pos:(10,50) fontsize:L text:"ウィキペディア"
จะแสดงเป็น
เนื่องจากเป็นมรดกของการใช้ชุดแบบอักษรบิตแมพ จึงมีป้ายระบุชุดแบบอักษรนิยามล่วงหน้าเพียงห้าชุด จะเรนเดอร์ที่ขนาดต่างกันเล็กน้อยในภาพพีเอ็นจีและเอสวีจีเพื่อผลิตความน่าอ่านเหมาะที่สุดสำหรับแพลตฟอร์มทั้งสอง แนะนำให้ใช้ป้ายระบุเหล่านี้แทนจำนวนทุกเมื่อที่เป็นไปได้ ได้แก่ XS=เล็กมาก, S=เล็ก (ค่าโดยปริยาย), M=กลาง, L=ใหญ่, XL=ใหญ่มาก
นี่เป็นรุ่นที่แปลงเป็นวิกิของ เอกสารประกอบ EasyTimeline ดั้งเดิม