วิธีสยาม หรือวิธีเดอ ลา ลูแบร์ (อังกฤษ: Siamese method , De la Loubère method) เป็นวิธีการง่าย ๆ ในการสร้างจัตุรัสกล (จัตุรัสตัวเลขซึ่งผลรวมของทุกแถว คอลัมน์ และทแยงมุมมีค่าเท่ากัน) ที่มีความกว้างและยาวเป็นจำนวนคี่ใด ๆ วิธีการดังกล่าวถูกนำสู่ฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1688 โดยนักคณิตศาสตร์และทูตชาวฝรั่งเศส ซีมง เดอ ลา ลูแบร์[1] เมื่อเขาเดินทางกลับประเทศหลังการเดินทางมาเป็นคณะทูตที่ราชอาณาจักรสยามเมื่อปี ค.ศ. 1687[2][3][4] วิธีสยามทำให้การสร้างจัตุรัสกลเป็นไปอย่างตรงไปตรงมา
ขั้นแรก จำเป็นต้องเลือกลำดับเลขคณิตขึ้นมาเสียก่อน (ตัวอย่างง่าย ๆ เช่น ลำดับเลขคณิต 1,2,3,4,5,6,7,8,9 สำหรับจัตุรัสขนาดสามคูณสาม)
จากนั้น เริ่มต้นจากช่องกลางของแถวแรกด้วยหมายเลข 1 (หรือตัวเลขแรกของลำดับเลขคณิตใด ๆ ที่เลือกมา) หัวใจของวิธีการในการเติมตัวเลขในช่องทั้งหมดคือการเติมตัวเลขในแนวทแยงขึ้นขวา (↗) ไปทีละช่อง หากทแยงขึ้นไปแล้วจะตกจัตุรัส ให้พับไปยังแถวสุดท้ายหรือคอลัมน์แรกตามลำดับ
หากเติมทแยงแล้วไปเจอช่องที่เติมตัวเลขไว้แล้ว ให้เติมช่องที่อยู่ต่ำลงมาหนึ่งช่อง (↓) แทน จากนั้นจึงเติมตัวเลขต่อไปตามวิธีเดิม
จัตุรัสกลขนาด 3 คูณ 3
แก้
จัตุรัสกลขนาด 5 คูณ 5
แก้
|
Step 5
|
|
|
1 |
8 |
15
|
|
5 |
7 |
14 |
|
4 |
6 |
13 |
|
|
10 |
12 |
|
|
3
|
11 |
|
|
2 |
9
|
|
Step 6
|
17 |
24 |
1 |
8 |
15
|
23 |
5 |
7 |
14 |
16
|
4 |
6 |
13 |
20 |
22
|
10 |
12 |
19 |
21 |
3
|
11 |
18 |
25 |
2 |
9
|
|
- ↑ Higgins, Peter (2008). Number Story: From Counting to Cryptography. New York: Copernicus. p. 54. ISBN 978-1-84800-000-1. footnote 8
- ↑ Mathematical Circles Squared" By Phillip E. Johnson, Howard Whitley Eves, p.22
- ↑ CRC Concise Encyclopedia of Mathematics By Eric W. Weisstein, Page 1839 [1]
- ↑ The Zen of Magic Squares, Circles, and Stars By Clifford A. Pickover Page 38 [2]