การวิจารณ์ภาพยนตร์

(เปลี่ยนทางจาก วิธีวิพากษ์ภาพยนตร์)

การวิจารณ์ภาพยนตร์ หรือ การวิพากษ์ภาพยนตร์ (อังกฤษ: Film criticism) เป็นการวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของภาพยนตร์และสื่อภาพยนตร์ คำศัพท์นี้มักใช้สลับกับคำว่า 'การรีวิวภาพยนตร์' (film review) การรีวิวภาพยนตร์ มีความหมายแฝงถึงการแนะนำซึ่งมุ่งเป้าหมายที่ผู้บริโภค มักจะเขียนเชิงพรรณนาและตัดสินภาพยนตร์ใหม่เพียงเรื่องเดียว การวิจารณ์ภาพยนตร์ ไม่ได้มีรูปแบบของการรีวิว มักเป็นการวิเคราะห์ภาพยนตร์เรื่องนั้น ๆ ในเชิงประวัติศาสตร์ของการพัฒนาและเชื่อมโยงกับบริบทดั้งเดิม ความสำคัญและความหมายของภาพยนตร์ในเชิงคุณค่าและประสบการณ์จากการพัฒนาผ่านประเด็นหลักของภาพยนตร์ (เช่น แก่นเรื่อง การเล่าเรื่อง ตัวละคร) การเชื่อมโยงกับองค์ประกอบของภาพยนตร์ และการเชื่อมโยงกับสังคมและวัฒนธรรม [1]: 15–16 

โดยทั่วไปการวิจารณ์ภาพยนตร์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ การวิจารณ์ทางสื่อมวลชนซึ่งมักปรากฏในหนังสือพิมพ์ นิตยสาร สื่อมวลชนอื่นที่เป็นที่นิยม และหนังสือ [1]: 17–19  และการวิจารณ์เชิงวิชาการโดยนักวิชาการที่มีการค้นคว้าทฤษฎีภาพยนตร์และตีพิมพ์บทความในวารสารวิชาการ การวิจารณ์ภาพยนตร์เชิงวิชาการมักไม่ใช้รูปแบบของการรีวิว แต่มักจะวิเคราะห์ภาพยนตร์และแสดงมุมมองต่าง ๆ ในทางประวัติศาสตร์หรือภูมิหลังของภาพยนตร์ตามประเภทภาพยนตร์ (genre) นั้นๆ หรือประวัติของภาพยนตร์ของภาพยนตร์ทั้งหมด [2]

การวิจารณ์ทางสื่อมวลชน แก้

การวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์ แก้

นักวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์ แก้

เว็บไซต์ อย่างเช่น รอตเทน โทเมโทส์ และ เมทาคริติก พยายามหาวิธีใช้ประโยชน์ของการรีวิวภาพยนตร์โดยรวบรวมข้อมูลจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่ง ประมวลแหล่งข้อมูล และกำหนดวิธีให้คะแนนเพื่อวัดการรับรู้ภาพยนตร์ที่ได้รับผ่านทางออนไลน์ [3]

บล็อกได้เปิดโอกาสให้แก่นักวิจารณ์สมัครเล่นคลื่นลูกใหม่ในการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพยนตร์ บล็อกที่รีวิวภาพยนตร์อาจมุ่งเน้นเฉพาะประเภทภาพยนตร์ ผู้กำกับ นักแสดง หรือเฉพาะภาพยนตร์ในหมวดหมู่ที่สนใจ เพื่อน เพื่อนของเพื่อน หรือผู้อ่านทั่วไปสามารถเข้าเยี่ยมบล็อกและมักจะให้ความคิดเห็นของตนเกี่ยวกับภาพยนตร์ และ/หรือความเห็นต่อผู้เขียนรีวิว เว็บไซต์ประเภทรีวิวนี้สามารถรวมกลุ่มคนที่มีความคิดแนวเดียวกันเข้ามาหาบล็อกเพื่อที่จะติดตามนักวิจารณ์ที่มีแนวโน้มการวิจารณ์ที่คล้ายคลึงกับของตน [4] ผลสำรวจของไทยในปี พ.ศ. 2557 พบว่า บล็อกเป็นพื้นที่ที่มีนักวิจารณ์ภาพยนตร์มากที่สุดในบรรดาสื่อออนไลน์ทั้งหมด ตัวอย่างของบล็อกนักวิจารณ์ภาพยนตร์ไทย ได้แก่ [1]: 67–68  บล็อกแก๊ง[5]และบล็อกกาซีน ประชาไท[6] กำรสร้างบทวิจารณ์ไทยที่เน้นคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ของภาพยนตร์นั้นยังมีน้อยมำก บล็อกเป็นพื้นที่สำคัญในกำรสร้างงานวิจารณ์ภาพยนตร์ของไทย [1]: 103  นอกจากนี้ YouTube ยังทำหน้าที่เป็นเวทีสำหรับนักวิจารณ์ภาพยนตร์สมัครเล่นได้ด้วย

บางเว็บไซต์มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางในการรีวิวหรือแนะนำภาพยนตร์ ตัวอย่างเช่น การให้ตำปรึกษาแก่ผู้ปกครองเพื่อใช้ในการตัดสินความเหมาะสมของภาพยนตร์สำหรับเด็ก มีเว็บไซต์ที่มุ่งให้ความสำคัญในมุมมองทางศาสนา (เช่น CAP Alert[7]) บางเว็บไซต์ยังเน้นเฉพาะเรื่องเชิงลึก เช่น วิทยาศาสตร์ในภาพยนตร์ประเภทนวนิยาย บางเว็บไซต์ก็รีวิวเชิงลึกโดยบุคคลอิสระที่ไม่สังกัดหน่วยงานใดๆ บางแห่งห้ามโฆษณาและให้ความคิดเห็นทีตรงไปตรงมาโดยไม่มีผลประโยชน์ตอบแทนทางการค้า นักวิจารณ์ภาพยนตร์กลุ่มนี้มักจะมีพื้นฐานการศึกษทางด้านภาพยนตร์ [8]

สมาคมวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์ (Online Film Critics Society) เป็นสมาคมนานาชาติของสายอาชีพนักวิจารณ์ภาพยนตร์ทางอินเทอร์เน็ต ซึ่งประกอบด้วยนักเขียนจากทั่วโลก [9] ส่วนชมรมนักวิจารณ์ภาพยนตร์ออนไลน์แห่งนิวยอร์ก (New York Film Critics Online) จัดการความคิดเห็นและการรีวิวภาพยนตร์โดยนักวิจารณ์เฉพาะในพื้นที่ของรัฐนิวยอร์กและใกล้เคียง 3 รัฐ [10]

การวิจารณ์ทางวิชาการ แก้

การวิจารณ์ภาพยนตร์ทางวิชาการ มักรู้จักกันว่าเป็น ทฤษฎีภาพยนตร์ หรือภาพยนตร์ศึกษา บทวิจารณ์ทางวิชาการเป็นการสำรวจภาพยนตร์มากกว่าบทรีวิว นักวิจารณ์ในกลุ่มนี้พยายามที่จะตรวจสอบ หาเหตุผลของผลงานภาพยนตร์ที่ประสบความสำเร็จในทางสุนทรียศาสตร์หรือการเมือง ความหมายและผลกระทบที่มีต่อคนทั่วไป โดยปรกตินักวิจารณ์กลุ่มนี้มักจะนำเสนอบทความในวารสารวิชาการและตำรา ซึ่งมักอยู่ในสังกัดของสำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย หรือนิตยสารระดับบน [11]

การวิจารณ์ภาพยนตร์ทางวิชาการส่วนใหญ่มักจะมีรูปแบบคล้าย ๆ กัน คือ มีบทสรุปของพล็อตเรื่องของภาพยนตร์เพื่อทบทวนความจำของผู้อ่าน หรือเสริมแนวคิดต่างๆ ในประเภทของภาพยนตร์นั้น ๆ หลังจากนั้นก็อภิปรายเกี่ยวกับบริบททางวัฒนธรรม แก่นเรื่อง (major themes) และการทำซ้ำ และรายละเอียดเกี่ยวกับสิ่งที่สืบทอดของภาพยนตร์ [12]

อ้างอิง แก้

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 อัญชลี ชัยวรพรม; สุทธิพงศ์ นุกูลเอื้ออำรุง (2557). การวิจารณ์ภาพยนตร์: รอยต่อระหว่างวัฒนธรรมสื่อสิ่งพิมพ์กับสื่ออินเทอร์เน็ต. เล่ม 5 ภาพยนตร์ (PDF) (Report). ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. p. 232. สืบค้นเมื่อ 16 มิถุนายน 2561. {{cite report}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  2. "Reviews vs Criticism - Film & Television Studies". The University of Vermont Libraries Research Guides. May 31, 2018. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-10-06. สืบค้นเมื่อ 17 June 2018.
  3. Beam, Christopher; Singer-Vine, Jeremy (6 June 2011). "Slate's Hollywood Career-O-Matic". Slate. ISSN 1091-2339. สืบค้นเมื่อ 17 June 2018.
  4. "What is blogging?". The Balance. สืบค้นเมื่อ 15 June 2018.
  5. บล็อกแก๊ง
  6. บล็อกกาซีน ประชาไท
  7. CAP Alert
  8. Battaglia, James (May 2010). "Everyone's a Critic: Film Criticism Through History and Into the Digital Age". Senior Honors Theses: 32. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-11-09. สืบค้นเมื่อ 2018-06-17 – โดยทาง Digital Commons.
  9. "Our Bylaws – Online Film Critics Society". ofcs.org (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). สืบค้นเมื่อ 16 June 2018.
  10. "New York Film Critics Online - Who We Are". www.nyfco.net. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-12-05. สืบค้นเมื่อ 16 June 2018.
  11. "Faculty publications".
  12. Hantke, Steffen (2007). "Academic Film Criticism, the Rhetoric of Crisis, and the Current State of American Horror Cinema: Thoughts on Canonicity and Academic Anxiety". College Literature. 34 (4): 191–202. doi:10.2307/25115464.