วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก
วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมาก (อังกฤษ: sedentary lifestyle) เป็นรูปแบบหนึ่งของวิถีการใช้ชีวิตที่ประกอบด้วยการมีกิจกรรมทางกายน้อยมากจนถึงไม่มีเลย บุคคลที่มีวิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากมักนั่งหรือนอนขณะทำกิจกรรมจำพวกอ่านหนังสือ, เข้าสังคม, ชมโทรทัศน์, เล่นวิดีโอเกม หรือใช้โทรศัพท์มือถือ/คอมพิวเตอร์ เป็นเวลาส่วนใหญ่ของวันหนึ่ง ๆ วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากอาจนำไปสู่ความเจ็บป่วย ปัญหาสุขภาพ และอาจนำไปสู่สาเหตุการเสียชีวิตที่ป้องกันได้[1][2]

บทความนี้ ควรจะมีแหล่งอ้างอิงทางการแพทย์เพื่อให้ตรวจสอบได้ หรือพึ่งฐานข้อมูลจากแหล่งอ้างอิงปฐมภูมิมากเกินไป(October 2018) |
เวลาบนหน้าจอ หรือ สกรีนไทม์ (อังกฤษ: screentime) เป็นคำศัพท์ยุคปัจจุบันที่หมายถึงระยะเวลาที่บุคคลหนึ่งใช้ในการจ้องหน้าจอทั้งโทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์สื่อสาร สกรีนไทม์ที่มากเกินไปนั้นมีความสัมพันธ์กับผลกระทบต่อสุขภาพในทางลบ[3][4][5][6]
อย่างไรก็ตาม วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากนั้นไม่เหมือนกันกับการขาดการเคลื่อนไหวทางกาย (physical inactivity) โดยที่วิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากนั้นมีการให้คำนิยามไว้ว่าเป็น "พฤติกรรมขณะตื่น (waking behaviours) ที่มีลักษณะการใช้พลังงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 เมทาบอลิกอีควิวาเลนต์ (metabolic equivalents; METs) ในขณะนั่ง นอน หรือนอนแผ่" การใช้เวลาส่วนใหญ่ขณะตื่น (waking hours) หมดไปกับการนั่งเฉย ๆ ไม่จำเป็นต้องหมายถึงการมีสิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากเสมอไป[7] ถึงแม้มันจะถูกเรียกว่าเป็นแบบนั้นอยู่บ่อยครั้งก็ตาม[8]
ผลกระทบต่อสุขภาพ
แก้ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้ |
ผลกระทบของวิถีชีวิตแบบนั่งนอนมากรวมถึงในชีวิตทำงานมีทั้งทางตรงและทางอ้อม ผลกระทบทางตรงหลักที่พบได้ชัดเจนที่สุดคือการเพิ่มขึ้นของค่าดัชนีมวลกายซึ่งอาจนำไปสู่ความอ้วน การขาดกิจกรรมทางกายเป็นหนึ่งในสาเหตุของความตานที่ป้องกันได้ที่เป็นอันดับต้น ๆ ทั่วโลก[9]
ในสหรัฐอเมริกา ปีหนึ่ง ๆ มีการเสียชีวิตก่อนวัย (premature deaths) อย่างน้อย 300,000 ราย และค่าใช้จ่าย $90 พันล้านดอลล่าร์ในบริการสุขภาพทางอ้อมที่เกี่ยวข้องกับความอ้วนและวิถีชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ [10]
ดูเพิ่ม
แก้- 9 ถึง 5 (9 to 5)
- โรคอ้วนในวัยเด็ก
- ความนิยมการออกกำลังกาย (Exercise trends)
- ความขี้เกียจ
- ผลกระทบทางประสาทชีววิทยาจากการออกกำลังกาย
- การใช้ชีวิตเรียบง่าย (Simple living)
- ความเกียจคร้าน (บาป) (Sloth (deadly sin))
- คนบ้างาน (Workaholic)
- การขาดการศึกษาในวิชาพลศึกษา (Lack of physical education)
อ้างอิง
แก้- ↑ "2018 Physical Activity Guidelines Advisory Committee Scientific Report". 18 Feb 2019.
- ↑ Owen, Neville; Healy, Genevieve N.; Dempsey, Paddy C.; Salmon, Jo; Timpero, Anna; Clark, Bronwyn K.; Goode, Ana D.; Koorts, Harriet; Ridgers, Nicola D.; Hadgraft, Nyssa T.; Lambert, Gavin (2020-01-08). "Sedentary Behavior and Public Health: Integrating the Evidence and Identifying Potential Solutions". Annual Review of Public Health. 41: 265–287. doi:10.1146/annurev-publhealth-040119-094201. ISSN 0163-7525. PMID 31913771.
- ↑ Mark, A. E; Janssen, I (2008). "Relationship between screen time and metabolic syndrome in adolescents". Journal of Public Health. 30 (2): 153–160. doi:10.1093/pubmed/fdn022. PMID 18375469.
- ↑ Wiecha, Jean L; Sobol, Arthur M; Peterson, Karen E; Gortmaker, Steven L (2001). "Household Television Access: Associations with Screen Time, Reading, and Homework Among Youth". Ambulatory Pediatrics. 1 (5): 244–251. doi:10.1367/1539-4409(2001)001<0244:HTAAWS>2.0.CO;2. PMID 11888409.
- ↑ Laurson, Kelly R; Eisenmann, Joey C; Welk, Gregory J; Wickel, Eric E; Gentile, Douglas A; Walsh, David A (2008). "Combined Influence of Physical Activity and Screen Time Recommendations on Childhood Overweight". The Journal of Pediatrics. 153 (2): 209–214. doi:10.1016/j.jpeds.2008.02.042. PMID 18534231.
- ↑ Olds, T.; Ridley, K.; Dollman, J. (2006). "Screenieboppers and extreme screenies: The place of screen time in the time budgets of 10–13 year-old Australian children". Australian and New Zealand Journal of Public Health. 30 (2): 137–142. doi:10.1111/j.1467-842X.2006.tb00106.x. PMID 16681334.
- ↑ Owen, Neville; Healy, Genevieve N.; Dempsey, Paddy C.; Salmon, Jo; Timperio, Anna; Clark, Bronwyn K.; Goode, Ana D.; Koorts, Harriet; Ridgers, Nicola D.; Hadgraft, Nyssa T.; Lambert, Gavin; Eakin, Elizabeth G.; Kingwell, Bronwyn A.; Dunstan, David W. (2020). "Sedentary Behavior and Public Health: Integrating the Evidence and Identifying Potential Solutions". Annual Review of Public Health. 41: 265–287. doi:10.1146/annurev-publhealth-040119-094201. PMID 31913771.
- ↑ "What is Sedentary Behaviour?". Sedentary Behaviour Research Network. สืบค้นเมื่อ 10 June 2020.
- ↑ Lopez AD, Mathers CD, Ezzati M, Jamison DT, Murray CJ (May 2006). "Global and regional burden of disease and risk factors, 2001: systematic analysis of population health data". Lancet. 367 (9524): 1747–57. doi:10.1016/S0140-6736(06)68770-9. PMID 16731270. S2CID 22609505.
- ↑ Manson JoAnn E; และคณะ (2004). "The escalating pandemics of obesity and sedentary lifestyle: a call to action for clinicians". Archives of Internal Medicine. 164 (3): 249–258. doi:10.1001/archinte.164.3.249. PMID 14769621.
แหล่งข้อมูลอื่น
แก้- Judson, Olivia (2010-02-23). "Stand Up While You Read This". Opinionator. New York Times.
- Gardner, Amanda (2010-07-27). "Study: The longer you sit, the shorter your life". Health Interactives. USA Today.
- Vlahos, James (2011-04-14). "Is Sitting a Lethal Activity?". Magazine. New York Times.