สารวิกิพีเดีย

สารวิกิพีเดีย

มาตรการล็อกการแสดงผล การซ่อนลิงก์ข้ามภาษา และอื่น ๆ

ผู้ใช้:Harley Hartwell มิถุนายน 2553, ข


วิกิพีเดียภาษาอังกฤษเริ่มทดลอง "มาตรการล็อกการแสดงผล" ตั้งแต่ 14 มิถุนายน

วิลเลียม เปียตรี ผู้จัดการโครงการการใช้มาตรการตรวจสอบการแก้ไข เปิดเผยว่าวิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะเริ่มนำฟังก์ชันจำกัดการแสดงผลเฉพาะรุ่น (FlaggRevs) ซึ่งเป็นหนึ่งในส่วนขยายของมีเดียวิกิ มาใช้ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษตั้งแต่วันที่ 14 มิถุนายนเป็นต้นไป

จากการพูดคุยผ่านทางจดหมายกลุ่ม Foundation-l ของวิกิมีเดียและการพูดคุยเกี่ยวกับการใช้งานฟังก์ชันจำกัดการแสดงผลเฉพาะรุ่น วิกิพีเดียภาษาอังกฤษจะใช้วิธี "ล็อกการแสดงผล" (Flagged protection) หรือที่ในเวลาต่อมาเรียกกันว่า "รุ่นที่ยังไม่ได้ตรวจสอบ" (Pending changes) โดยฟังก์ชันดังกล่าวเปิดโอกาสให้ผู้ดูแลระบบสามารถทำการล็อกหน้าด้วยวิธีใหม่ กล่าวคือ ผู้เขียนทุกคน ไม่ว่าจะล็อกอินหรือไม่ หรือเป็นผู้ใช้เก่าหรือใหม่ก็ตาม สามารถแก้ไขหน้าได้ แต่หากผู้แก้ไขเป็นผู้ใช้ที่ยังไม่ได้ล็อกอิน การแก้ไขจะยังไม่แสดงผลในหน้าปัจจุบันจนกว่าผู้ตรวจสอบจะได้ตรวจสอบการแก้ไขแล้ว แต่หากผู้ใช้ล็อกอินแล้วเป็นผู้แก้ไข การแก้ไขจะแสดงผลตามปกติ โดยฟังก์ชันการล็อกการแสดงผลนี้ได้ใช้ในวิกิพีเดียภาษาเยอรมันมาก่อนแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2551

ฟังก์ชันการล็อกการแสดงผลจะเปิดเพื่อทดสอบเท่านั้น ซึ่งคาดว่าจะกินเวลาสองเดือน และจะล็อกการแสดงผลหน้าไม่เกิน 2,000 หน้า โดยคาดว่าการทดสอบนี้จะดึงความสนใจจากสื่อได้มาก เนื่องจากเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว ได้มีการประกาศเกี่ยวกับเรื่องนี้ออกมา และได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก (ดู Wikipedia Signpost ที่เกี่ยวกับเรื่องนี้)

เปียตรีได้ขอความช่วยเหลือผู้ใช้ในการเขียนหน้าช่วยเหลือเกี่ยวกับการล็อกการแสดงผล สำหรับแผนภาพอธิบายลักษณะของฟังก์ชันล็อกการแสดงผล อยู่ที่นี่ ผู้สนใจสามารถทดสอบฟังก์ชันจำกัดการแสดงผลเฉพาะรุ่นได้ที่ วิกิทดสอบการจำกัดการแสดงผลเฉพาะรุ่น

ยังมีการพิจารณาเกี่ยวกับการทดสอบการล็อกการแสดงผลที่หน้า "ขอความเห็น" ว่า การทดสอบการล็อกการแสดงผลจะใช้สิทธิ์ผู้ใช้ "ผู้ตรวจสอบ" หรือใช้สิทธิ์ผู้ใช้ "ผู้ใช้ทั่วไป" สำหรับการตรวจสอบการแสดงผล และในขณะเดียวกันก็ยังมี การหาข้อสรุปสำหรับข้อจำกัดทางเทคนิคหากมีการติดตั้งและใช้ส่วนขยาย "จำกัดการแสดงผลเฉพาะรุ่น " อยู่

ตารางต่อไปนี้สรุปสิทธิ์ในการแก้ไขหน้า โดยใช้การตั้งค่าในปัจจุบันในการทดสอบ (ดูรายละเอียดเพิ่มที่นี่)

ระดับการล็อก ผู้ใช้ไม่ล็อกอิน / ผู้ใช้ใหม่ ผู้ใช้ทั่วไป ผู้ตรวจสอบ ผู้ดูแลระบบ
ไม่มีการป้องกัน แก้ไขได้ และแสดงผลทันที
การล็อกการแสดงผล
(ระดับที่ 1 ล็อกเฉพาะการแก้ไขของผู้ใช้ใหม่)
แก้ไขได้ ผู้ใช้ลงทะเบียนจะเห็นการแก้ไข แต่ผู้อ่านทั่วไปจะไม่เห็น หากผู้ตรวจสอบหรือผู้ดูแลยังไม่ได้ตรวจสอบการแก้ไข แก้ไขได้ การแก้ไขจะแสดงผลทันทีหากรุ่นก่อนหน้าถูกตรวจสอบแล้ว หรือมีการเลือกตัวเลือก "ยอมรับรุ่นนี้" ในกรณีที่นอกเหนือจากนี้ หากผู้ตรวจสอบหรือผู้ดูแลยังไม่ได้ตรวจสอบการแก้ไข การแก้ไขจะไม่แสดงผล แก้ไขได้ การแก้ไขจะแสดงผลทันทีหากรุ่นก่อนหน้าถูกตรวจสอบแล้ว แต่หากมีการแก้ไขที่ยังไม่ได้ตรวจสอบค้างอยู่ ต้องตรวจสอบก่อน ส่วนการแสดงผลของการแก้ไขจะเป็นไปตามปกติ
การกึ่งล็อกการแก้ไข แก้ไขไม่ได้ แก้ไขได้ และแสดงผลทันที
การล็อกการแสดงผล
(ระดับที่ 2 ล็อกการแสดงผล โดยให้ผู้ตรวจสอบตรวจสอบก่อน)
แก้ไขได้ ผู้ใช้ลงทะเบียนจะเห็นการแก้ไข แต่ผู้อ่านทั่วไปจะไม่เห็น หากผู้ตรวจสอบหรือผู้ดูแลยังไม่ได้ตรวจสอบการแก้ไข แก้ไขได้ การแก้ไขจะแสดงผลทันทีหากรุ่นก่อนหน้าถูกตรวจสอบแล้ว แต่หากมีการแก้ไขที่ยังไม่ได้ตรวจสอบค้างอยู่ ต้องตรวจสอบก่อน ส่วนการแสดงผลของการแก้ไขจะเป็นไปตามปกติ
การล็อกการแก้ไข แก้ไขไม่ได้ แก้ไขได้ และแสดงผลทันที

ดูเพิ่มที่ Wikipedia Signpost สิงหาคม พ.ศ. 2552 เกี่ยวกับประวัติของโครงการการล็อกการแสดงผล และ ความคืบหน้าของเรื่องนี้ใน Wikipedia Signpost ฉบับอื่นตั้งแต่ พ.ศ. 2549

การอภิปรายการซ่อนลิงก์ข้ามภาษา

การเปลี่ยนหน้าตาของวิกิพีเดียภาษาอังกฤษเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม ก่อให้เกิดข้อโต้แย้งในหลายประเด็น เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งของกล่องค้นหา โลโก้วิกิพีเดียที่มีการออกแบบใหม่ (ดู Wikipedia Signpost เกี่ยวกับเรื่องนี้) และปัญหาหน้าเว็บวิกิพีเดียไม่สามารถเข้าถึงโดยใช้เบราเซอร์บางตัว เช่น แบล็ิกเบอรีและเพลย์สเตชัน 3 ข้อโต้แย้งที่มีการโต้แย้งกันมากที่สุดที่เพิ่งมีการอภิปรายเร็ว ๆ นี้ กล่าวถึงคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างอาสาสมัครที่ร่วมแก้ไขวิกิพีเดียและผู้พัฒนาที่ได้รับเงินเดือน หรือโดยทั่วไปก็คือ ความสัมพันธ์ระหว่างประชาคมวิกิพีเดียกับมูลนิธิวิกิมีเดีย

ในหน้าจอรูปแบบใหม่แบบปกติลิงก์ข้ามภาษาที่เชื่อมโยงเนื้อหาในเรื่องเดียวกันในวิกิพีเดียภาษาอื่น ๆ ถูกซ่อนไว้ที่ลิงก์ในกลุ่ม "ภาษาอื่น" โดยใช้โมดูลจาวาสคริปต์ CollapsibleNav เมื่อผู้ใชิคลิกที่ลิงก์กลุ่มภาษาอื่น ลิงก์ข้ามภาษาทั้งหมดจะแสดงออกมา

มีผู้ใช้หลายคนไม่เห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงนี้ ทำให้มีการตั้งให้ลิงก์ข้ามภาษากลับมาแสดงผลตามปกติ (ดูบั๊กหมายเลข 23497) ในวันที่ 3 มิถุนายนผู้พัฒนาอาสาสมัครได้ตั้งลิงก์ข้ามภาษาให้กลับมาแสดงผลตามปกติ แต่ก็ถูกย้อนกลับโดยผู้พัฒนาจากโครงการปรับปรุงการใช้งาน (Usability Experience; UX) ที่พัฒนารูปแบบหน้าจอใหม่นี้โดยใช้เวลาถึง 16 เดือน

"การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงที่สวนทางกับเจตนาการปรับปรุงการแสดงผลของวิกิมีเดีย หากต้องการพูดคุยและเสนอข้อเสนอเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบ กรุณาติดต่อโฮวี ฟัง <hfung@wikimedia.org> หรือไปที่ http://usability.wikimedia.org"

ภายหลัง โฮวี ฟัง ได้อธิบายเบื้องหลังการตัดสินใจของคณะทำงาน ดังนี้

"... เราวัดพฤติกรรมการคลิกของผู้ใช้สองกลุ่มในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ได้แก่ผู้ใช้ที่ใช้สกินโมโนบุ๊ก และผู้ใช้สกินเวกเตอร์ (มักเป็นผู้เข้าร่วมทดสอบในรุ่นเบตาของการปรับปรุงนี้) จากจำนวนผู้ใช้ทั้งสองกลุ่ม เราพบว่ามีจำนวนผู้คลิกลิงก์ข้ามภาษาของผู้ใช้สกินโมโนบุ๊กและเวกเตอร์เพียง 0.95% และ 0.28% จากการคลิกรวมทั้งสิ้น 126,180 และ 180,873 คลิก ตามลำดับ เรารู้สึกว่าจำนวนคลิกที่ลิงก์ข้ามภาษาที่น้อยกว่า 1% ในสกินโมโนบุ๊กเป็นเหตุผลที่เหมาะสมในการซ่อนลิงก์ข้ามภาษา โดยเฉพาะเมื่อรวมเข้ากับบริบทของหลักการที่ได้ออกแบบไว้ [ซึ่งผู้ใช้ควรหลีกเลี่ยงลิงก์ข้ามภาษาทั้งหมด เพราะจะทำให้ผู้ใช้รู้สึก "งงงวย" กับรายการนั้น] และการทำให้เกิดผล (สิ่งที่เกิดขึ้นหลังจากกดลิงก์แล้ว)"

จากจดหมายกลุ่มของ Foundation-l และ วิกิอภิปรายการปรับปรุงการแสดงผล ผู้ใช้จำนวนมากยังคงตั้งคำถามเกี่ยวกับการตัดสินใจดังกล่าว ซู การ์ดเนอร์ แก้ต่างให้กับทีมพัฒนา โดยโต้แย้งว่า "คนที่อยู่ในกลุ่ม foundation-l นี้ ไม่ใช่ผู้แทนของนักอ่าน"

อีริก เมิลเลอร์ รองกรรมการของมูลนิธิวิกิมีเดีย สรุปข้อโต้แย้งบางประการไว้ดังต่อไปนี้:

"มีการโต้แย้งมานานแล้วว่าลิงก์ข้ามภาษามีความจำเป็นสำหรับผู้ใช้หลายคน แม้ว่าอัตราการคลิกลิงก์ข้ามภาษาจะต่ำกว่าอัตราการคลิกส่วนประกอบอื่น ๆ บางส่วนก็ตาม แต่ลิงก์เหล่านี้เองก็ได้เป็นหลักสำคัญในการแสดงถึงคุณค่าของความหลากหลายทางภาษาที่ปรากฏในลิงก์ข้ามภาษา สมมุติฐานอันสมเหตุสมผลนี้ยังได้แสดงให้เห็นว่านอกเหนือไปจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ ในวิกิพีเดียภาษาอื่นมีอัตราการคลิกในส่วนของลิงก์ข้ามภาษาสูงกว่านี้มาก"

เมิลเลอร์และฟังได้สรุปแนวคิดประนีประนอม โดยเสนอว่า ลิงก์ข้ามภาษาที่จะแสดงเป็นลิงก์ข้ามภาษาตั้งต้น ควรมีจำนวนจำกัด และที่เหลือควรจะซ่อนไว้ในลิงก์ "ดูภาษาอื่น" โดยภายใต้แนวคิดหลักดังกล่าว มีหลากหลายแนวคิดที่ได้รับการอภิปรายในประเด็นที่ว่าจะมีหลักเกณท์การเลือกอย่างไรว่าภาษานั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้ใช้มากที่สุด (เช่น ขึ้นกับการตั้งค่าภาษาของเบราเซอร์) นอกจากนี้ อิทธิพลของการตั้งค่าที่ต่างกันที่มีผลต่อพฤติกรรมการคลิกลิงก์ข้ามภาษาของผู้ใช้จะได้รับการพิจารณาด้วย

ด้วยประการทั้งปวง ประเด็นดังกล่าวได้รับการโพสต์กว่า 160 ครั้งในจดหมายกลุ่ม Foundation-l ภายในเวลาไม่กี่วัน (แม้ว่าจุดที่ดีของประเด็นหลักได้แก่ประเด็นย่อยเกี่ยวกับประเด็นด้านเชื้อชาติ เพศ และปัญหาระหว่างวัฒนธรรมที่เริ่มโดยประธานคณะกรรมการของมูลนิธิ ซึ่งทำให้ผู้อ่านจดหมายกลุ่มได้ทราบเกี่ยวกับการเกิดขึ้นของคำว่า "lynching" ในสงครามปฏิวัติอเมริกันก็ตาม)

ในการโพสต์ภายหลังในชื่อเรื่อง อคติประชาคม ความร่วมมือ และกระบวนการรับรู้ อีริค เมิลเลอร์ตั้งข้อสังเกตว่า "ประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการแสดงผลของลิงก์ข้ามภาษาโดยปริยายของไซด์บาร์ แสดงถึงคำถามอันลึกซึ้งและสำคัญเกี่ยวกับความสัมพันธ์การทำงานระหว่างมูลนิธิวิกิมีเดียและประชาคมอาสาสมัครวิกิพีเดียซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า" เขายังได้เสนอตัวเลขของความคิดเห็นโดยทั่วไป ซึ่งเขาสรุปว่า:

"ผมเชื่อว่าความโปร่งใสของกระบวนการจัดการของวิกิมีเดีย และคุณภาพโดยทั่วไปของกระบวนการเหล่านี้ ได้เพิ่มสูงขึ้นอย่างมากตลอดหลายปีที่ผ่านมา ในเวลาเดียวกัน ในขณะเดียวกัน ผมก็เห็นด้วยกับผู้ที่สังเกตเห็นว่ามีความแบ่งแยกที่กว้างขึ้นระหว่างความร่วมมือของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร และผมคิดว่าเราควรจะทำงานร่วมกันเพื่อลบรอยแบ่งแยกนี้ด้วยความระมัดระวังในอคติในกระบวนการรับรู้ที่แสดงให้เห็นในตัวเราทุกคนอย่างเต็มที่"

ข่าวสั้น

ผู้จาริกแสวงบุญชาวสิกข์วิหารฮัรมันดิร ซาฮิบ เมืองอัมริตสาร์ แคว้นปัญจาบ ประเทศอินเดีย
  • กำหนดการอย่างไม่เป็นทางการของวิกิเมเนีย 2010 ได้รับการเปิดเผยแล้ว
  • การโหวตภาพประจำปี พ.ศ. 2552 ในรอบสุดท้าย ที่วิกิมีเดียคอมมอนส์ ปิดรับผลโหวตเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน ที่่ผ่านมา โดยภาพที่ได้รับเลือกได้แก่ภาพ File:Sikh pilgrim at the Golden Temple (Harmandir Sahib) in Amritsar (ด้านขวา) โดยได้รับคะแนนโหวต 62 เสียงจากเสียงที่เข้าร่วมโหวตทั้งหมด 742 เสียง
  • ในเรียงความวิกิพีเดียเรื่อง Wiki-hacking: Opening up the academy with Wikipedia ชาววิกิพีเดียสามคน ได้แก่เอเดรียน วาเดวิตซ์ แอนน์ เอลเลน เกลเลอร์ และจอน เบียสลีย์ เมอร์เรย์ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างวิกิพีเดียและการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา ทั้งสามคนเป็นนักวิชาการในมหาวิทยาลัยในอเมริกาเหนือผู้ศึกษาถึงความสัมพันธ์ระหว่างวิกิพีเดียกับการเรียนการสอนทางวิชาการ โดยทั้งสามคนศึกษานักเรียนของตนที่ได้รับการบ้านเป็นการแก้ไขวิกิพีเดีย เรียงความดังกล่าวถูกเขียนขึ้นในบริบทของโต๊ะกลมภายใต้ชื่อ "2010 A new frontier: teaching with Wikipedia" ที่การประชุม "การเขียนข้ามหลักสูตร" พ.ศ. 2553 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนที่แล้วที่มหาวิทยาลัยอินเดียนา
  • กระบวนการกำหนดหาสมาชิกที่ถูกเลือกสองคนให้เป็นคณะกรรมาธิการมูลนิธิวิกิมีเดียยังคงดำเนินต่อไปหลังจากเกิดความล่าช้าขึ้น ในปัจจุบัน ที่นั่งดังกล่าวเป็นของมิเชล สโนว์ และอาร์นี เคลมเพิร์ต กระบวนการดังกล่าวปิดเป็นความลับ แต่ผู้ลงสมัครทั้งสองได้มีแถลงการณ์แก่สาธารณะแล้ว: GerardM และ phoebe โดยผลการคัดเลือกจะออกมาภายในวันที่ 1 กรกฎาคม แต่หากไม่มีความเห็นเอกฉันท์เร็วพอ การพิจารณาอาจต้องเลื่อนออกไปอีก
หน้าหลัก เกี่ยวกับ ความเห็น ขอรับรายเดือน กรุ