วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอแนวปฏิบัติการแก้รบกวน

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

เสนอแนวปฏิบัติการแก้ที่รบกวน (disruptive editing) ตามหน้านี้ครับ ผู้ใช้:Horus/กระบะทราย/4

ก่อนหน้านี้ผู้ใช้และผูุ้ดูแลระบบต่างมีวิธีการของตัวเองในการรับมือกับการแก้ที่รบกวนของตัวเองอยู่แล้ว การมีแนวปฏิบัติเป็นลายลักษณ์อักษรจึงเป็นผลดีต่อวิกิพีเดียภาษาไทยในการที่ผู้ใช้และผู้ดูแลระบบจะได้ยึดถือเป็นแนวทางมาตรฐาน ซึ่งจะช่วยเลือกวิธีการที่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่าเหมาะสม อีกทั้งเป็นการป้องกันข้อครหากลั่นแกล้งหรือลุแก่อำนาจด้วย

หลักการของแนวปฏิบัตินี้มี 2 ข้อ คือ

  1. นิยาม "การแก้ที่รบกวน" อย่างไร
  2. มีมาตรการรับมือการแก้ที่รบกวนอย่างไร เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยมีวิธีการระงับข้อพิพาทที่ยังไม่เข้มแข็งเท่าที่ควร และมีหน้าต่าง ๆ ไม่มาก บางทีเรื่องก็มาถึงผู้ดูแลระบบเลย คิดว่าน่าจะระบุขั้นตอนไว้ในหน้านี้ให้ชัดเจน นอกจากนี้ ควรระบุแนวทางไว้สำหรับผู้ใช้และผู้ดูแลระบบแยกกัน เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถดำเนินการได้กรณีที่พบเห็นการกระทำซึ่งหน้า

ชี้แจงการใช้คำในร่างฯ (หากไม่เห็นด้วยสามารถเสนอคำใหม่ได้ครับ)

  1. "การแก้ที่รบกวน" (disruptive editing)
    แปล editing เป็น "การแก้" เหมือนกับลิงก์ "แก้" ที่อยู่ข้าง ๆ heading เนื่องจากสั้นกว่า และได้ความหมายเหมือนกัน
    แปล disruptive เป็น "รบกวน" คิดว่าจะใช้ "น่ารำคาญ" เพราะไม่ต้องแปลเพิ่ม แต่ดูจะมีความยั่วยุและ personal attack มากเกินไป
  2. "เกิดผล" (productive) หมายถึง ลักษณะที่ก่อให้เกิดผลงานในวิกิพีเดีย คิดว่าจะแปลเป็นสร้างสรรค์แล้ว แต่จะทำให้คิดว่าแปลมาจาก creative แทน
  3. "มีแนวโน้มพิพาท" (tendentious) ยึดคำแปลมาจากพจนานุกรมภาษาอังกฤษ "expressing or intending to promote a particular cause or point of view, especially a controversial one." ครับ

--Horus (พูดคุย) 21:51, 13 เมษายน 2561 (ICT)