วิกิพีเดีย:สภากาแฟ/อภิปราย/เสนอจัดระเบียบบทความบุคคล

หน้านี้เป็นหน้าอภิปรายในวิกิพีเดียภาษาไทย

สวัสดีครับ สืบเนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีแนวทางระเบียบบทความบุคคลเป็นลายลักษณ์อักษร (คงเทียบได้กับ en:Wikipedia:Manual of Style/Biography ในวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) จึงขอเสนอให้ชุมชนร่วมกันอภิปรายเพื่อให้บทความชีวประวัติในอนาคตเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ที่ผมเสนอขึ้นมาเนื่องจากพบเห็นปัญหาดังต่อไปนี้และต้องการสรุปแนวทางของชุมชนครับ

  1. ปัญหาคำนำหน้าพระนาม/ชื่อ เช่น ยศทหาร (พลเอก นายกองเอก) ยศข้าราชการ (มหาอำมาตย์เอก), วิชาการ (ดร. หรือ นพ.)
  2. การแยกส่วน พระราชกรณียกิจ ในบทความเชื้อพระวงศ์
  3. ประเด็นอื่น ๆ แล้วแต่ชุมชนจะหยิบมาอภิปรายเพิ่ม

--Wedjet (คุย) 01:00, 9 กันยายน 2562 (ICT)

อภิปราย แก้

เรื่องปัญหาคำนำหน้าชื่อปรากฏว่าบางทีมีการใส่คำนำหน้าชื่อที่ไม่คุ้นเคย เช่น บางคนรู้จักกันแค่เป็นพลเอก ก็ใส่ว่าเป็นทั้งพลเอก พลเรือเอก และพลอากาศเอก หรือนักการเมืองที่ใส่ยศนายกองเอก หรือบางทีเชื้อพระวงศ์ที่รู้จักกันเฉพาะพระนาม ขอเสนอว่าแม้บุคคลเหล่านี้จะมียศดังกล่าวจริง แต่ถ้าไม่มีแหล่งข้อมูลทุติยภูมิเรียกด้วยยศนั้นอย่างแพร่หลายก็ไม่ควรใส่นำหน้าในบทความ อาจจะแทรกไว้ในกล่องข้อมูลหรือในส่วนยศแทน สำหรับคำนำหน้า ดร., นพ. หรือ พญ. คิดว่าอาจใช้ตามอย่างวิกิพีเดียภาษาอังกฤษที่ใช้ว่า X หรือที่รู้จักกันในชื่อ ดร. X เป็นต้น

เรื่องส่วน "พระราชกรณียกิจ" ซึ่งหมายถึง "หน้าที่ที่พระราชาพึงกระทำ" เป็นคำที่ตีความเป็น subjective ได้ และเป็นการจั่วหัวที่ผู้เขียนมีเป้าหมายที่ไม่เป็นกลางอย่างชัดเจนอยู่แล้ว ควรเปลี่ยนใหม่โดยเขียนรวมในส่วนชีวประวัติแทน เช่น "พระราชกรณียกิจ" ที่กระทำระหว่างเป็นพระมหากษัตริย์อยู่ อาจภายใต้หัวข้อ พระมหากษัตริย์ หรือถ้ากระทำขณะยังเป็นยศอื่น ก็จั่วหัวว่ายศนั้น สำหรับ "พระราชกรณียกิจ" ใดที่มีลักษณะเป็น private life ก็ให้เขียนภายใต้หัวข้อนั้นด้วย --Wedjet (คุย) 01:00, 9 กันยายน 2562 (ICT)

การระบุคำนำหน้าชื่อ มีความเห็นว่าควรระบุเฉพาะคำนำหน้าที่เป็นที่รู้จัก และใช้เป็นการทั่วไป เช่น พลเอก เปรม คนทั่วไปก็รู้จักว่าคือ พลเอก เปรม ไม่จำเป็นต้องระบุว่า พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก เปรม เพราะในทางปฏิบัติ ไม่มีใครเรียกขานท่านแบบนั้นหรอก เช่นเดียวกันกับนักการเมืองที่เคยเป็นข้าราชการของกระทรวงมหาดไทย เป็นอดีตผู้ว่า ทุกคนก็จะมียศ อส. คือ นายกองเอก ทุกคน ซึ่งมีไม่กี่ท่านเท่านั้นที่ประสงค์จะใช้ยศนี้ นำหน้านามเป็นการทั่วไป ผมเห็นว่าควรระบุไว้ในเนื้อหามากกว่า ว่าบุคคลนั้นๆ เคยมียศ ได้รับแต่งตั้งยศ หรือได้รับพระราชทานยศอะไร ซึ่งอาจจะมีความพิเศษ ก็ว่าไปตามหลักการ ครับ Pongsak ksm (คุย) 11:56, 14 กันยายน 2562 (ICT)
บางที่แปล พระราชกรณียกิจ ว่า "งานที่พระเจ้าแผ่นดินทรงกระทำ" ผมว่า การจัดหัวข้อไม่น่าจะถึงต้องมีรูปแบบว่าต้องเหมือนกันทุกบทความ เพราะแต่ละบทความบริบทก็ไม่เหมือนกัน ยืดหยุ่นกันได้ บางบทความเขียนได้สั้น บางบทความเขียนได้ยาวมาก ก็แล้วแต่จะแบ่งหัวข้อย่อย--Sry85 (คุย) 11:35, 10 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]
คิดว่าถ้าใส่รวมกับชีวประวัติจะทำให้เนื้อหาบทความดูเป็น chronological ด้วยครับ ขอยกตัวอย่าง en:Suleiman the Magnificent ที่มีส่วน "พระราชกรณียกิจ" แต่ใส่รวมกับชีวประวัติ ถ้าแยกพระราชกรณียกิจออกมาเป็นคำว่า "พระราชกรณียกิจ" เลยก็จะไปดูเหมือนผลงานอย่างบทความศิลปินดารา ซึ่งผมยังไม่เคยเห็นว่ามีบทความเจ้าใช้รูปแบบนี้ --Wedjet (คุย) 13:02, 10 ตุลาคม 2562 (+07)[ตอบกลับ]