• ในบทความเรื่องเสือไม่ทราบว่า ต้องการรวมแมวเข้าไปด้วยหรือไม่ เพราะในบทความขัดแย้งกันเอง เช่นในสปีชีส์ระบุบว่ามี 37 ชนิดแต่ในหัวข้อสปีชีส์กลับมีวงศ์ย่อย Pantherinae เป็นหลักและมีสกุล Acinonyx ปะปนมา และในเสือในประเทศไทยกลับระบุบรวมวงศ์ย่อย Felinae เข้าไปด้วย แต่ถ้ารวมแมวก็เป็นบทความวงศ์เสือและแมวซึ่งมีอยู่แล้ว ขัดแย้งกันเองแบบนี้อาจโดยถอดจากบทความคัดสรรได้ครับ --Chale yan 07:29, 1 มิถุนายน 2553 (ICT)
    • ตามความคิดผม คือ
      • 1.อาจยกเป็นวงศ์เสือและแมวคิดว่าน่าจะครอบคลุมเนื้อหาส่วนใหญ่ในบทความ
      • 2.อาจยกเป็นวงศ์ย่อย Pantherinae แต่จะขาด เสือชีตาห์ และ พูม่า (ผมเลือกข้อนี้)
      • 3.บทความเสือเฉย ๆ ตามที่คนไทยใช้เรียกแมวขนาดใหญ่ แต่ก็จะไม่มีลิ้งกับวิกิภาษาอื่นและกล่องตารางจำแนกพันธุ์ (เพราะไม่รู้จะระบุบยังไง)

--Chale yan 16:21, 1 มิถุนายน 2553 (ICT)

สนับสนุนข้อสองครับ แต่ก็ควรหมายเหตุในบทความด้วยว่า ภาษาไทยเรียกแมวบางชนิดว่าเสือ --octahedron80 12:20, 5 มิถุนายน 2553 (ICT)

อยากจะร่วมอภิปรายเรื่องนี้ตั้งแต่วันแรกที่คุณ Chale yan ตั้งคำถาม แต่ตั้งแต่ตอนนั้นถึงบัดนี้ยังเข้า [1] ไม่ได้ ผมแค่อยากให้ดูข้อมูลของราชบัณฑิตฯ ประกอบหน่อยครับ เผื่อว่าบางทีเขาจะระบุเรื่องวงศ์ไว้แล้ว ลองดูคำว่าแมวใหญ่ ประกอบกันด้วยครับ เพราะหลาย ๆ อย่างในพจนานุกรมนี้ระบุข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ไว้ละเอียดทีเดียว --taweethaも 18:05, 22 มิถุนายน 2553 (ICT)

ผมว่าควรไปดูที่เขาจำแนกตามอนุกรมวิธานนะครับ แล้วพิจารณาตามเขา --Yuk 10:41, 23 มิถุนายน 2553 (ICT)

  • ยกมาให้อ่านเลยครับ
    • เสือ ๑ น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว แต่ตัวใหญ่กว่า เป็นสัตว์กินเนื้อ หากินเวลากลางคืน มีหลายชนิด เช่น เสือโคร่ง (Panthera tigris) เสือดาว หรือ เสือดำ (P. pardus), โดยปริยายใช้เรียกคนเก่งคนดุร้าย; ชื่อ หนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวต่อมน้ำ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวไต้ไฟ ก็เรียก.
    • เสือ ๒ น. ชื่อปลาหลายชนิดและหลายวงศ์ซึ่งมีลายพาดขวางลำตัว เช่น ปลาเสือพ่นน้ำ (Toxotes jaculator) ในวงศ์ Toxotidae ปลาเสือตอ (Datnioides microlepis) ในวงศ์ Lobotidae.
    • แมว ๑ น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์ เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดำ ขาว น้ำตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
    • แมว ๒ น. ชื่อปลาทุกชนิดในสกุล Thryssa, Setipinna และชนิด Lycothrissa crocodilus ในวงศ์ Engraulidae ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เชิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่ชนิด ฟันแหลมคม ตาอยู่ค่อนไปทางปลายด้านหน้าของหัว ท้องเป็นสันแหลมมีเกล็ดเรียง ต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ก้านครีบอกมักยื่นยาวเป็นเส้นคล้ายหนวดแมว ครีบก้น เป็นแผ่นยาว มีทั้งที่อยู่ในน้ำกร่อย น้ำทะเล และน้ำจืด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕-๓๐ เซนติเมตร.
ส่วนแมวใหญ่ไม่มีครับ ซึ่งจะเห็นว่าเข้าประเด็นข้อ 3 ครับซึ่งก็จะไม่มีลิ้งไปวิกิภาษาอื่น และอาจต้องเขียนบทความวงศ์ย่อย Pantherinae และสกุล Panthera เพิ่มครับ --Chale yan 20:38, 23 มิถุนายน 2553 (ICT)
  • แฮะ ๆ ลืมครับ ลิ้งไป Big cat ก็ได้นิ แหมอายจัง --Chale yan 20:42, 23 มิถุนายน 2553 (ICT)
ผมยังเข้าพจนานุกรมไม่ได้เหมือนเดิม เพราะไม่สามารถฝ่าระบบเตือนภัยไปได้ อย่างไรก็ตาม Big cat มันรวมสิงโตด้วยครับ จึงอยากรบกวนหาคำว่าสิงโต ในพจนานุกรมประกอบอีกหนึ่งคำครับ --taweethaも 00:14, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)
  • สิงโต ๑ น. ชื่อสัตว์ในจินตนาการของจีน ถือว่ามีกำลังมากและมีหน้าตาดุร้าย.
  • สิงโต ๒ น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ชนิด Panthera leo ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว ขนาดไล่เลี่ย กับเสือโคร่ง ตัวสีน้ำตาล ไม่มีลาย ตัวผู้เมื่อโตเต็มที่จะมีขนสร้อยคอยาว ขนปลายหางเป็นพู่ อาศัยอยู่เป็นฝูงตามทุ่งโล่ง ตัวเมียมักทำหน้าที่ล่าเหยื่อ มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกาและประเทศอินเดีย.
  • สิงโต ๓ น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Pterois วงศ์ Scorpaenidae ครีบต่าง ๆ แผ่กว้างโดยเฉพาะครีบอก สีฉูดฉาดสวยงาม เป็นริ้วลาย หนามและก้านครีบแข็งเป็นพิษ ขนาดยาว ได้ถึง ๓๕ เซนติเมตร มีหลายชนิด เช่น ชนิด P. russelli, P. volitans.

--Chale yan 07:19, 29 มิถุนายน 2553 (ICT)

ผมย้อนกลับไปดูบทความเสือแล้ว เห็นด้วยว่าควรถอดออกจากบทความคัดสรร เพราะเอกสารอ้างอิงน้อยมากและไม่ทันสมัยตามหลักวิชาการ พจนานุกรมก็พอให้แนวคร่าว ๆ แล้วว่า เสือ สิงโต แมว ในความหมายของคำไทยหมายถึงสปีชีส์ใดบ้าง อย่างไรก็ดีคงต้องหาแหล่งอ้างอิงกันเพิ่มเติมต่อไปดีกว่าครับ --taweethaも 09:25, 30 มิถุนายน 2553 (ICT)
ในฐานะผู้พัฒนาบทความหลัก คงไม่มีเหตุผลใด ๆ มาชี้แจงให้กระจ่างได้ค่ะว่าสมควรถอดออกจากบทความคัดสรรหรือไม่ สำหรับบทความเสือใช้ข้อมูลจากหนังสือสารคดีเรื่อง "เสือ จ้างแห่งนักล่า" เป็นสารคดีที่รวบรวมความรู้เรื่องเสือเอาไว้มากที่สุดในขณะนั้น ตีพิมพ์เมื่อเดือนสิงหาคม 2538 และเรียบเรียงนำมาเขียนในวิกิเมื่อปี 2549-2550 การเขียนในครั้งนั้นใช้อ้างอิงหนังสือเพียงเล่มเดียว ในอดีตเคยมีคำถามเกี่ยวกับเรื่องอ้างอิงมาแล้วว่า ในการอ้างอิงหนังสือเพียงเล่มเดียวต่อหนึ่งบทความ ซึ่งสามารถใช้อ้างอิงได้ทุกจุด สามารถทำได้ แต่ไม่ตรงตามหลักการอ้างอิงของวิกิพีเดีย ซึ่งต้องการอ้างอิงเยอะมาก เคยผ่านงานผู้ดูแลระบบมาก่อน เข้าใจค่ะว่าเป็นยังไง ถ้าผู้ดูแลระบบในปัจจุบันเห็นสมควรว่าบทความนี้มีเอกสารอ้างอิงน้อยมากและไม่ทันสมัยตามหลักวิชาการ ก็ยินดีให้ถอดถอนออกจากบทความคัดสรรค่ะ--Se:Rin พูดคุย – 08:56, 2 กรกฎาคม 2553 (ICT)
ผ่านมาหนึ่งเดือน เอาเป็นว่าผมจะตบเข้าบทความ Big cat นะครับเพราะน่าจะครอบคลุมที่สุดแล้วตามพจนานุกรมคือชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับแมว แต่ตัวใหญ่กว่า แต่อาจมีสิงโตหลุดเข้ามาแต่คงไม่เป็นไร ส่วนอ้างอิงผมจะพยายามหามาใส่เพิ่มครับ --Chale yan 14:16, 2 กรกฎาคม 2553 (ICT)
  1. ถ้าคุณ Serin ยังมีบทความนั้นอยู่ รบกวนตรวจเอกสารอ้างอิงในบทความ ว่าเขาอ้างจากไหนว่าเสือหมายถึงสปีชีส์เหล่านั้น
  2. ผมมองว่าถ้าชื่อไทยสรุปไม่ได้ ก็เขียนบทความตามฝรั่งไปก่อนครับใช้ชื่อ Big cat ไปก่อนเลย โดยไม่แปลว่ามันคือเสือ

ถ้ามองปัญหานี้ในภาพกว้าง ผมว่าคงมีสิ่งมีชีวิตอีกหลายชนิดที่มีปัญหา เพราะชื่อตามภาษาปากมันไม่สอดคล้องกับการจัดจำแนกทางวิทยาศาสตร์ เช่น สน เฟิร์น พวกนี้ก็มีปัญหาข้อยกเว้นที่คนเรียกไม้ดอกบางชนิดว่าสน หรือเรียกพืชชั้นสูงบางชนิดว่าเฟิร์น ดังนั้นหากเรายึดตามหลักวิทยาศาสตร์ก็จะเขียนบทความไล่ตามลำดับอนุกรมวิธานไปให้สมบูรณ์ (ซึ่งมีความเป็นสากล 100% มีวิกิลิงก์ข้ามภาษกันได้) ส่วนบทความที่เป็นชื่อภาษาทั่วไป ก็เขียนพอประมาณโดยลิงก์ไปยังบทความอนุกรมวิธานที่เกี่ยวข้องจะดีกว่า เพราะบทความพวกนี้ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละภาษาและวัฒนธรรม อาจไม่สากลและการพิจารณาวิกิลิงก์อาจทำได้ยาก

นอกจากนี้การแยกบทความอนุกรมวิธานออกมา อาจทำให้บทความเสือ ในความหมายทั่วไปสามารถเพิ่มเติมเรื่องราวเกี่ยวกับความเชื่อและวัฒนธรรมได้มากขึ้น (เสือสมิง เสือผู้หญิง ลูกเสือ เสือที่หมายถึงโจรผู้ร้าย รวมถึงเสือที่กล่าวถึงในวรรณคดี ฯลฯ)

--taweethaも 11:54, 4 กรกฎาคม 2553 (ICT)