วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/สังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์/มีนาคม 2556

การเลือกตั้งผู้ว่า กทม

การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครมีทั้งหมดกี่ครั้ง --58.8.79.242 13:57, 4 มีนาคม 2556 (ICT)

10 ครั้ง ดูที่ การเลือกตั้งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร --Nullzero (พูดคุย) 14:07, 4 มีนาคม 2556 (ICT)

ช่วยตอบด้วยค่ะ

ดิฉันกับสามีแต่งงานถูกต้องตามกฎหมายตั้งแต่ปี 36 แต่ดิฉันเกิดหลงผิดมีผู้ชายใหม่ตอนที่เขาไปทำงานต่างประเทศ สามีดิฉันเลยหนีไปบวชที่วัดเบญจตอนปี 37 ตอนที่เขาบวช พ่อเขาตาย เขาเลยได้ที่ดินที่สระแก้ว 10 ไร่ กับที่เชียงรายอีก 6 ไร่ พอปี 45 เขาศึกออกมาแต่งงานใหม่ ดิฉันกับสามีไม่ได้หย่ากัน แต่เขาจดทะเบียนสมรสใหม่ถูกต้องตามกฎหมาย ตอนนั้น เขามีความสุขเรื่องแต่งงานใหม่ กับสงสารดิฉันที่ถูกผู้ชายทิ้ง เลยโอนที่ดินที่เชียงรายทั้ง 6 ไร่ให้ดิฉันไว้เลี้ยงตัว จดทะเบียนโอนถูกต้องทุกอย่างค่ะ แต่ดิฉันโกรธที่เขาไปแต่งงานใหม่ เลยตามไปด่าเขาที่ที่ทำงานหลายครั้ง เขาเลยฟ้องเรียกที่ดินคืน แล้วตอนนี้ศาลก็สั่งให้ที่ดินที่เชียงราย 6 ไร่นั้นกลับไปเป็นของเขาแล้ว แต่สามีดิฉันตายก่อนที่สาลจะตัดสิน เขาไม่มีญาติพี่น้องที่ไหนอีก คนเกี่ยวข้องกับเขาที่สุดมีดิฉันกับเมียใหม่ของเขา เขาทำพินัยกรรมยกที่ดินที่สระแก้วให้เมียใหม่ แล้วนังใหม่จะเอาที่ดินที่เชียงรายด้วย มันอ้างว่าฉันไม่ใช่คู่สมรสของสามีอีกต่อไปแล้ว เพราะการที่สามีดิฉันจดทะเบียนใหม่กับมัน ทำให้การสมรสของสามีกับดิฉันจบลงแล้ว สรุปว่า ดิฉันกับนังเมียใหม่ใครจะได้ที่ดินที่สระแก้วกับที่เชียงรายคะ ตอบด้วยค่ะ --ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ 171.6.138.25 (พูดคุยหน้าที่เขียน)


  1. ปกติแล้วการจดทะเบียนสมรสซ้อน ทะเบียนใหม่นั้นจะเป็นโมฆะ แต่สิ่งที่คุณไม่ได้บอก (หรือไม่รู้) ว่าสามีคุณได้ไปฟ้องหย่ามาก่อนแล้วหรือเปล่า ถ้ากระบวนการเสร็จสรรพไปแล้ว ทะเบียนสมรสใหม่ก็จะยืน และที่ดินที่เชียงรายนั้นก็ถือเป็น "ค่าทดแทนหรือค่าเลี้ยงชีพ" ที่ต้องชดใช้ให้ตามกฎหมาย (ไม่ได้สงสาร)
  2. ที่ดินที่สระแก้ว เป็นของภรรยาใหม่ ตามพินัยกรรมได้ระบุไว้ ไม่มีสิทธิเรียกร้องใด ๆ
  3. ที่ดินที่เชียงราย ศาลได้ตัดสินให้สามีแล้ว (ไม่เกี่ยวว่าตายก่อนตายหลัง) ดังนั้นก็เป็นทรัพย์สินของสามี
  4. ในเมื่อสามีตาย ที่ดินที่เชียงรายเป็นทรัพย์สินที่ไม่ได้อยู่ในพินัยกรรม ดังนั้นก็ต้องว่าไปตามกฎหมายมรดก (ทรัพย์สินอื่น ๆ ก็จะรวมเข้าเป็นมรดกด้วย)
  5. กรณีที่ไม่มีทายาทโดยชอบธรรมคนอื่นเลย มรดกจะเป็นของภรรยาใหม่ 100% (ทายาทฯ หมายถึง สามี-ภรรยา ลูก-หลาน รวมไปถึงลูกต่างมารดาที่ชอบด้วยกฏหมาย พ่อ-แม่ และพี่น้องของผู้ตาย)
  6. กรณีที่มีทายาทโดยชอบธรรมคนอื่นเหลืออยู่นอกจากภรรยา ภรรยาใหม่จะได้ 50% บวกด้วยส่วนแบ่งอีกหนึ่งส่วน และทายาทก็จะได้ส่วนแบ่งคนละส่วนที่เหลือนั้น กรณีนี้ทายาททุกคนต้องยินยอม เพื่อร้องขอต่อศาลเพื่อแต่งตั้งใครสักคนเป็นผู้จัดการมรดก
    • ถ้าคุณเคยมีลูกกับเขา ลูกคุณก็จะได้ส่วนแบ่งมรดกด้วยเพราะเป็นทายาทฯ (แค่ส่วนหนึ่ง ไม่ใช่ทั้งหมด)
  7. สรุปคือ คุณต้องรู้ตัวก่อนว่า ตัวเองถูกฟ้องหย่าหรือเปล่า
    • ถ้าคุณถูกฟ้องหย่าไปแล้ว คุณไม่ได้อะไรเลย
    • ถ้าคุณไม่ได้ถูกฟ้องหย่า เท่ากับว่าทะเบียนสมรสของคุณยังมีผล ทะเบียนสมรสซ้อนของภรรยาใหม่เป็นโมฆะ คุณจะได้รับมรดกตามข้อ 5 หรือ 6 โดยเอาชื่อคุณไปแทนที่ "ภรรยาใหม่" (ยกเว้นที่ดินที่สระแก้ว ซึ่งพินัยกรรมได้ยกไปให้ภรรยาใหม่แล้ว)
หมายเหตุ นี่เป็นความเห็นของคนที่เคยเป็นผู้จัดการมรดกเท่านั้น ไม่มีผลทางกฎหมายอันใด --奥虎 ボンド 22:36, 5 มีนาคม 2556 (ICT)

ตัดเรื่องบวชออกไปเพราะไม่เกี่ยวข้อง เรื่องสมรสดูเหมือนจะเกี่ยวข้อง แต่ก็ไม่เกี่ยวข้องอีกอยู่ดี ในข้อกฎหมายประเด็นมีเพียงสองอย่าง

  1. ให้โดยเสน่หา ไม่มีค่าตอบแทน ไม่มีค่าภาระติดพัน ถ้าเนรคุณก็ถูกผู้ให้เรียกคืนได้ - ถูกเรียกคืนแล้ว คดีถึงที่สุดแล้ว ก็ย่อมเป็นของผู้เรียกคืน
  2. คดีแพ่งรับมรดกความได้ ดังนั้นทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรมก็รับของที่ได้มาจากคดีไป
  3. พินัยกรรมทำโดยชอบด้วยกฎหมายก็มีผลไปตามหลักแห่งความศักดิ์สิทธิ์ของเจตนา ผู้ตายอยากให้สมบัติตนสิ่งใดเป็นของใครก็ต้องเป็นของผู้นั้นเท่าที่เป็นไปได้

ในข้อเท็จจริง คุณอาจพูดจากับภริยาใหม่ของเขา ทำประนีประนอมยอมความได้ เพื่อไม่ให้พิพาทหมองใจกัน จะขอแบ่งทรัพย์สิ่งใดมาให้พอสมเหตุสมผลก็ได้ และยินยอมจะไม่ยุ่งเกี่ยวฟ้องร้องเอาสิ่งใดแก่กันอีก ฝ่ายนั้นถือว่าช่วยเหลือกันตามศีลธรรมจรรยา และแลกเอากับความสบายใจ เพราะคุณอาจเอาเรื่องค่าชดใช้ตามกฎหมายหรือหยิบประเด็นเล็กน้อยอะไร ๆ มาฟ้องเป็นคดีได้ ทางที่ดีที่สุดแล้วก็คือพูดจากันและให้อภัยกัน

อนึ่ง ตามกติกาของวิกิพีเดียข้างบน เราไม่รับปรึกษาปัญหาการแพทย์และปัญหากฎหมายนะครับ --taweethaも (พูดคุย) 06:47, 6 มีนาคม 2556 (ICT)


เพิ่งจะเห็นว่ามีอีกคำตอบหนึ่ง [1] --taweethaも (พูดคุย) 09:36, 7 มีนาคม 2556 (ICT)

มีมเหสีหรือไม่

พระนเรศวสมีมเหสีหรือไม่ --125.24.31.245 11:23, 10 มีนาคม 2556 (ICT)

ลองดูพระนเรศวรมีพระนามพระมเหสีในนั้น (วิกิพีเดียภาษาไทยไม่มี พระนเรศวส) --taweethaも (พูดคุย) 11:32, 10 มีนาคม 2556 (ICT)

กฎหมายการหย่าร้างของเขมร

อยากทราบ หากภรรยาฟ้องหย่า ผมมีบุตรสาว 1 คน อายุ 4 ขวบ แล้มมีที่ดินและบ้านผมกับภรรยาคนละครึ่ง อยากรู้ครับว่าผมจะได้ลูกเลี้ยงมาดู และเรื่งที่ดินผมไม่ทราบเลย บอกผมหน่อยครับ ผมและภรรยาเป็นคนกัมพูชา ผมไม่รู้เรื่องกฎหมายภายในประเทศเลยครับ --ความเห็นที่มิได้ลงชื่อโดย 223.206.58.112 (พูดคุย | ตรวจ) 08:00, 13 มีนาคม 2556 (ICT)

ตามกฎหมายไทย คนต่างด้าวไม่มีสิทธิในที่ดิน ส่วนเรื่องบุตรนั้น ย่อมเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของมารดาเสมอ อย่างไรก็ดีเป็นเรื่องของศาลจะพิจารณาต่อไปในเรื่องสิทธิการเลี้ยงดูผู้เยาว์ ป.ล. ข้ามบนเขียนไว้อยู่แล้วว่าไม่รับปรึกษาปัญหากฎหมาย --taweethaも (พูดคุย) 11:02, 13 มีนาคม 2556 (ICT)

เรื่องฟ้องหย่ากันควรจัดการที่กัมพูชาเพราะทั้งสามีและภรรยาถือสัญชาติกัมพูชา สำหรับที่ดินที่คุณ 223.206.58.112 กล่าวมานั้นผมเข้าใจว่าน่าจะเป็นที่ดินในประเทศกัมพูชา จึงอยู่ภายใต้กฎหมายของกัมพูชาเช่นกัน แต่หากที่ดินนั้นอยู่ในไทย ก็คาดว่าคุณเป็นเจ้าของที่ดินนั้นโดยพฤตินัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเจ้าของจริง ๆ โดยนิตินัย (เช่น ในเอกสารสิทธิ์ไม่ได้ระบุว่าตัวคุณผู้ถามเป็นเจ้าของ) ดังที่คุณทวีธรรมได้ตอบไปข้างต้น --L0V3Kr1TT4Y4 15:31, 28 ตุลาคม 2556 (ICT)