วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/สังคมศาสตร์และประวัติศาสตร์/มกราคม 2555

วัดที่ถูกพม่าเผาตอนเสียกรุง

อยากรู้ว่าพม่าเผาวัดที่กรุงศรี ที่เป็นวัดแรก ชื่ออะไรครับ และพอจะมีชื่อคนเผาไหมครับ และตอนเผาทำยังไงครับ จากตั้มครับ--110.169.23.208 17:52, 4 มกราคม 2555 (ICT) --110.169.23.208 17:52, 4 มกราคม 2555 (ICT)

  1. ไม่แน่ชัดว่าพม่าเผาวัดไทยครั้งแรกในการเสียกรุงศรีฯ ครั้งที่ 2 หรือไม่ แต่ก็น่าจะใช่ เพราะการเสียกรุงฯ ครั้งที่ 1 พม่าไม่ทำลายบ้านเมือง เพียงจับผู้นำกรุงศรีฯไปเป็นเชลย
  2. เผาวัดใดเป็นวัดแรก ใครเป็นคนเผา เผาอย่างไร ตอบได้ยากเวลาผ่านมานานแล้ว แค่เรื่องที่ผ่านมาไม่นาน เช่น พฤษภาทมิฬ กรมสรรพากรถูกใครเผา เผาอย่างไร ตอบได้ไหมครับ หรือ ล่าสุดในบริเวณราชประสงค์ และหลายแห่งใน กทม. เผาสถานที่ใดเป็นแห่งแรก คนเผาชื่ออะไร ตอนเผาทำอย่างไร ยังตอบไม่ได้...

คำแนะนำ

  1. อยากให้ศึกษาบทความการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 เพื่อทำความเข้าใจเพิ่มเติมนะครับ กระแสการสร้างชาติด้วยลัทธิชาตินิยม ทำให้เห็นว่ามีศัตรูผู้รุกราน อาจแฝงอยู่ในคำถามของคุณ
  2. เรื่องการเผาก็ไม่มีอะไร เกิดแต่การสันดาประหว่างเชื้อเพลิงกับออกซิเจน อ่านได้ที่การเผาไหม้

--taweethaも 16:18, 7 มกราคม 2555 (ICT)

รถยนต์หนึ่งคัน ทายาทสามคน

ขอสอบถามเกี่ยวกับการแบ่งมรดก มีทายาทอยู่สามคน ทรัพย์สินมรดกของผู้ตายมีหลายอย่าง เงินฝากหลายบัญชี และรถหนึ่งคัน และมีการแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว เรื่องเงินฝากหลายบัญชีนั้นไม่มีปัญหาอยู่แล้วเพราะหารสามได้ แต่รถยนต์มีคันเดียวแบ่งไม่ได้ และทายาทไม่ต้องการให้นำรถไปขายเพื่อเปลี่ยนเป็นเงิน ดังนั้น ทายาทสองคนจะสามารถทำหนังสือสละสิทธิ์ในมรดกเฉพาะรถยนต์ให้กับผู้จัดการมรดก เพื่อให้ทายาทคนโตได้รับโอนเต็มคันได้หรือไม่ เมื่อทำแล้วทายาททั้งสามจะยังคงได้รับส่วนแบ่งเงินฝากใช่ไหม (คือไม่ได้สละสิทธิ์ในเงินฝากไปด้วย) เนื่องจากผมสงสัย ป.พ.พ. มาตรา 1613 การสละมรดกนั้น จะทำแต่เพียงบางส่วน หรือทำโดยมี เงื่อนไข หรือเงื่อนเวลาไม่ได้ "บางส่วน" ตีความว่าอย่างไร เพราะกองมรดกมีทรัพย์สินหลายอย่าง การสละทรัพย์สินหนึ่งอย่างเรียกว่าบางส่วนหรือไม่ --octahedron80 22:43, 12 มกราคม 2555 (ICT)

  1. ผมกำลังเขียนตำราเรื่องสละมรดกอยู่พอดีล่ะ (แต่ค้างมาหลายวันละ มานั่งเขียนอะนิเมะในวิกิพีเดียแทน)
  2. ป.พ.พ. ม. 1613 นั้น เอามาจากของเยอรมันครับ ซึ่งเขาว่า "The acceptance or disclaimer of a part is ineffective." (มาตรา 1950)
  3. ห้ามสละมรดกบางส่วน หมายความว่า ถ้าเลือกจะสละแล้ว ต้องสละทั้งหมด ดังนั้น ที่คุณ octahedron80 ถามว่า สละรถ แต่ไม่สละเงินฝากได้ไหม ต้องตอบว่า ไม่ได้ครับ
  4. แต่ถ้าทายาทคนนั้นมีสิทธิหลายอย่างในอันที่จะได้มรดก คือ มีทั้งสิทธิโดยธรรม และสิทธิโดยพินัยกรรม การที่ทายาทคนนั้นสละสิทธิอย่างหนึ่ง และคงรับเอาแต่สิทธิอีกอย่างได้ ไม่เรียกว่า สละบางส่วน ไม่ต้องห้าม เพราะถือว่า สละความเป็นทายาทประเภทหนึ่ง ๆ นั้นไปเต็มตัวแล้ว (เช่น คนที่เป็นทั้งทายาทโดยธรรมและผู้รับพินัยกรรม สละสิทธิโดยธรรม ก็ไม่นับเป็นทายาทโดยธรรมอีกโดยสิ้นเชิง เรียกว่า สละสิทธิโดยธรรมไปเต็มสิทธิแล้ว)
  5. ถ้าทายาทกรณีคุณ octahedron80 มีสิทธิได้รับรถเป็นสิทธิโดยพินัยกรรม และสิทธิได้รับเงินเป็นสิทธิโดยธรรมเป็นต้น แล้วเขาสละสิทธิรับรถ ก็คงจะได้รับเงินอยู่ แต่ถ้าสิทธิที่เขาจะได้รับรถและเงินนั้นเป็นสิทธิอย่างเดียวกัน จะเลือกสละแต่รถ ไม่สละเงิน ไม่ได้
  6. เหตุผลที่เขาห้ามสละบางส่วน ต้องสละทั้งหมด เพราะมันยุ่งยาก ก็เลยบังคับให้สละไปให้หมด ๆ ไปเลย ตัวอย่างเช่น
    1. ก เป็นลูก ข
    2. ข เป็นน้อง ค
    3. ข และ ค เป็น ลูก ง (ก เป็นหลาน ง)
    4. ก ตาย ไม่ได้ทำพินัยกรรม
    5. เหลือ ค (ลุง ก) และ ง (ปู่ ก) ไม่ตาย (เอาเป็นว่า ตัวละครมีเท่านี้ ก ไม่มีลูก ผัว หรือเมีย หรือญาติที่ไหนอีก)
    6. ในการนี้ ง เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 5 ของ ก (ชั้นปู่ ย่า ตา ยาย), และ ค เป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 6 ของ ก (ชั้นลุง ป้า น้า อา)
    7. ตราบที่ทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่ายังมีสิทธิอยู่ ลำดับต่ำกว่าไม่มีสิทธิเลย ดังนั้น ค ไม่มีสิทธิรับมรดกของ ก
    8. แต่เผอิญ ง ปู่ อยากสละมรดก และอยากสละมรดกแค่บางส่วนด้วย ดังนี้ ตามกฎหมายโดยปรกติแล้ว เมื่อ ง ปู่ผู้ตาย สละมรดก มรดกที่สละนั้นก็จะตกแก่ ค ซึ่งเป็นลุงและทายาทที่เหลืออยู่อีกคนของผู้ตาย
    9. แต่ว่า การสละบางส่วน ทำให้ ง ปู่ ยังมีสิทธิในส่วนที่ไม่ได้สละอยู่ เมื่อ ง ปู่ ยังมีสิทธิอยู่, ค ลุง ก็จะไม่อาจรับมรดกที่ ง ปู่ สละได้ เพราะอย่างที่ว่า "ตราบที่ทายาทโดยธรรมลำดับสูงกว่ายังมีสิทธิอยู่ ลำดับต่ำกว่าไม่มีสิทธิเลย"
    10. ดังนั้น มรดกที่ ง ปู่สละไปบางส่วนนั้น ก็ไม่อาจตกไปถึง ค ลุง และจะตกแก่แผ่นดินก็ไม่ได้อีก เพราะไม่เข้าเกณฑ์ ป.พ.พ. ม. 1753 ที่ว่า "เมื่อบุคคลใดถึงแก่ความตาย โดยไม่มีทายาทโดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรม... มรดกของบุคคลนั้นตกทอดแก่แผ่นดิน"
    11. เพราะฉะนั้น มรดกที่ ง ปู่ สละไปบางส่วนนั้น ก็จะล่องลอยอยู่ ไม่อาจตกไปที่ใคร ง ก็ไม่เอา, ค ก็ไม่ได้, แผ่นดินก็ไม่ได้ เป็นเหตุให้เขาต้องบังคับห้ามสละมรดกบางส่วน
  7. กรณีที่ทายาทมีสิทธิรับมรดกหลายสิทธิ และสละสิทธิไปหนึ่งสิทธิดังว่ามาแล้วนั้น ไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายแบบกรณี ก, ข, ค, ง ข้างบนนี้แต่ประการใด

--Aristitleism 23:28, 12 มกราคม 2555 (ICT)

อธิบายเพิ่มเติมว่า สละทั้งหมด หมายความว่า ทั้งหมดที่ทายาทคนนั้นพึงได้โดยสิทธิหนึ่ง ๆ คือ สละสิทธินั้นไปเลย ถ้ามีสิทธิเดียว ก็จบเท่านั้น ถ้ามีสองสิทธิ (สิทธิโดยธรรมและสิทธิโดยพินัยกรรม) จะสละสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งหรือทั้งคู่ก็ได้ เป็นแต่ว่า หมดสถานะความเป็นทายาทประเภทหนึ่ง ๆ ไปโดยสิ้นเชิงก็พอ นั่นคือ ความต้องการของ ป.พ.พ. ม. 1613 หวังว่า คงไม่งงนะครับ (55+) --Aristitleism 23:57, 12 มกราคม 2555 (ICT)

สรุปว่าสละไม่ได้เพราะจะไม่ได้อะไรเลย พินัยกรรมไม่ต้องพูดถึงไม่มีอยู่แล้ว แล้วเรื่องรถยนต์จะทำอย่างไร ถ้าแบ่งให้คนเดียวไปหมด ก็ทำกับว่ากินส่วนของคนอื่น ผมกำลังจะเป็นว่าที่ผู้จัดการมรดก และเป็นทายาทคนโตในเวลาเดียวกัน (พี่น้องสามคน) จึงไม่สามารถกระทำเช่นนั้นได้ ถ้าแบ่งไม่เท่ากันผมก็ผิดอีก --octahedron80 00:13, 13 มกราคม 2555 (ICT)

  1. ถ้าไม่ขายเอาตัวเงิน ก็คงแบ่งยากครับ ถ้าไปขึ้นศาล ศาลก็คงให้ขาย แล้วเอาเงินมาแบ่งกันเหมือนกัน เพราะ ป.พ.พ. ว่า "การแบ่งปันทรัพย์มรดกนั้น อาจทำได้โดยทายาทต่างเข้าครอบครองทรัพย์สินเป็นส่วนสัด หรือโดยการขายทรัพย์มรดก แล้วเอาเงินที่ขายได้มาแบ่งปันกันระหว่างทายาท"
  2. หรืออาจตกลงกันว่า ให้ถือกรรมสิทธิ์ด้วยกันทุกคน ตามเรื่องกรรมสิทธิ์รวมก็ได้ครับ ก็จะได้เป็นเจ้าของด้วยกันทุกคน
  3. อย่างไรก็ดี มีข้อสังเกตว่า ถ้าต้องการแบ่งทรัพย์สินรวม ก็อาจต้องขายเอาเงินมาแบ่งกันอยู่ดีครับ ทั้งนี้ ป.พ.พ. ว่า "การแบ่งทรัพย์สิน [รวม] พึงกระทำโดยแบ่งทรัพย์สินนั้นเองระหว่างเจ้าของรวม หรือโดยขายทรัพย์สิน แล้วเอาเงินที่ขายได้แบ่งกัน ถ้าเจ้าของรวมไม่ตกลงกันว่า จะแบ่งทรัพย์สินอย่างไรไซร้ เมื่อเจ้าของรวมคนหนึ่งคนใดขอ ศาลอาจสั่งให้เอาทรัพย์สินนั้นออกแบ่ง ถ้าส่วนที่แบ่งให้ไม่เท่ากันไซร้ จะสั่งให้ทดแทนกันเป็นเงินก็ได้ ถ้าการแบ่งเช่นว่านี้ ไม่อาจทำได้หรือจะเสียหายมากนักก็ดี ศาลจะสั่งให้ขายโดยประมูลราคากันระหว่างเจ้าของรวมหรือขายทอดตลาดก็ได้"
--Aristitleism 00:30, 13 มกราคม 2555 (ICT)
เป็นกรรมสิทธิ์รวมคงไม่ได้ เพราะทะเบียนรถต้องเป็นชื่อคนใดคนหนึ่ง เอาไว้ต่อ พรบ และจ่ายภาษี เป็นชื่อหลายคนไม่ได้ นอกจากนี้ อีกสองคนยังเป็นผู้เยาว์อยู่ด้วย --octahedron80 00:51, 13 มกราคม 2555 (ICT)
  1. ทะเบียนรถไม่ใช่ทะเบียนกรรมสิทธิ์ครับ เป็นแต่ผู้มีชื่อในทะเบียนมีหน้าที่เสียภาษี และเวลาเกิดเรื่องมิดีมิร้ายอะไร ก็มีหน้าที่รับผิด เป็นต้นครับ รถยนต์เป็นสังหาริมทรัพย์ กรรมสิทธิ์ในรถยนต์ทั่วไปไม่จำต้องจดทะเบียน และรถยนต์สามารถอยู่ในบังคับแห่งกรรมสิทธิ์รวมได้ เช่น หลายคนออกเงินซื้อรถด้วยกันคันหนึ่ง ก็เป็นเจ้าของรถนั้นด้วยกันทั้งหมด นอกจากนี้ มรดกก็เป็นทรัพย์สินรวมของทายาททุกคนจนกว่าจะแบ่งเสร็จเด็ดขาดไปเหมือนกันครับ
  2. แต่เรื่องผู้เยาว์นี่ คงยุ่งยากอีกหน่อยครับ เพราะต้องว่ากันไปลึกซึ้งอีก
--Aristitleism 01:09, 13 มกราคม 2555 (ICT)
แสดงว่า ผมสามารถโอนจากชื่อผู้ตายมาเป็นชื่อผมได้ทันทีใช่ไหมครับ (เพราะผมเป็นผู้จัดการมรดกและเป็นทายาทด้วย) แล้วผมจะแจกแจงในรายงานการแบ่งทรัพย์สินอย่างไร ใช้กรรมสิทธิ์รวม? เจ้าหน้าที่จะรับโอนหรือเปล่าก็ยังไม่รู้ --octahedron80 01:25, 13 มกราคม 2555 (ICT)
  1. น่าจะพูดคุยดูกับทายาททั้งหมดก่อนนะครับ เผื่อคนอื่นเขาไม่เอาด้วยอะไรเงี้ย หรือผู้เยาว์เขามีผู้แทนโดยชอบธรรมที่ไม่ลงใจด้วย หรือถ้าคุณ octahedron80 เองเป็นผู้แทนโดยชอบธรรม (ศาลตั้งให้ปกครองผู้เยาว์) ก็ไม่แน่ว่าจะให้จัดการเข้าเป็นเจ้าของรวมแทนผู้เยาว์ได้ เพราะการนั้นอาจเป็น การรับมรดก "อันมีค่าภาระติดพัน" (encumbered with charge) กล่าวคือ ทำให้ผู้รับมีหน้าที่ต่าง ๆ เช่น เสียภาษี หรือต้องทำอะไรอีกก็ดี ซึ่งผู้เยาว์จะรับมรดกแบบนี้ได้ต้องได้รับอนุญาตจากผู้แทนโดยชอบธรรม แต่เมื่อผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นผู้จัดการมรดกด้วย หรือมีสิทธิในทรัพย์สินด้วย ก็อาจเข้ากรณีผลประโยชน์ขัดกันกับผู้เยาว์ จะอนุญาตไม่ได้ ต้องไปขออนุญาตศาลแทน หรืออาจเป็นการรับทรัพย์สิน "อันมีค่าภาระติดพัน" แทนผู้เยาว์ ซึ่งต้องขออนุญาตศาลเช่นกัน เป็นต้น
  2. ที่จริงน่าจะไปหานักกฎหมายที่มีประสบการณ์ฟิตปั๋งดูสักคนนะครับ ผมแค่เด็กคนหนึ่งเอง คิดเห็นแต่ตามทฤษฎี อาจมีอะไรซับซ้อนกว่านี้ หรือง่ายกว่านี้ก็ได้ (และไม่ควรเชื่ออะไรบนอินเทอร์เน็ต รวมถึงผมและคนอื่น ๆ ที่อาจเข้ามาร่วมสนทนา) นอกจากนี้ การได้พูดคุยแบบตัวต่อตัว จะทำให้ผู้อธิบายสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ดีกว่าการพิมพ์ตอบกันบนอินเทอร์เน็ตด้วยครับ แบบถามตอบกันได้ดั่งใจอะไรประมาณนั้นน่ะครับ
--Aristitleism 01:52, 13 มกราคม 2555 (ICT)
ผมคิดวิธีออกอยู่อย่างหนึ่งคือ ขายรถคันนี้ให้ญาติ (ลุง-ป้า) เพราะเขาอยากได้รถ จะได้เอาเงินส่วนนี้มาแบ่งปัน แต่ปัญหามีอยู่ว่าญาติคนดังกล่าวไม่ค่อยสนิทนัก อาจจะไม่ยอมจ่ายเงินซื้อ เขาอยากให้ผมโอนรถให้ฟรีด้วยซ้ำ เป็นสาเหตุที่ผมจึงต้องมาถามว่า มีแนวทางอื่นที่เป็นไปได้บ้างไหม --octahedron80 01:01, 13 มกราคม 2555 (ICT)
  1. เรื่องผู้เยาว์ลำบากมาก ต่อให้มีผู้แทนโดยชอบธรรมก็ยังไม่ได้ เคยมีเรื่องโอนที่ดิน ผู้เยาว์รับโอนได้ แต่โอนออกเป็นปัญหามาก เจ้าหน้าที่อาจยอมจดทะเบียนให้ก็จริง แต่ให้เขียนท้ายสัญญาไว้ว่า คู่ความฝ่ายขายฝ่ายซื้อยืนยัน จึงจดไปตามนั้น หากมีปัญหาขึ้นโรงศาล เจ้าหน้าที่ไม่เกี่ยว... ถ้าผู้เยาว์โตขึ้นมาแล้วมาฟ้องร้องเอาทีหลังว่าผู้แทนโดยชอบธรรมทำการไปโดยมิชอบ งานนี้ก็ยุ่ง
    • ผมมองว่าการรับโอนรถที่ต้องเสียภาษีไม่ใช่ปัญหา (รับโอนที่ก็ต้องเสียภาษีบำรุงท้องที่ภาษีโรงเรือนเหมือนกัน ยังไม่เป็นปัญหาเลย) แต่การขายรถออกไป อาจจะลำบากหน่อย (แต่ไม่ลำบากเท่าขายที่ดิน)
  2. เรื่องรถยนต์นั้น อย่างข้างบนว่าก็คือเป็นกรรมสิทธิ์ร่วม หากใครถือครองเอาไปใช้ก็ควรจ่ายค่าเช่า แต่ถ้าต้องมีคนดูแลโดยไม่ได้ใช้งานก็ควรคิดค่าเก็บรักษาดูแล หากพูดแบบนี้ให้ทายาททุกคนรับรู้ คิดว่าคงได้ทางออกในไม่ช้า (คงมีการประเมินตัวเลขออกมาประมูลกัน และมีคนรับใปใช้ หรือรับไปดูแลโดยมีสัญญาผูกพันธ์กับกองมรดก หรือยอมตัดใจขายเอง)
    • ถ้าทายาทบางคนต้องการขาย บางคนไม่ยอมขาย มันจะจบที่ฟ้องร้องแล้วศาลมีคำสั่งให้ขายทอดตลาดนำเงินมาแบ่งกัน การขายดำเนินการผ่านกรมบังคับคดี (กรมฯ กินค่าใช้จ่ายในการขายเป็น %) ทายาททุกคนมีสิทธิ์เข้าประมูลและจ่ายเฉพาะเงินส่วนต่างก็ได้ (ไม่ต้องควักเงินก้อนใหญ่ทั้งหมดซึ่งในที่สุดเงินส่วนหนึ่งก็ต้องแบ่งมาเข้ากระเป๋าตัวเอง)

--taweethaも 12:25, 22 มกราคม 2555 (ICT)

ประเทศเยรมันมีความเป็นมาอย่างไร

ประเทศเยรมันนีมีความเป็นมาอย่างไร และความเสื่อมของประเทศเยรมันนีเป็นอย่างไร

--110.49.227.33 10:09, 17 มกราคม 2555 (ICT)

โปรดอ่านบทความ ประเทศเยอรมนี คนอายุหลายล้านปี คุยแล้วตอบด้วย 21:55, 11 กุมภาพันธ์ 2555 (ICT)

เลขาธิการคณะรัฐมนตรี คนปัจจุบันชื่ออะไรครับ

เลขาธิการคณะรัฐมนตรี คนปัจจุบันชื่ออะไรครับ --202.28.179.5 11:04, 24 มกราคม 2555 (ICT)

ดูรายนามเลขาธิการคณะรัฐมนตรีของไทย --taweethaも 12:24, 24 มกราคม 2555 (ICT)