วิกิพีเดีย:ปุจฉา-วิสัชนา/กรุ/วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์/ตุลาคม 2553

คำถาม ตุลาคม 2553

การวัดค่าความหนืดเชิงจลน์ (Kinematic Viscosity) ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ทำไมต้องทำที่อุณหภูมินี้?

Kinematic Viscosity หรือ ความหนืดเชิงจลน์ ที่ 40 องศาเซลเซียส (เป็นมาตรฐานตาม ASTM ที่ใช้วัดน้ำมันดีเซล) อยากทราบว่า ทำไมต้องทำการวัดค่าความหนืดเชิงจลน์ที่อุณหภูมิ 40 องศาเซลเซียส ด้วยคะ เหตุผลคืออะไร ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ

--58.9.138.39 22:58, 3 ตุลาคม 2553 (ICT) Peach


จะวัดอะไรที่อุณหภูมิใด เพื่อเป็น reference point ตามมาตรฐานต่างๆ นั้นย่อมมีที่มาแน่นอน บางมาตรฐานจะใช้ อุณหภูมิห้อง RT= 15, 20, 25, 28, 30 องศาเซลเซียส (แล้วแต่ว่าประเทศอยู่แถวไหน) บางทีใช้ 273.15 K (จุดเยือกแข็งของน้ำ) สำหรับกรณีน้ำมันดีเซล ผมเดาว่าเป็นอุณหภูมิในห้องเครื่อง ซึ่งย่อมร้อนกว่าอุณหภูมิของบรรยากาศรอบๆ --taweethaも 12:57, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)
อุณหภูมิห้องเครื่อง ไม่น่าจะใช่นะครับ เพราะปกติแล้ว จุดที่เหมาะแก่การเดินเครื่องที่สุดคือเมื่ออุณหภูมิน้ำหล่อเย็นอยู่ที่ 80 องศครับ นอกจากนี้นำมันดีเซลมีจุดวาบไฟ (Flash Point) อยู่ที่ราว ๆ 60 องศา (เบ็นซินอยู่ที่ประมาณ 95 องศา) ดังนั้น สมมติฐานที่ว่าอุณหภูมิห้องเครื่องไม่น่าจะใช้ แต่การใช้เป็น จุดอ้างอิงหน่ะถูกแล้วครับ แต่เพราะอะไร ผมก็ไม่ทราบเหมือนกันครับ จะให้ไปอ่านที่ตัวมาตรฐาน ผมก็ไม่แน่ใจว่าจะมีหรือเปล่าเหมือนกันครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 13:14, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)
ปกติแล้วปัญหาของน้ำมันดีเซลในประเทศเขตหนาวคือ น้ำมันจะแข็งตัวได้ถ้าอากาศเย็นมาก - สำหรับในประเทศไทยก็อาจพอมีบ้าง ถ้ามันหนาวกว่าปกติ เพราะเราไม่ได้เข้มงวดมาตรฐานตรงนี้ - อันนี้น่าจะไม่เกี่ยวเพราะว่าเป็นค่ามาตรฐานอีกตัวนึง ค่ามาตรฐานที่ถามในคำถามนี้ เป็นความหนืดเชิงจลน์ หมายถึงขณะที่น้ำมันมีการเคลื่อนที่ ผมจึงมองว่าเป็นค่ามาตรฐานที่จำเป็นสำหรับอุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าปั๊มและหัวฉีดจะได้ออกแบบมาให้รองรับ... คำว่าห้องเครื่องที่ผมกล่าวถึง ผมไม่ได้หมายถึงกระบอกสูบหรือห้องเผาไหม้ หรือ อะไรแถวนั้น แต่ผมหมายความว่า เปิดฝากระโปรงหน้ารถ (หรือท้ายรถ) มา เราจะเจออุปกรณ์ต่างๆ มากมาย ห้องนั่นแหละครับ ที่ผมคิดว่าอุณหภูมิประมาณ 40 องศาเซลเซียส --taweethaも 13:24, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

ไอออกปากเมื่ออุณหภูมิเท่าไหร

--182.232.151.142 21:17, 14 ตุลาคม 2553 (ICT)

ขึ้นกับอุณหภูมิ ความดันบรรยากาศ และความชื้นสัมพัทธ์ของบริเวณนั้นครับ แต่การเกิดไอนั้น หมายความว่า อุณหภูมิ ความดัน และความชื้นมันพัทธ์นั้นเข้าใกล้จุดกลั่นตัว (dew point) ครับ แต่ถ้าอยากทราบข้อมูลที่ชัวร์ ๆ ให้เปิด ไซโครเมตริกซ์ ฉาร์ท (Psychrometrics) ครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:49, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

ทำไมน้ำมันที่ยังไม่ได้กลั่น(ที่ไม่ได้แต่งเติมสี)ถึงเปลี่ยนสีได้

น้ำมันที่ผลิตจากพลาสติก (คล้ายกับน้ำมันดิบที่นำไปกลั่นในโรงกลั่นปิโตรฯ) หรือน้ำมันดิบก่อนนำไปกลั่น น้ำมันเหล่านี้เมื่อเวลาผ่านไปทำไมสีของน้ำมันถึงเปลี่ยนได้

ขอลงรายละเอียดเล็กน้อยนะคะ อย่างน้ำมันที่โดนแสง ตามที่ตัวเองสังเกตุมานะคะ จากลำดับการเปลี่ยนสี บางขวดก็เห็นว่าสีมันเปลี่ยนจากเหลืองเป็นเหลืองเข้ม บางขวดก็เปลี่ยนเป็นสีอ่อนลง แต่ที่เพื่อนเคยสังเกตุน้ำมันของเค้ามา คือ ช่วงแรกๆพอเวลาผ่านไป สีเปลี่ยนจากเหลืองซึ่งเป็นสีในตอนแรกที่ผลิตได้ มาเป็นสีที่อ่อนลง และในระยะหลังต่อมา สีก็เปลี่ยนเป็นเข้มขึ้นเรื่อยๆๆๆ

ส่วนน้ำมันที่ไว้ในที่มืด จากที่ตัวเองสังเกตุมานะคะ มันเปลี่ยนสีเดิมจากสีเหลืองกลายเป็นสีน้ำตาล แล้วค่อยๆเข้มขึ้น

บอกตรงๆว่าเรื่องสี ถ้าจะสังเกตุให้ละเอียดโดยใช้สายตาก็ยากเหมือนกันค่ะ ลำดับเปลี่ยนสีมันเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบภายในน้ำมันรึเปล่าคะ ไม่แน่ใจว่าใครสังเกตุมาถูกต้อง เลยเล่ามาให้ละเอียดค่ะ

ประเด็นก็คือว่า อยากทราบว่าทำไมน้ำมันถึงเปลี่ยนสีไปตามที่เล่ามาหรือคะ อยากทราบเหตุผลค่ะ ยิ่งละเอียดก็ยิ่งดีค่ะ ท่านใดพอทราบ รบกวนช่วยตอบหน่อยนะคะ ขอความรู้ค่ะ มากน้อยก็ได้ ขอบคุณมากๆล่วงหน้าค่ะ


--58.9.154.168 01:06, 19 ตุลาคม 2553 (ICT)

อันนี้บอกตรง ๆ ว่า บอกได้ยากในเชิงรายละเอียด เพราะจริงจริงแล้ว น้ำมันเองก็มีหลายชนิด หลายเกรดเหมือนกันนะครับ ให้ข้อมูลมาเท่านี้ ถ้าไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญจริงจริงก็คงจะตอบยาก แต่หลักกว้าง ๆ ก้คือ แสงเข้ามาทำปฏิกิริยากับน้ำมันจนทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 12:46, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

อันว่าน้ำมันก็คือสารประกอบไฮโดรคาร์บอน สำหรับสารประกอบกลุ่มนี้ ถ้าอิ่มตัวแล้ว ย่อมจะไม่มีสี การที่มันมีสีเกิดแต่การที่มันมีพันธะคู่ พันธะสาม หรือวงแหวนอะโรมาติก / conjugation พันธะเหล่านี้ทำให้มันดูดกลืนแสงได้ และเมื่อมันดูดกลืนแสงเข้าไป ก็ทำให้ไปสู่ excited state และอาจเกิดปฏิกิริยาเคมีต่อไปได้ ได้สารตัวใหม่ สีก็จะเปลี่ยนไป โดยมากแล้วของที่โดนแดด สีมักจะซีดจางลง หากสีเกิดจากสารประกอบอินทรีย์ (หรือพูดง่ายๆ ว่าสารประกอบไฮโดรคาร์บอน) เพราะว่าพันธะคู่แตกออก และเกิดปฏิกิริยากลายเป็นพันธะเดี่ยวไป อย่างไรก็ดี บางครั้งปฏิกิริยาเหล่านี้เกิดไปในทิศทางที่ให้เกิด conjugation แม้จำนวนพันธะไม่อิ่มตัวจะไม่ได้เพิ่มขึ้น แต่ conjugation effect ที่มากขึ้นจะทำให้ดูดกลืนแสงได้มากขึ้น หรือมีสีเข้มขึ้นนั่นเอง

น้ำมันที่กลั่นแล้วองค์ประกอบหลักเป็นไฮโดรคาร์บอนอิ่มตัว เพราะมันจะเผาไหม้ได้สมบูรณ์ ความจริงแล้วน้ำมันที่กลั่นแล้วควรไม่มีสีหรือสีจางมาก แต่บางทีเขาก็ใส่สีลงไปเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ เช่น น้ำมันม่วง เป็นน้ำมันที่รัฐบาลช่วยอุดหนุนราคาขายให้กับเรือประมงเท่านั้น

ส่วนน้ำมันดิบ หรือน้ำมันที่ยังไม่ผ่านกระบวนการมีสารอินทรีย์อื่นๆ เจอปนอยู่มาก จึงมีสี และสารเหล่านี้ไม่เคยรับแสงแดดมาก่อน เมื่อเจอแสงก็ย่อมเกิดปฏิกิริยาดังกล่าวมาแล้วข้างต้น --taweethaも 13:57, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

สูตรและวิธีการคำนวณความแข็งแรงของกระจก

--58.10.152.183 13:50, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)

ใช้สูตรหาค่าความเครียด ความเค้นธรรมดาเหมือนวัสดุอื่นทั่วไปครับ --ไอ้ขี้เมา (หว่อบู้ต่ง-จงเหวิน) : ผู้ดูแลหน้าตาดีแห่งไร้สาระนุกรม : ก๊งเหล้ากันได้ 18:45, 22 ตุลาคม 2553 (ICT)