วิกิพีเดีย:การเลือกตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ธันวาคม 2554/ผู้สมัคร/Octahedron80/คำถาม

แนะนำให้ผู้สมัครตอบคำถามทุกข้ออย่างครบถ้วนสมบูรณ์แต่ก็สั้นกระชับไปในขณะเดียวกัน ผู้สมัครอาจปฏิเสธจะตอบคำถามใด ๆ ก็ได้ที่ตนไม่ปรารถนา อย่างไรก็ดี การปฏิเสธไม่ตอบคำถามใด ๆ นั้นอาจมีผลต่อการพิจารณาการรับเลือกคณะอนุญาโตตุลาการได้ ทั้งนี้การเปิดเผยประวัติบัญชีของคุณ (ถ้ามี) ตามนโยบายการคัดเลือกและแต่งตั้งคณะอนุญาโตตุลาการ ต้องระบุไว้ในคำแถลงสมัคร และไม่สามารถปฏิเสธที่จะไม่ระบุบัญชีผู้ใช้อื่นที่มีหรือไม่เคยมีได้

ทั่วไป แก้

  1. คำถามเกี่ยวกับทักษะและประสบการณ์ (Skills and Experience)
    1. คุณคิดว่าจะนำทักษะและ/หรือประสบการณ์ทั้งในและนอกวิกิพีเดียใดบ้างมาใช้ในการดำรงตำแหน่งอนุญาโตตุลาการ
      ประสบการณ์ที่เคยร่วมกับโครงการวิกิพีเดียคือ การเสนอการออกนโยบายต่าง ๆ การแสดงความคิดเห็น การควบคุมให้เป็นไปตามนโยบาย และการเปลี่ยนแปลงนโยบายบางครั้ง นอกจากนี้การร้องขอผู้ดูแลในเรื่องต่าง ๆ ข้าพเจ้าเห็นว่าสมควรต่อภาพรวมของวิกิพีเดียที่จะเสนอ แม้ว่าบางสิ่งจะไม่ได้รับการตอบสนองก็ตาม ประสบการณ์ภายนอกวิกิพีเดียคือ ข้าพเจ้าได้ยินได้ฟังข้อติชมต่าง ๆ เกี่ยวกับวิกิพีเดีย ข้าพเจ้าเคยเห็นข้อโต้แย้งต่าง ๆ นานัปการที่ยกวิกิพีเดียมาเป็นเครื่องมือ ข้าพเจ้าบอกบุคคลเหล่านั้นให้ค้นคว้าตามแหล่งอ้างอิงจนรู้จริงก่อน อย่าเพิ่งเชื่อเพียงเพราะมันเขียนอยู่ในวิกิพีเดีย
    2. คุณเคยประสบกับกรณีการระงับข้อพิพาทในวิกิพีเดียหรือไม่ หากเคยเข้าร่วมการระงับข้อพิพาทดังกล่าว กรุณาลิงก์ไปหาข้อพิพาทดังกล่าว หรือหากไม่ได้เข้าร่วมในกรณีข้อพิพาทนั้น กรุณาให้ความเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับข้อพิพาทนั้นและวิธีระงับข้อพิพาทที่คุณจะใช้
      ข้าพเจ้าเคยยื่นมือเข้าไประงับข้อพิพาทหลายครั้ง เช่นบทความในหลวงและสยามมกุฎราชกุมาร (เรื่องหมิ่นพระบรมเดชานุภาพหรือไม่) ข้าพเจ้าใช้มาตรการ (1) วิกิพีเดียปฏิเสธความรับผิดชอบ (2) วิกิพีเดียไม่มีเซ็นเซอร์ (3) การนำเสนอข้อเท็จจริงตามแหล่งอ้างอิงไม่เป็นการหมิ่นฯ (4) การหมิ่นฯเป็นกฎหมายของประเทศไทย ไม่มีผลต่อวิกิพีเดียหรือนโยบายซึ่งไม่ใช่ของประเทศไทย; และในบทความจังหวัดอุตรดิตถ์ (เรื่องเป็นอาณาจักรล้านนาหรือไม่) มีคนถ่อไปถึงเชียงใหม่และอุตรดิตถ์เพื่อเสาะหาข้อมูล ได้พิสูจน์ว่าอาจมีเพียงบางส่วนของจังหวัดเท่านั้นที่เป็นล้านนาแท้ ๆ แต่คู่กรณีก็ยังดื้อรั้นให้ทั้งจังหวัดเป็นล้านนา ข้าพเจ้าใช้มาตรการ ไม่รับข้อมูลเลื่อนลอยไม่มีอ้างอิง ในเมื่อไม่สามารถยืนยันความรู้ใหม่ ข้อมูลนั้นก็ย่อมตกไปโดยปริยาย ยังมีอีกหลายบทความที่ร่วมด้วยช่วยเคลียร์ แต่ข้าพเจ้าจำไม่ได้มากกว่านี้
  2. คำถามเกี่ยวกับข้อตัดสิน (Strict vs. lenient)
    1. ในกรณีการพิจารณาข้อพิพาท คุณมีความเห็นอย่างไรในการวินิจฉัยคำตัดสิน ระหว่างการตัดสินโดยยึดหลักเจตนาดี โดยการจำกัดมาตรการสถานเบาเพื่อให้ผู้ใช้กลับตัวกลับใจ กับการลงโทษสถานหนักโดยการบล็อกผู้ใช้ตลอดกาลหรือถอดจากสถานะที่เคยมี เช่น ผู้ดูแลระบบ โปรดให้เหตุผลประกอบความเห็นของคุณด้วย
  3. ในกรณีพิจารณาข้อพิพาท หากคู่พิพาทฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดปฏิเสธที่จะตอบคำถามหรือแสดงหลักฐานอันเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาคดีฝ่ายตน คุณจะตัดสินข้อพิพาทนี้โดยยืดหลักประการใด ระหว่างการตัดสินให้เป็นผลดีกับผู้ที่ถูกกล่าวหา กับการตัดสินโดยใช้หลักว่าหากคู่พิพาทปฏิเสธที่จะกระทำการใด ๆ เพื่อประโยชน์ฝ่ายตน อนุญาโตตุลาการไม่มีสิทธิ์จะยกกรณีที่คู่ความไม่ได้ยกขึ้นมานั้นขึ้นมาพิจารณา
  4. หากมีการพิจารณาข้อพิพาท และมีคำตัดสินว่าบทความใดบทความหนึ่งอยู่ระหว่างการคุ้มครองของอนุญาโตตุลาการ (Article probation) ผู้ใช้ที่เพิ่มเนิ้อหาหรือนำเนื้อหาออกโดยมีพฤติการณ์ไม่เหมาะสมจะถูกพิจารณาโทษแล้วแต่กรณี คุณคิดว่ามาตรการนี้จะขัดต่อความเป็นเสรีของวิกิพีเดียหรือไม่ ประการใด โปรดให้เหตุผล
  5. คุณเห็นด้วยหรือไม่กับนโยบายการอนุญาโตตุลาการของวิกิพีเดียภาษาไทย (ซึ่งรับมาจากวิกิพีเดียภาษาอังกฤษ) ยกตัวอย่าง (ต้องการให้ระบุเป็นส่วน ๆ เช่น ส่วนที่ว่าด้วยขั้นตอน ส่วนที่ว่าด้วยข้อกำหนดต่าง ๆ) หากคุณเห็นด้วย คุณมีวิธีดำเนินการตามนโยบายนั้นอย่างไร หากคุณไม่เห็นด้วย คุณคิดว่านโยบายนั้นควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร เพราะเหตุใด
  6. คุณคิดว่าข้อพิพาทประเภทใดที่คุณจะรับหรือไม่รับไปพิจารณา เพราะเหตุใด
  7. คุณคิดว่าจะดำเนินบทบาทอย่างไร เพื่อให้อนุญาโตตุลาการมีบทบาทแทนการตัดสินแบบเก่าโดยผู้ดูแลระบบ (มูลเหตุของคำถาม เพราะเห็นว่าปัญหาส่วนใหญ่ยุติลงโดยผู้ดูแลระบบบล็อกผู้ใช้ หรือล็อกหน้า ซึ่งเป็นการตัดสินที่อาศัยตัวบุคคลเป็นหลัก)