วัดไทยนาลันทา
วัดไทยนาลันทา (อังกฤษ: Wat Thai Nalanda) ตั้งอยู่ที่นาลันทา บ้านเกิดและที่นิพพานของพระอัครสาวกเบื้องขวา คือ พระสารีบุตร และต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทาที่ยิ่งใหญ่และโด่งดังไปทั่วโลก และได้มีวัดไทยซึ่งมีประวัติการก่อสร้างที่แปลกประหลาดที่สุดในอินเดีย เพราะที่ดินและอาคารเสนาสนะภายในวัด ได้รับการบริจาคจากชาวอินเดีย
วัดไทยนาลันทา | |
---|---|
ที่ตั้ง | ตำบลนาลันทา อำเภอนาลันทา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย |
นิกาย | เถรวาท มหานิกาย |
ความพิเศษ | วัดไทยแห่งแรกที่ชาวอินเดียสร้างถวายให้ประเทศไทยประเทศอินเดีย |
เวลาทำการ | ทุกวัน |
จุดสนใจ | พระอุโบสถ |
การถ่ายภาพ | อนุญาต |
สถานีย่อยพระพุทธศาสนา |
พระสงฆ์อินเดียบริจาคที่ดินและอาคารให้เป็นวัดไทย
แก้หมู่บ้านนาลันทา ในสมัยพุทธกาลบางครั้งเรียกว่า นาลกคาม เป็นบ้านเกิดและที่นิพพานของพระสารีบุตร อัครสาวกเบื้องขวา ต่อมาได้กลายเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ที่ยิ่งใหญ่ เป็นศูนย์กลางการศึกษาของทวีปเอเชีย มีพระนักศึกษาจำนวนเป็นหมื่นรูป ต่อมาได้ถูกทำลาย
หลวงพ่อ ชคดิช กัสสปะ (Jagdish Kashyap) พระสงฆ์ชาวอินเดีย ได้ศึกษาถึงประวัตศาสตร์ที่ยิงใหญ่ของนาลันทา จึงมีความคิดริเริ่มที่จะสร้างมหาวิทยาลัยนาลันทาให้กลับมาอีกครั้ง และท่านได้พากเพียรพยามจนในที่สุดก็ได้สร้างมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทาขึ้นมาอีก เมื่อ พ.ศ. 2494 และท่านได้เป็นอธิการบดีคนแรก ต่อมาได้รับตำแหน่งเป็นสังฆนายก ของประเทศอินเดีย และท่านได้ซื้อที่ดินติดกันกับมหาวิทยาลัย เพื่อสร้างเป็นที่พัก และสำนักวิปัสสนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากรัฐบาลอินเดียและพุทธบริษัทชาวไทย ต่อมาท่านได้มีความดำริว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนามาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน จึงมีศรัทธายกที่ดินจำนวน 3 ไร่และอาคาร 6 หลัง อันเป็นสมบัติส่วนตัวของท่านให้เป็นสมบัติของประเทศไทย ตั้งแต่ พ.ศ. 2514 แต่ต้องผ่านขบวนการทางกฎหมาย ศาล และคณะสงฆ์ไทย และต่อมาเมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2517 ขั้นตอนทางกฎหมายได้เสร็จเรียบแล้ว และได้กลายเป็นวัดไทยนาลันทา
หลวงพ่อชคดิส กัสสปะ ได้มรณภาพที่วัดญี่ปุ่น บนยอดเขาวิปุลละ เมื่อวันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2516 และได้ทำการฌาปนกิจศพที่วัดไทยนาลันทา เมื่อวันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2516
ที่ตั้งและเนื้อที่
แก้วัดไทยนาลันทา ตั้งอยู่ที่หมู่บ้านนาลันทา ตำบลนาลันทา อำเภอนาลันทา รัฐพิหาร เริ่มแรกนั้น มีเนื้อที่จำนวน 3 ไร่ ต่อมาได้มีผู้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเพิ่มเติมหลายครั้ง จำนวน 6 ไร่ ดังนั้น ในปัจจุบันวัดไทยนาลันทามีเนื้อที่จำนวน 9 ไร่ ห่างจากพุทธคยาประมาณ 90 กิโลเมตร ปัตนะ 90 กิโลเมตร
รายนามเจ้าอาวาส
แก้- พระราชรัตนโมลี ป.ธ. 6 Ph.D. อุปนายกสภามหาวิทยาลัย และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อครั้งเป็น พระมหานคร เขมปาลี วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2515-2518
- ภิกขุวิเวกนันทะ Ph.D. ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2518
- พระมหาวันดี วงศ์สาเคน Ph.D. ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2519-2523
- พระมหาทองยอด ภูริปาโล ป.ธ.9 Ph.D. วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2523-2531 (ปัจจุบันย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดไทยพุทธคยา)ปัจจุบันคือพระเทพโพธิ์วิเทศ หัวหน้าพระธรรมทูตสายประเทศอินเดีย
- พระมหาธารทอง กิตฺติคุโณ ป.ธ.6 Ph.D. วัดมหรรณพาราม กรุงเทพฯ ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2531-2550 (มรณภาพที่วัดไทยนาลันทา เมื่อวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550)
- พระครูปริยัติธรรมวิเทศ (พระมหาพัน สุภาจาโร) ป.ธ.4 Ph.D. ดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2551-ปัจจุบัน
ความสำคัญของวัด
แก้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯเยี่ยมวัดไทยนาลันทา เมื่อ พ.ศ. 2530
สิ่งก่อสร้าง
แก้- พระอุโบสถ ศิลปะไทยภาคกลาง
- พระประธานภายในพระอุโบสถ จำลองแบบมาจากหลวงพ่อองค์ดำ
- กุฎิสงฆ์
- อาคารรองรับผู้แสวงบุญชาวไทย เจ้าประคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสโน) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม ทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2522
การติดต่อที่พักสำหรับผู้แสวงบุญชาวไทย
แก้- ผู้แสวงบุญที่ประสงค์จะพักที่วัดไทยนาลันทา ต้องแจ้งให้ทางวัดทราบล่วงหน้าก่อนการเดินทาง พร้อมระบุจำนวนผู้เข้าพัก วันเวลาที่จะเข้าพัก
การเดินทางมายังวัดไทยนาลันทา
แก้- สามารถเดินทางมาได้โดยสายการบินตรงจากประเทศไทยมายังเมืองพุทธคยาแล้วเดินทางต่อไปยัง นาลันทา คือ
- รถไฟ มีสถานีรถไฟนาลันทา แต่ชุมทางที่สะดวกสบายคือ บักเตียร์ปูร์และ ปัตนะ