วัดใหม่อัมพวัน

วัดในจังหวัดนครราชสีมา

วัดใหม่อัมพวัน สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2431[1] เป็นวัดราษฎร์ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ที่ถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

วัดใหม่อัมพวัน
แผนที่
ที่ตั้งถนนมุขมนตรี ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา 30000
ประเภทวัดราษฎร์
นิกายเถรวาท สังกัดมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระครูสันติธรรมประภัศร (สอบ ถิรปุญฺโญ)
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

โดยชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธา ได้ร่วมกันก่อสร้างสำนักสงฆ์ขึ้น ในพื้นที่เดิมที่เป็นป่าช้า และมีลำปรุไหลผ่าน โดยนิมนต์พระป้อม มาจำพรรษาประมาณ ปี พ.ศ. 2431 ต่อมาได้มีการพัฒนาและได้รับขึ้นทะเบียนเป็นวัด มีนามว่า วัดใหม่อัมพวัน[2]

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538[1]

ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบชื่อ

แก้
ลำดับที่ เจ้าอาวาส[2] ปี
1 พระอธิการป้อม
2 พระอธิการพุธ
3 พระอธิการคำ
4 พระอธิการปลื้ม
5 พระอธิการโป๊ะ
6 พระอธิการสร้อย
7 พระอธิการเปลี่ยน
8 พระอธิการประหยัด
9 พระอธิการชั้น
10 พระอธิการสนิท
11 พระมหาบุญสืบ ปญฺญาธโร
12 พระครูสันติธรรมประภัศร (สอบ ถิรปุญฺโญ) เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

อาคารเสนาสนะ

แก้

ประกอบด้วย

อุโบสถหลังเก่า เดิมสร้างด้วยไม้ เสาและหลังคาทำด้วยไม้ ต่อมาในปี พ.ศ. 2464 ได้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ โดยก่อด้วยอิฐถือปูน ขนาดกว้าง 6 เมตร ยาว 8 เมตร เสา 12 ต้น มีบัวหัวเสา ไม่มีช่อฟ้า ใบระกา หน้าบันไม่มีลวดลายประดับ หน้าต่าง 6 บาน ประตูด้านหน้า 2 ประตู ด้านหลัง 2 ประตู บันใดขึ้นด้านหน้า 2 ทาง ด้านหลัง 2 ทาง หลังคามุงด้วยกระเบื้องหน้าวัว นอกจากนั้นยังมีศิลปกรรมลวดลายปั้นปูนประดับกรอบประตู ผนังด้านหน้าเป็นรูปหลวงพ่อพุธ รูปพญานาคและพรรณพฤกษาซุ้มหน้าต่าง ปั้นเป็นรูปพญาครุฑ
อุโบสถหลังใหม่ ขนาด 2 ชั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2538 ศิลปกรรมประยุกต์ สมัยรัตนโกสินทร์ หลังคาทรงจัตุรมุข ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2538
ศาลาการเปรียญ
กุฏิสงฆ์
หอกลอง-ระฆัง
ศาลาบำเพ็ญกุศล และฌาปนสถาน

อ้างอิง

แก้
  1. 1.0 1.1 "วัดใหม่อัมพวัน". สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
  2. 2.0 2.1 "วัดใหม่อัมพวัน". สารสนเทศท้องถิ่นนครราชสีมา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.